ในขณะที่ข่าวการระบาดของโควิค 19 จากคลัสเตอร์คลองเตย กำลังสร้างความตื่นตระหนกกับผู้คนในวงกว้างเพราะมีผู้อยู่อาศัยในชุมชนนี้ถึง 120,000 คน และคาดว่าจะมีผู้ป่วยในชุมชนนี้ถึง 300 คน ซึ่งมากกว่าทุกคลัสเตอร์ที่มีการระบาดที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ โดยที่ทางกรุงเทพมหานครก็กำลังเร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่คลองเตยอย่างเป็นการเร่งด่วนแล้ว ซึ่งคงต้องเอาใจช่วยทางเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกันต่อไป ส่วนข้อมูลการได้รับวัคซีนในภาพรวมของประเทศตามรายงานข่าวของ the standard เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 จะพบว่าตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ – 29 เมษายน 2564 คนไทยมีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปแล้ว 1,411,614 ราย คิดเป็น 2.132 % ต่อประชากรทั้งหมด โดยที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายจะฉีดให้กับคนไทย 50 ล้านคนให้เสร็จสิ้นภายในปี 2564 นี้ ซึ่งยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ว่าจำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนภายในปีนี้จะทันตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าคนไทยจะผ่านสถาณการณ์นี้ไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอนเพราะประเทศของเรามีทรัพยากรธรรมชาติกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิมที่สามารถเป็นสิ่งที่ต่อต้านกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิค 19 อยู่แล้ว โดยสังเกตุได้อย่างง่ายๆว่า คนในชนบทที่ดำเนินแบบเรียบง่ายและอยู่กับท้องทุ่งสวนไร่นา ยังไม่เคยมีรายงานเลยว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้ติดเชื้อโควิค 19 ซึ่งถ้ามีการถอดบทเรียนเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจังจะเป็นการสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ให้กับชาวไทยและชาวโลกอีกมากมาย โดยที่ไม่ต้องพึ่งวัคซีนที่กำลังแย่งอยู่อย่างในปัจจุบัน จึงหวังที่จะให้บทความตอนนี้มีส่วนในการทำให้พวกเราได้ฉุกคิดและหันกลับมาอนุรักษ์พร้อมทั้งเผยแพร่สิ่งดีๆที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างสมและส่งต่อมาให้พวกเราจนถึงวันนี้

อย่างไรก็แล้วแต่เรื่องของการฉีดวัคซีนคงยังต้องถกเถียงกันไปอีกนาน โดยที่ในทางเทคนิคแล้วผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้วัคซีนโควิค 19 นี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งคาดว่าว่าต้องใช้เวลาไปอีกหลายปีถึงจะทราบผลกระทบที่แท้จริง ในช่วงนี้ใครมีโอกาสได้ฉีดวัคซีนตัวไหนก็ควรใช้บริการกันไปก่อนนะครับ เพราะเป้าหมายที่เกิดขึ้นจากการได้รับการฉีดวัคซีนจะให้ผลที่เหมือนกันคือการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิค 19 ตัวนี้เหมือนกัน ซึ่งส่วนที่แตกต่างกันก็คือระดับความสามารถของแต่ละบุคคลในการสร้างภูมิต้านทานหรือศักยภาพในการตอบสนองต่อวัคซีนโควิค 19 ในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันดั้งเดิม พันธุกรรม สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันที่แต่ละบุคคลมีอยู่นั้น เป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันและยังมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลต้องหมั่นสังเกตุและเฝ้าระวังสิ่งต่างๆเหล่านี้ด้วยตนเอง จึงขอสรุปเพื่อให้เกิดความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับภูมิต้านทานของร่างกายดังต่อไปนี้

ภูมิต้านทานที่มีมาตั้งแต่กำเนิดกับภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นภายหลัง

(Innate immunity and Adaptive immunity)

