บ้านเล่นระดับ บ้านที่มีพื้นที่แนวยาวและแคบ  การแบ่งห้องอาจตอบโจทย์ในเรื่องฟังก์ชันที่เป็นสัดเป็นส่วน
แต่ถ้าต้องการพื้นที่โปร่งโล่ง  ไม่ทึบตัน  และอากาศไหลเวียนได้สะดวก
การแบ่งระดับบ้านเป็นสองฝั่งโดยไม่ต้องมีผนังกั้นห้องเป็นอีกทางเลือกที่ดี  บ้านเล่นระดับ

บ้านเล่นระดับ เพราะใช้การยกพื้น
เปลี่ยนระดับเพียงสองสามขั้นบันไดก็ได้บ้านที่แยกพื้นที่ใช้งานชัดเจน  แต่ยังดูเป็นสเปซเดียวกัน
และมีลูกเล่นอื่นๆ ให้ได้สนุกกับการตกแต่งบ้านอีกเพียบ

บ้าน เล่นระดับเริ่มต้นจากไหน

บ้านเล่นระดับเกิดขึ้นในช่วงปี 1930 ในสหรัฐอเมริกา  เพราะความต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นในบ้านขนาดจำกัด  จึงทำชั้นใต้ดินให้ครึ่งบนอยู่เหนือพื้นดินและเจาะช่องหน้าต่างเพื่อรับแสงสว่างจากภายนอก
แล้วค่อยไต่ระดับสู่แต่ละห้องทีละครึ่งชั้น  จำนวนห้องจึงเพิ่มขึ้นในขนาดที่ดินเท่าเดิม  เป็นการใช้พื้นที่ทางราบและทางดิ่งอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

บ้าน เล่นระดับกับเมืองไทย

ถึงเมืองไทยจะไม่นิยมทำชั้นใต้ดินเหมือนกับบ้านทางฝั่งอเมริกา  แต่ก็นำการเล่นระดับนี้มาช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับบ้าน  ซึ่งประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างมากกว่าบ้านปกติในจำนวนชั้นที่เท่ากัน  และเป็นการแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วนโดยไม่รู้สึกอึดอัด
เพราะทั้งบ้านดูเชื่อมต่อเป็นบริเวณเดียวกัน  ระยะทางในการเดินขึ้นแต่ละชั้นก็ไม่ได้สูงมากเท่าบันไดบ้านปกติ  นอกจากในเรื่องการใช้งานแล้ว
บ้านเล่นระดับยังสร้างมิติให้บ้านดูมีลูกเล่น
สนุกสนานมากขึ้น


บ้าน เล่นระดับกับโครงสร้าง

การทำบ้านเล่นระดับ ต้องวางแผนงานโครงสร้างให้ดี  เพราะต้องวางแนวคานสำหรับรองรับพื้นที่ต่างระดับกัน  โดยมีข้อควรคำนึงถึงคือ  ความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดานของทุกห้องและบริเวณบันได
ต้องสูงพอให้ผู้ใช้งานเดินผ่านได้สบาย  หัวไม่ชน  การแบ่งระดับบ้านอาจแบ่งได้แบบ
ซ้าย - ขวา  ด้านหน้า - ด้านหลัง  หรือมีโถงกลางสำหรับแจกจ่ายไปสู่แต่ละชั้น
ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในการใช้งาน  รูปร่างของที่ดิน  และรูปทรงของบ้าน


บ้านเล่น ระดับกับบันได

เส้นทางสัญจรภายในบ้านเล่นระดับเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อพื้นที่ทุกส่วนเข้าหากันผ่านบันได
ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนผ่านความรู้สึกระหว่างสองพื้นที่  โดยบันไดจะมีความสูงในระดับประมาณครึ่งชั้น
จึงไม่เหนื่อยมากเมื่อเทียบกับการเดินขึ้นบันไดยาวๆ ของบ้านทั่วไปที่มีหลายชั้น  ผู้สูงอายุจึงใช้งานได้สะดวก  ส่วนรูปแบบของบันไดเป็นได้ทั้งบันไดแบบโปร่งและแบบทึบ  ขึ้นอยู่กับความชอบและพื้นที่ใช้งาน  เช่น  หากติดตั้งบันไดโปร่งในชั้นบน  ก็สามารถมองลงมาเห็นถึง
ชั้นล่าง  ช่วยให้สเปซภายในบ้านดูโปร่งโล่งมากขึ้นและอากาศไหลเวียนทั่วถึงด้วย

บ้านเล่น ระดับกับสเปซภายใน

ข้อดีอีกอย่างของบ้านเล่นระดับคือ  สเปซภายในบ้านสามารถยืดหยุ่นได้ตามใจชอบ และดัดแปลงได้ง่าย  ไม่ว่าจะเป็นการกั้นผนังทึบเพื่อแบ่งห้องอย่างชัดเจน
การสร้างผนังให้พอมองเห็นกันได้บางส่วนโดยใช้วัสดุโปร่งแสงหรือกระจกใส สำหรับพื้นที่ที่ยังต้องการความต่อเนื่องกันแต่สามารถควบคุมขอบเขตปรับอากาศได้  หรือจะเปิดโล่งทั้งสองฝั่งเป็นโอเพ่นแปลน
ก็ทำให้รู้สึกว่าบ้านกว้าง มองเห็นกันได้ทุกมุม และเมื่อบวกรวมกับการออกแบบช่องเปิดอย่างเหมาะสม จะทำให้ลมพัดผ่านได้ทั่วถึง มีการไหลเวียนอากาศที่ดี เกิดสภาวะน่าสบายขึ้นในบ้าน

บ้าน เล่นระดับกับหน้าตาภายนอก

บ้านเล่นระดับมีรูปร่างหน้าตาหลากหลาย สามารถเลือกได้ว่าต้องการยกพื้นตั้งแต่เข้าสู่ส่วนประตูบ้าน หรือเข้าประตูบ้านในระดับพื้นดินแล้วค่อยไปเล่นระดับต่อภายใน  การติดตั้งหน้าต่างขนาดใหญ่ขึ้นก็ช่วยให้บ้านดูโปร่งขึ้น  รวมทั้งยังได้บ้านหลายระดับที่มีหน้าตาเหมือนบ้านชั้นเดียวหรือสองชั้น
และไม่ต้องสร้างบ้านสูงมาก  ทำให้ตัวบ้านมีน้ำหนักไม่มากด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก www.baanlaesuan.com