หลังจากที่ Fed ออกมาแสดงท่าทีว่าอาจจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากังวล ทำให้นักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักออกมาคาดการณ์ในทางลบทำให้เกิดความวิตกกังวลในวงกว้างถึงทิศทางตลาดเงินและตลาดทุนรวมไปถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และตลาดสินทรัพย์เสี่ยงร่วงตกลงมาพอสมควร ในบทความนี้เราจะลองมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ตามที่ตลาดกังวลหรือไม่

ประเด็นที่ 1: Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้วทำให้ตลาดหุ้นตกและเศรษฐกิจพังจริงหรือไม่

คำตอบ: ไม่มีหลักฐานทางสถิตว่า Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้วทำให้ตลาดหุ้นตก ในทางตรงกันข้าม ตลาดหุ้นกลับปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 9.4% ต่อปีในช่วงนั้น

รูปที่ 1 : ผลตอบแทนของ S&P500 ในช่วงที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

Source: Bloomberg article, Trust Advisory Services

คำถามที่ 2: ในระยะสั้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลอะไรต่อตลาดหุ้นหรือไม่

คำตอบ: ในระยะสั้น ช่วงก่อนและหลังการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก ตลาดอาจจะมีความผันผวนบ้าง จากสถิติพบว่าช่วง 3 เดือนก่อนหน้าตลาดหุ้นมักจะปรับตัวขึ้น 5-10% และ 3 เดือนให้หลังมักจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยโดยเฉลี่ยไม่เกิน 5%

รูปที่ 2: ความผันผวนของตลาดหุ้น ก่อนและหลังการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก

Source: Bloomberg article

คำถามที่ 3 : ทำไม Fed ขึ้นดอกเบี้ยแล้วตลาดหุ้นยังปรับตัวขึ้น เศรษฐกิจและการเก็งกำไรน่าจะชะลอตัวใช่หรือไม่

คำตอบ : การที่ Fed ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยส่วนใหญ่เนื่องมาจากการที่ Fed เชื่อมั่นในตัวเลขเศรษฐกิจ โดยตัวเลข US GDP ไตรมาส 4 ปี 2021 ที่พึ่งประกาศ เติบโต  6.9% การที่เศรษฐกิจเติบโตได้ดี ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใด

คำถามที่ 4: ตลาดหุ้นอาจจะปรับตัวลงอีกทีเมื่อไหร่

คำตอบ : จากสถิติย้อนหลังพบว่า เมื่อขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปจนสุดของรอบนั้นแล้ว ในระยะเวลาเฉลี่ย 1-2 ปีหลังจากนั้น อาจจะมีการลดดอกเบี้ย และในช่วงนั้น Fed มองว่าเศรษฐกิจอ่อนแอ ทำให้ต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นมีโอกาสปรับตัวลดลงในช่วงนั้น

รูปที่ 3: หลังจาก Fed ขึ้นดอกเบี้ยเสร็จ ข่วงที่ดอกเบี้ยเริ่มจะลดลง เป็นช่วงที่ตลาดหุ้นปรับฐานลงในบางกรณี

คำถามที่ 5: อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น (เดือนล่าสุด 7%) ชั่วคราวหรือถาวร จะทำให้เศรษฐกิจพังหรือไม่

คำตอบ: เป็นไปได้ว่าน่าจะปรับตัวขึ้นแค่ชั่วคราว ปกติเวลาจะวิเคราะห์ว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวจะเป็นเท่าไหร่ สามารถคาดการณ์ได้จากตลาดพันธบัตร เนื่องจากมีนักลงทุนสถาบันอยู่เยอะ และมักจะคาดการณ์เงินเฟ้อได้ค่อนข้างแม่น ทั้งนี้ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูง อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (yield) มักจะปรับตัวสูงขึ้นไปด้วย เพื่อชดเชยการลดลงของ purchasing power จากเงินเฟ้อ 

ข้อมูลล่าสุด พบว่า yield ของพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ยังอยู่ที่ประมาณ 2% ซึ่งแปลว่าเงินเฟ้อน่าจะอยู่ที่ 2% ในระยะยาว 

รูปที่ 4: US Treasury yield curve

Source: Thai BMA

โดยสรุป

1. Fed ขึ้นดอกเบี้ย จริงๆแล้วดีต่อตลาดหุ้น (ปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 8.4% ต่อปีช่วงที่ขึ้นดอกเบี้ย)

2. Fed ขึ้นดอกเบี้ย เหตุผลเพราะเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี

3. ตลาดหุ้นมีโอกาสปรับตัวลงได้ หลัง Fed ขึ้นดอกเบี้ยจบแล้ว และจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลง

4. อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นน่าจะเป็นในระยะสั้น ในระยะยาวอัตราเงินเฟ้อน่าจะกลับไปอยู่ที่ประมาณ 2% ตามที่ตลาดพันธบัตรคาดการณ์ไว