การออกแบบถูกซุกซ่อนอยู่ในแทบทุกเรื่องในชีวิตประจำวันของเรา เพื่อความสะดวกสบาย แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เรามี อาทิเช่น การออกแบบบ้านเรือน ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ  ตัวเราเองยังต้องออกแบบตัดสินใจแทบทุกเช้า เช่น วันนี้จะใส่เสื้อกับกางเกงหรือกระโปรงอย่างไร ให้เหมาะสมกับกิจกรรมของวันนั้น ยังมีอุปกรณ์ประกอบเช่น รองเท้า นาฬิกา เครื่องประดับต่าง ๆ นี่ขนาดแค่เรื่องเล็ก ๆ  ยังมีเรื่องให้เราต้องตัดสินใจอยู่ทุกวัน แล้วเรื่องการวางแผนการเกษียณหละ เราจะรอได้หรือ วันนี้จึงชวนกันมาออกแบบการวางแผนเกษียณสุขกัน เพื่อชีวิตที่สะดวกสบายในวันข้างหน้า

เกษียณ มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 หมายความว่า “สิ้นไป” ซึ่งใช้เกี่ยวกับการกำหนดอายุ เช่น การเกษียณราชการ มักกำหนดอายุที่ 60 ปี ส่วนภาคเอกชนอาจกำหนดไว้ที่อายุ 55 ปี หรือ 60 ปีก็ได้ ชีวิตหลังเกษียณจึงเป็นเรื่องที่ต้องออกแบบวางแผนในวันที่เราไม่มีรายได้จากการทำงานแล้ว ทั้งยังเจอปัญหาจากสุขภาพที่เสื่อมถอยไปตามวัยอีก

สุข มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 หมายความว่า “ความสบายกายสบายใจ” คือความรู้สึกหรืออารมณ์ประเภทหนึ่ง มีหลายระดับตั้งแต่ความสบายใจเล็กน้อยหรือความพอใจจนถึงระดับความเพลิดเพลินเต็มไปด้วยความสนุก  ซึ่งความสุขของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ฐานคิด ทรรศนะคติมุมมองต่อชีวิต

ออกแบบ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่าออกแบบไว้ แต่หมายความตามวิกิพีเดีย ออกแบบหมายถึง “การสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น”

ดังนั้น การออกแบบเกษียณสุข คือ “การวางแผนสร้างชีวิตหลังสิ้นสุดงานประจำให้มีความสุขกายสุขใจตามฐานานุรูปของแต่ละบุคคล” ตัวแปรที่สำคัญคือ ความสุข เป้าหมายแต่ละบุคคล เป้าหมายเกษียณสามารถแบ่งออกได้ 5 ระดับตามรูปประกอบที่ 1  ส่วนระดับความสุขสามารถแบ่งได้ 3 ระดับ ดังรูปประกอบที่ 2

                           รูปประกอบที่ 1                                                                      

ประกอบที่ 2

  1. ระดับกระเสือกกระสน เป็นชีวิตเกษียณสุขที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ลำบากทั้งกายลำบากทั้งใจ ทั้งนี้อาจ

เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจหรือปัญหาทางสุขภาพ ปัญหาทางสังคม หรือเกิดพร้อม ๆ กันในทุกด้าน ทางเลือกต่าง ๆ จึงมีข้อจำกัด อาจต้องทำงานต่อไปเรื่อย ๆ ยังหยุดทำงานไม่ได้ ต้องพิ่งพาญาติพี่น้องหรือระบบสวัสดิการของรัฐ

  1. ระดับสมถะ เป็นชีวิตเกษียณสุขที่เป็นไปด้วยความเรียบง่ายสมถะ ใช้ชีวิตแต่พอเพียง ไม่ลำบากมากแต่ก็ไม่

สบายมาก ไม่สามารถใช้ชีวิตตามที่คาดหวังได้  ต้องตัดค่าใช้จ่ายทางสังคมออก เช่นการพบปะเพื่อน ร่วมกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ทั้งกายลำบากทั้งใจ ทั้งนี้อาจ  ระบบราชการมักออกแบบให้ชีวิตข้าราชการหลังเกษียณสามารถมีชีวิตหลังเกษียณได้อย่างสมถะมีระบบสวัสดิการรัฐดูแลเรื่องต่าง ๆ พอสมควร

  1. ระดับสบาย เป็นชีวิตเกษียณสุขที่เป็นไปด้วยความสบายกาย สบายใจ มีเงินทองพอใช้ในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงค่าดูแลสุขภาพ ซึ่งอาจป้องกันความเสี่ยงด้วยการซื้อประกันชีวิต สมัครบัตรทอง (บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า) มีเงินเพียงพอที่จะมีค่าใช้จ่ายด้านสังคม
  2. ระดับมีสุข เป็นชีวิตเกษียณสุขที่เป็นไปตามเป้าหมายที่เคยวางไว้ สามารถใช้ชีวติตามวิถีที่เลือกไว้ ด้วยความสบายกาย สบายใจ มีเงินทองพอใช้ในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงค่าดูแลสุขภาพ ซึ่งอาจป้องกันความเสี่ยงด้วยการซื้อประกันชีวิต สมัครบัตรทอง (บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า) มีเงินเพียงพอที่จะมีค่าใช้จ่ายด้านสังคม
  3. ระดับมงกุฎยอดเพชร มีสุขภาพดี มีชื่อเสียง มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย สามารถดูแลตนเองและผู้อื่นได้ ลูกหลานล้อมหน้าล้อมหลังเป็นดั่งพระในบ้าน ถูกรับเชิญให้มีบทบาททางสังคมในฐานะต่าง ๆ เช่นไปเป็นประธาน เป็นที่ปรึกษา องค์กรสมาคมต่าง ๆ  เป็นชีวิตเกษียณในฝันของหลายคน
    รูปสามเหลี่ยมฐานกว้างยอดแคบเป็นตัวแทนประชากรวัยเกษียณที่ระดับความสุขมีจำนวนน้อยกว่าผู้ที่มีความสุขแบบสมถะและระดับกระเสือกกระสนที่มีจำนวนมากกว่ามาก เราเองอยากอยู่ส่วนไหนของรูปสามเหลี่ยมขึ้นอยู่กับเป้าหมายและการลงมือทำ