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ได้อธิบายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ ไวรัสโควิค 19 เอาไว้ว่า เป็นเรื่องปกติที่ไวรัสโคโรนาจะมีวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่นครั้งแรกที่เกิดการระบาดจากประเทศจีนที่เรียกว่าสายพันธ์อู่ฮั่น ครั้งนั้นยังเป็นเชื้อโควิค 19 ชนิด L เมื่อระบาดไปสู่ยุโรปและกระจายไปทั่วโลกก็กลายพันธ์จากสายพันธ์ L เป็น V, G, GH และ GR ตามลำดับ โดยเมื่อมาถึงประเทศไทยครั้งแรกเดือนมกราคมเป็นสายพันธ์ L ชนิดเดียวกับที่จีน ต่อมาในเดือนมีนาคมที่สนามมวย และ สถานบันเทิงทองหล่อ พบว่ากลายเป็นสายพันธุ์ชนิด S ที่แตกต่างไปจากเดิมแล้ว (https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=1&l=6)

รูปแสดงการกลายพันธ์ของเชื้อไวรัสโคโลน่าที่กำลังระบาดในปัจจุบัน

จากรูปจะเห็นได้ว่าคงจะต้องเกิดการกลายพันธ์ของเชื้อไวรัสตัวนี้ไปอีกนาน ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้ เราคงต้องมีการพัฒนายาในรักษากับการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคนี้อย่างไม่จบสิ้น โดยที่จุดเริ่มต้นของจุลินทรีย์ตัวเล็กๆเหล่านี้มีวิวัฒนาการของกฏกติกาในการอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆอย่างสมดุลและสันติสุขมาช้านานแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีการพิสูจน์และยืนยันเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกันอยู่แล้วว่าจุลินทรีย์มีระบบการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเกิดมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นก็จะมีกระบวนการในการปรับตัวเพื่อกลับมาสู่ระบบที่สมดุลอีกครั้ง ดังตัวอย่างทฤษฎี Endosymbiosis ของ Dr. Lynn Margulis ที่อธิบายกลไกการอยู่ร่วมกันของแบคทีเรียต่างชนิดกันจนกระทั่งกลายเป็นไมโตคอนเดีรยและคลอโรพลาสที่อาศัยอยู่ในเซลล์ของสัตว์และพืชอย่างในปัจจุบัน (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความตอนกำเนิดเจ้าตัวจิ๋ว ทฤษฎีพลิกโลก)

รูปแสดงวิวัฒนาการของการอยู่อาศัยร่วมกันตามทฤษฎี Endosymbiosis

หลักการอยู่ร่วมกับแบบพึ่งพาอาศัยจากทฤษฎีของ Dr. Lynn Margulis ถือได้ว่าเป็นหลักการสำคัญของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของมนุษย์เราได้เป็นอย่างดี โดยสิ่งใดมากเกินไปก็จะถูกจำกัดและถูกควบคุมในปริมาณที่เหมาะสม ที่จะทำให้ความหลากหลายของระบบนิเวศโดยรวมดำรงต่อไปได้ให้นานที่สุด ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันตามกำเนิดและระบบภูมิคุ้มกันที่มาภายหลังของร่างกายมนุษย์นั้น ก็มีวิวัฒนาการกระบวนการทำงานตามหลักการดังกล่าว

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์มีวิวัฒนาการมาช้านานแล้ว โดยมีการทำงานที่มีการประสานกันเป็นเครือข่ายและมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการป้องกันร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา โดยปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ

