บทความโดยนาย ภีรเดช เดชะวงศ์อนันต์ เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งเกิดจากการที่โลกนั้นเกิดวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เช่น สภาวะโลกร้อน โรคระบาด ทรัพยากรที่ขาดแคลน ทำให้คนหันมาใส่ใจในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น และเกิดการปรับเปลี่ยนการบริโภคให้เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้รับ


กลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการต่างกัน

ขอบคุณภาพจาก : https://www.bangkokjerky.com/

จากการสำรวจผู้บริโภคในปัจจุบัน จะพบกลุ่มผู้บริโภคเป็น 4 ประเภทหลักๆ

1.กลุ่มผู้บริโภคเนื้อสัตว์

2.กลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติ

3.กลุ่มผู้บริโภคเฉพาะสัตว์น้ำและซีฟู้ด

4.กลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติแบบครั้งคราว

ซึ่งจากผลการสำรวจกลุ่มผู้บริโภคชาวไทย 41.5% และกลุ่มชาวต่างชาติอีก 58.5% จะพบว่ากลุ่มผู้บริโภคเนื้อสัตว์มีสัดส่วนที่มากที่สุดอยู่ที่ 72.9% รองลงมาจะเป็นกลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติแบบครั้งคราว 14% กลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติ 8.4% และกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะสัตว์น้ำและซีฟู้ดอีก 4.7% จะเห็นว่าการในบริโภคปัจจุบันเริ่มมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ตอนนี้ยังคงต้องการที่จะบริโภคเนื้อสัตว์

    1. กราฟผลสำรวจกลุ่มผู้บริโภคอาหารจากพืชเกี่ยวกับความต้องการที่จะลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ลง

จากการสำรวจความเต็มใจในการลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ จะพบว่า 30.8% ค่อนข้างเต็มใจ และ 30.8% เต็มใจมากในการลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ลง โดยมีการสมมุติแบ่งกิจกรรมของผู้บริโภคออกเป็น 3 กิจกรรม คือ บริโภคอาหารจากพืช เรียนการทำอาหารจากพืช และบริโภคอาหารจากพืชในขณะท่องเที่ยว

โดยจากการสำรวจกลุ่มผู้บริโภคจะเห็นว่ากลุ่มผู้บริโภคค่อนข้างที่จะเต็มใจหรือเต็มใจในการบริโภคอาหารจากพืชในขณะที่กำลังท่องเที่ยวเพื่อรักษาสุขภาพ โดยจะเฉลี่ยจากทั้ง 3 กราฟออกมาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ 60.8% และชาวไทยอีก 39.2%

ซึ่งจากผลการสำรวจจะพบว่าคนส่วนใหญ่เริ่มที่จะลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ลง และหันไปใส่ใจในสุขภาพกันมากขึ้น โดยจะเห็นการเติบโตของธุรกิจเพื่อสุขภาพในตลาดที่มีแนวโน้มสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นทั้งในและนอกประเทศ

โอกาสทางธุรกิจเพื่อสุขภาพในอนาคต

จะเห็นว่าอาหารมังสวิรัติเริ่มที่จะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นจากผลการสำรวจ ทำให้ธุรกิจเกษตรกรรมเติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน แต่ว่าการที่จะปลูกผลผลิตให้ได้จำนวนมากและเร็วกว่าเดิม จำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมความชื้น แสง และสภาพแวดล้อมโดยรอบ จึงเกิดเป็นธุรกิจเกษตรกรรมแนวตั้ง

โดยจากการคาดการณ์มูลค่าตลาดทั่วโลกของเกษตรกรรมแนวตั้งในปี 2026 จะเติบโตขึ้น 465.3% ซึ่งส่วนแบ่งการตลาดในโซนเอเชียแปซิฟิก มีสัดส่วนถึง 33.3%

จะพบว่า การเติบโตของภาคเกษตรกรรมแนวตั้งนั้นมีอัตราที่สูงมาก ส่งผลทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีจำนวนมากขึ้น จึงต้องทำการแปรรูปเพื่อยืดขยายอายุผลผลิต เข้าสู่ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพจากพืช

จากธุรกิจเกษตรกรรมแนวตั้งที่ทำให้เกิดผลผลิตสู่ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพจากพืช ที่ต้องการยืดอายุผลผลิตและเพื่อรองรับกลุ่มคนที่ต้องการบริโภค

ซึ่งจากการคาดการณ์มูลค่าเติบโตของธุรกิจจากปี 2019 – 2024 มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้น 10% หรือ 2.8 หมื่นล้านบาท เป็น 4.5 หมื่นล้านบาท ในประเทศไทย และเติบโตขึ้น 10.5% หรือ 4.8 แสนล้านบาท เป็น 7.5 หมื่นล้านบาท จากทั่วโลก

ซึ่งจะเห็นว่า ธุรกิจเกษตรแนวตั้งมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นมากจากปัจจุบัน โดยจะเห็นได้จากการที่เริ่มมีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อ หรือร้านอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มมาขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ รวมไปถึงธุรกิจอาหารจากพืช ที่เริ่มขยายเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตใหญ่ๆ และวางจำหน่ายในปัจจุบันอีกด้วย

อ้างอิง

marketeeronline.co/

artechno.nl/

chapmantaylor.com/