ส่วนระดับความสุขแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  1. สุขเงิน  มีเงินใช้จ่ายสบายมือ มีสินทรัพย์ที่สามารถสร้างรายได้ในรูป Passive Income คือใช้เงินทำงานในช่วงที่เราเกษียณ แม้เงินไม่สามารถบันดาลสุขในทุกด้านแต่ถ้าไม่มีเงินอาจเกิดทุกข์ได้ในหลายประการ ดังนั้น สุขเงิน จึงเป็นความสุขขั้นพื้นฐานของการเกษียณสุข
  2. สุขกาย สุขภาพทีดี สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ ไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรงทำให้ทุกข์กายและทุกข์ใจ แม้มีเงินทองมากมายแต่มีสุขภาพที่มีปัญหา คงไม่ใช่เป้าหมายการเกษียณสุขของหลายคนแน่นอน ความสุขกายจึงเป็นความสุขระดับกลางของหลายคน
  3. สุขใจ เป็นความสบายกาย สบายใจ มีความภาคภูมิใจในตัวเอง เมื่อมองย้อนกลับไป ได้ใช้ชีวิตที่เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น  ความสุขใจ จึงเป็นความสุขระดับสูงสุดของชีวิตวัยเกษียณ

ขั้นตอนการออกแบบวางแผนเพื่อไปสู่การเกษียณสุข แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้

  1. ขั้นสำรวจตัวเอง ดูแลสุขภาพทางการเงิน ทางร่างกาย ดูเรื่องทรัพย์สิน หนี้สินที่เรามี ลักษณะการใช้จ่ายในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลเพื่อนำไปวางแผนการใช้จ่ายในอนาคต การสำรวจสุขภาพร่ายกายเพื่อวางแผนดูแลสุขภาพตัวเองในอนาคต
  2. ขั้นตั้งเป้าหมาย จากการสำรวจตังเอง เรามากำหนดเป้าหมายและวิธีการที่เป็นไปได้ ซึ่งเป้าหมายของแต่ละคนแตกต่างกัน ดังที่กล่าวมาเบื่องต้น
  3. ขั้นเก็บออกและสะสม  เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาและวินัยในการดำเนินการ  เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองและครอบครัว ในขณะเดียวกันก็ศึกษาด้านการลงทุนเพื่อให้สินทรัพย์ความมั่งคั่งที่เรามีทำงานแทนเราในวัยชรา ดังคำกล่าวที่ว่า “ใช้แรงทำเงิน  ใช้เงินทำงาน”
  4. ขั้นจัดสรรการลงทุน เป็นขั้นตอนที่จะต้องวางทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มีไปอยู่ในที่เหมาะสม เช่น เงินฉุกเฉินที่สามามารถเรียกใช้ได้ทันทีเมื่อเราต้องการ เงินในรูปแบบการลงทุนต่าง ๆ ที่สร้างรายได้ให้งอกเงย เอาชนะเงินเฟ้อและไม่เสียเงินต้นจากค่าใช้จ่าย หรือต้องเสียส่วนเงินต้นก็ควรเสียให้น้อยที่สุด เพื่อให้บรรลุแผนการเกษียณที่เราวางไว้
  5. ขั้นใช้เงินตามเป้าหมาย เมื่อสามารถจัดสรรการลงทุนจากความมั่งคั่งที่มีได้แล้ว เราสามาราถใช้เงินได้ตามเป้าหมาย เช่น การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การใช้จ่ายในด้านสังคม การเติมเต็มความต้องการที่มี เช่น การเดินทางท่องเที่ยว การบริจาค ทำบุญต่าง ๆ  ตามที่ตนพอใจ
  6. ขั้นติดตามประเมินผล  หลังจากได้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ เพื่อความไม่ประมาท เราควรทบทวนแผนที่วางไว้ ที่อาจเกิดผลกระทบจากตัวแปรต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป เช่นภาวะเงินเฟ้อ สุขภาวะที่เปลี่ยนไป

ตามที่กล่าวมา ความรู้ด้านการเกษียณเป็นเรื่องที่หาได้ไม่ยาก สิ่งที่ยากที่สุดคือการปรับเปลี่ยนทรรศนะ การสร้าง Mind Set ที่เหมาะสมว่าการออกแบบการเกษียณสุข เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถทำได้ การลงมือทำอย่างมีวินัยเป็นเรื่องสำคัญที่สุด การเพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย เป็นสมการเบื้องต้นไปสู่ความสำเร็จ หวังว่าทุกท่านสามารถวางแผนและประสบความสำเร็จตามแผนเกษียณสุขของทุกท่านด้วยครับ

       รูปประกอบที่ 3