  1. ระบบภูมิคุ้มกันที่มีมาตั้งแต่กำเนิดหรือภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Innate immunity) ระบบภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิดนี้เป็นปราการด้านแรกที่จะต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาสู่ร่างกาย โดยมีการทำงานที่ตอบสนองได้อย่างทันทีและรวดเร็ว โดยประกอบไปด้วยเซลล์เยื่อบุต่างๆที่เป็นกำแพงไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้แล้วก็จะมีเซลล์ที่มีหน้าที่กลืนกินเชื้อโรคนั้น โดยเมื่ออยู่ที่ในเลือดก็จะมี Neutrophil, Eosinophil, Basophil และ Monophil ส่วน Macrophage จะเป็นเซลล์ที่จับกินเชื้อโรคเมื่ออยู่ที่เนื้อเยื่อ นอกจากนี้เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าไปหลบอยู่ในเซลล์หรือเซลล์ที่มีความผิดปกติ (เซลล์มะเร็ง) ก็จะมี Natural killer cell หรือ NK cell ที่จะทำหน้าที่รับรู้และทำลายเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านั้นออกไปจากร่างกาย ส่วน complement, cytokine และ interferon type I ก็จะเป็นสารที่อยู่ในน้ำเลือดที่ช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานของระบบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  2. ระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลังหรือภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive immunity) เป็นระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง หลังจากที่ภูมิคุ้มกันที่มีมาตั้งแต่กำเนิดเริ่มต้นการทำงานไปแล้ว ซึ่งเซลล์ตัวหลักที่ทำหน้าที่นี้ก็คือเซลล์เม็ดเลือดขาว T cell และ B cell โดยที่บนผิวของ T cell และ B cell นี้จะมีตัวรับที่เรียกว่า Receptor ที่สามารถแยกแยะความแตกต่างของเชื้อโรคแต่ละชนิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่วนนี้ยังส่งผลให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อโรคตัวนั้นได้อย่างแม่นย่ำ นอกจากความสามารถในการตอบสนองกับสิ่งแปลกปลอมที่หลากหลายได้อย่างแม่นย่ำแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลังนี้ยังมีความสามารถในการจดจำสิ่งแปลกปลอมได้เป็นอย่างดี ซึ่งความสามารถส่วนนี้นำไปสู่ระบบการพัฒนาวัคซีนที่กำลังเป็นที่ต้องการอยู่ในปัจจุบัน

รูปแสดงส่วนประกอบของระบบภูมิคุ้มกันที่มีมาตั้งแต่กำเนิดกับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง

รูปแสดงระดับการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย

จากรูปแสดงลำดับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเมื่อเริ่มต้นมีการติดเชื้อระบบภูมิคุ้มกันที่มีตั้งแต่กำเนิดก็จะตอบสนองตามเส้นกราฟสีน้ำเงินในทันที ซึ่งระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันก็จะมีการส่งสัญญาณไปให้กับระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลังตามเส้นกราฟสีงแดง ให้ตอบสนองโดยการกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคออกไปจากร่างกายต่อไปจนกระทั่ง ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ ระดับของการตอบสนองของภูมิต้านทานก็จะลดลง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามรูปดังกล่าวนี้เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อไม่ได้หมายว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการป่วย อาการป่วยจริงๆเกิดขึ้นภายหลังจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทั้งสองระบบของเราเริ่มที่จะรับมือไม่ไหวแล้วจึงแสดงอาการออกมาให้เห็น เราจึงต้องหาวิธีทางจากภายนอกเข้าไปช่วยในการต่อสู้กับเชื้อโรคตัวนั้น ซึ่งก็คือการใช้ยาในการรักษาโรคอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่วนการใช้วัคซีนคือการไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานตามเส้นกราฟสีแดงให้มีศักยภาพระดับการตอบสนองที่เข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นทางเลือกการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจึงสามารถดำเนินการได้ใน 3 ช่วงตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อจนถึงการตอบสนองของภูมิต้านทานได้ดังนี้

ระยะที่ 1 ช่วงเริ่มต้นของการติดเชื้อ โดยการไม่สัมผัสกับจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคโดยการกำจัดหรือหลีกเลี่ยง ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเชื้อจุลินทรีย์มีอยู่แล้วทั่วไปทั้งภายนอกร่างกายและภายในร่างกายของเรา โดยเฉพาะในร่างกายของเราก็มีการยอมรับกันอยู่แล้วว่าจำนวนเซลล์ที่ประกอบจนเป็นร่างกายของเรานั้น 90% เป็นเซลล์ของจุลินทรีย์ จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำเช่นนั้นสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ ยกเว้นผู้ที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษที่ต้องอยู่ในห้องปลอดเชื้อก็สามารถทำได้เฉพาะกรณีไป

