ปี 2018 ถือเป็นจุดที่มีความพิเศษเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การเงินโลก เนื่องจากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลังเผชิญกับวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ของโลกในช่วงปี 2008 รัฐบาลประเทศต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศใหญ่เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่น ได้มีการนำนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมาใช้ หรือที่เรียกกันว่า QE (Quantitative Easing) ส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินล้นเหลือ ดอกเบี้ยต่ำ และราคาสินทรัพย์ทุกชนิดทั้ง หุ้น พันธบัตร หรืออสังหาริมทรัพย์ได้พุ่งทะยานขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ 

          แต่ในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา ประเทศต่างๆเหล่านี้ นำโดยสหรัฐอเมริกาได้มีการลดการอัดฉีดทางการเงินลง อัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ทยอยปรับตัวสูงขึ้น ทำให้สภาพคล่องทางการเงินทั่วโลกเริ่มตื่นตัวมากขึ้นทีละน้อยและเราเริ่มเห็นตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลงมาจากจุดสูงสุดบ้างแล้วโดยสถานการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีความพิเศษเนื่องจากไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ทางการเงินของโลกดังนั้นในปี 2019 ที่กำลังจะมาถึงนี้จึงมีปัจจัยหลายอย่างทั้งในและต่างประเทศที่เราน่าจะจับตาดูอย่างใกล้ชิด

1.อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร (Bond Yield) โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลของอเมริกา (US Treasury) ซึ่งเป็นตลาดตราสารหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกดังนั้นถ้าหากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสูงขึ้นนั่นแปลว่าราคาของพันธบัตรลดลงซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางการเงินทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วยและอาจทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องขึ้นได้ถ้าธุรกิจนั้นนั้นมีการกู้ยืมในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของตัวเอง

          อยากให้เราลองนึกภาพดูว่าถ้าเราทำธุรกิจอยู่แล้วมีการกู้ยืมเงินมา ดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นถึงแม้จะขึ้นแค่เพียง 1% ถึง 2% แต่ก็มีผลเป็นอย่างมากต่อต้นทุนทางการเงินเพราะว่าภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 100% เลยทีเดียว ผมยกตัวอย่างเช่นท่าเดิมเราสามารถกู้เงินด้วยอัตราดอกเบี้ย 3% แต่ถ้าดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นจาก 3% เป็น 4% นั่นหมายถึงธุรกิจนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมากถึง 33%

2.อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาและของไทย

          อัตราเงินเฟ้อถ้ามีการปรับตัวสูงขึ้นจะสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปได้เนื่องจากประชาชนทั่วไปเก็บเงินเป็นเงินสดหรือพูดง่ายง่ายไม่มีสินทรัพย์อื่นเช่นอสังหาริมทรัพย์มากนักการที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ความมั่งคั่งที่ถูกเก็บไว้ในเงินสดลดลงอย่างรวดเร็ว

          ทำไมเราถึงควรจะกังวลว่ากาเงินเฟ้ออัตราเพิ่มสูงขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีการชนะโยบายผ่อนคลายทางการเงินหรือพูดง่ายง่ายก็คือการทำให้มีเงินในระบบเพิ่มมากขึ้น ในประวัติศาสตร์การเงินโลกที่ผ่านมาหลังจากที่มีการเพิ่มปริมาณเงินหรือพูดภาษาชาวบ้านก็คือการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มหลังจากนั้นมักจะเกิดอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลแทบจะทุกครั้งแต่เราอาจจะสงสัยว่าในครั้งนี้ทำไมถึงยังไม่เกิดอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นนั่นอาจจะเป็นเพราะว่าน้าตอนนี้ตลาดเงินทั่วโลกอย่างให้ความเชื่อถือในเงินยูเอสดอลล่าร์อยู่แต่เมื่อไหร่ที ในประวัติศาสตร์การเงินโลกที่ผ่านมาหลังจากที่มีการเพิ่มปริมาณเงินหรือพูดภาษาชาวบ้านก็คือการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มหลังจากนั้นมักจะเกิดอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลแทบจะทุกครั้งแต่เราอาจจะสงสัยว่าในครั้งนี้ทำไมถึงยังไม่เกิดอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นนั่นอาจจะเป็นเพราะว่าน้าตอนนี้ตลาดเงินทั่วโลกอย่างให้ความเชื่อถือในเงินยูเอสดอลล่าร์อยู่ เนื่องจากเป็นประเทศมหาอำนาจ แต่เมื่อใดที่ประเทศต่างๆทั่วโลกเริ่มสงสัยว่ายูเอสดอลล่าร์มีการถูกผลิตขึ้นมามากจนเกินไปซึ่งจะส่งผลทำให้มูลค่าของเงินสกุลยูเอสดอลล่าร์ลดลงและเมื่อนั้นค่าเงินลดลงแล้วก็อาจจะทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมากเป็นประวัติการได้นักลงทุนจึงไม่ควรถือครองเงินดอลล่าร์เพียงสกุลเดียว

3.Brexit และ กลุ่ม Euro


          ในขณะนี้เกิดความตึงเครียดขึ้นในกลุ่ม Euro เนื่องจากมีบางประเทศที่ไม่พอใจที่ประเทศตนอยู่ภายใต้กลุ่ม Euro โดยอาจจะมองว่าประเทศที่ร่ำรวยกว่าจะต้องให้การช่วยเหลือประเทศที่ด้อยกว่าทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนในประเทศซึ่งเป็นผู้เสียภาษีนอกจากนี้นโยบายทางการเงินการคลังก็ยังไม่สามารถดำเนินได้อย่างเป็นอิสระเนื่องจากจะต้องยึดถือนโยบายของกลุ่มโดยรวมทำให้การแก้ปัญหาต่างๆเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ทันท่วงทีก่อนหน้านี้ประเทศอังกฤษซึ่งเคยร่วมมือกับกลุ่มยูโรในบางเรื่องก็กำลังดำเนินการ ขอออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่ม ประเทศอื่นเช่นฝรั่งเศสอิตาลีก็มีประชาชนออกมาประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลนำประเทศออกจากกลุ่มยูโรซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นจริงจะทำให้เสถียรภาพทางการเงินการคลังของยุโรปสั่นคลอนก็เป็นได้อาจจะนำมาซึ่งความปั่นป่วนในทางการเงินอีกครั้งหนึ่ง

4.ราคาสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นทั่วโลก ถ้าหากเกิดความผันผวนในตลาดอื่นเช่นตราสารหนี้หรือความไม่มีเสถียรภาพในกลุ่มยูโร อาจจะส่งผลต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นทั่วโลกซึ่งถ้าหากปรับตัวลงก็จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนและการลงทุนก็จะทำได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรจะต้องจับตามองในปี 2019 ที่กำลังมาถึงนี้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงก็จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านี้ 

อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรจะลงทุนด้วยความระมัดระวังไม่เข้าไปซื้อสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงจนเกินไปเมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริง

ดร.ธนภูมิ ดำรักษ์, CFA.

บทความโดย เทอร์ร่า บีเคเค ดร.ธนภูมิ ดำรักษ์, CFA. Email : tanapoom@uchicago.edu