ระยะที่ 2 ช่วงที่มีการตอบสนอง โดยการเสริมสร้างภูมิต้านทานภายในของเราให้เข็มแข็งอยู่ตลอดเวลา โดยใช้วิธีการตามธรรมชาติซึ่งมีหลากหลายวิธีมากมาย อาธิเช่นการออกกำลังกาย การตากแดด การสัมผัสธรรมชาติ การบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและงดสิ่งที่ทำให้เกิดโทษเช่นน้ำตาล อาหารที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงเป็นต้น

ระยะที่ 3 ช่วงเริ่มต้นอาการของโรค โดยการใช้ยารักษา อาหารเสริมหรือใช้วัคซีน ซึ่งเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน ตามหลักการของการแพทย์สมัยใหม่

จากทางเลือกทั้งสามหัวข้อจะเห็นได้ว่าในวันที่เรายังสามารถปฏิบัติตามข้อที่สองได้เราก็ควรเริ่มต้นทันที่ แต่ถ้าวันที่เราไม่สามารถทำตามข้อที่สองได้ ก็ใช้วิธีตามข้อที่สามไปก่อนก็ได้ เมื่อร่างกายเราพร้อมแล้วค่อยมาปฏิบัติตามข้อที่สองกัน ซึ่งวิธีการตามข้อที่สองจะมีมากมายหลากหลายวิธี เพียงแค่เชื่อมั่นในตัวเราเองว่าเราทำได้ กำลังใจและความเชื่อมั่นจึงเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญสำหรับเรื่องนี้

Terrain theory ทฤษฎีภูมิต้านทานโรคที่ถูกลืม

ทั้งๆที่จบการศึกษาด้านสาธารณสุขมาโดยตรง ต้องยอมรับเลยว่าไม่เคยได้ยินคำว่า Terrain theory หรือชื่อของ Antoine Bechamp ผู้คิดค้นมาก่อนหน้านี้เลย จนกระทั่งได้มาศึกษาและทำงานเกี่ยวกับพืช จึงได้ค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ที่ไม่เคยได้รับรู้มาก่อน โดยประเด็นสำคัญคือเรื่องภูมิต้านทานของพืชที่มีศักยภาพมากกว่ามนุษย์หลายเท่าตัวอีกทั้งพืชยังมีระบบการทำงานร่วมกับจุลินทรีย์อย่างเป็นระบบ ซึ่งเมื่อนำมาเชื่อมโยงและเปรียบเทียบการทำงานของพืชและมนุษย์ก็ทำให้ได้ตกผลึกชุดความคิดของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ว่า “ทุกสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้เชื่อมโยงกัน (Everything is connected) มนุษย์จึงไม่ควรพัฒนาการเจริญเติบโตด้วยวิธีการแยกคิดและวิเคราะห์ตามหลักการของวิทยาศาสตร์อย่างในปัจจุบันเพราะจะส่งผลกระทบให้เกิดความไม่สมดุลของระบบนิเวศของโลกใบนี้โดยรวม ดังตัวอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งในเรื่องภาวะโลกร้อน ภัยพิบัติจนกระทั่งโรคระบาดดังเช่นทุกวันนี้ ด้วยแนวคิดเหล่านี้จึงเป็นที่มาของคำว่า “One health” สุขภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด รวมทั้งสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยที่การดำรงอยู่ของมนุษย์ สัตว์ พืชและสิ่งแวดล้อมอยู่บนโลกใบนี้อยู่ร่วมกันอย่างสมดุลโดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวเชื่อมในทุกกระบวนการ

ดังนั้นทางเลือกในการดูแลสุขภาพที่ดีจึงต้องสอดคล้องกับความหมายของคำว่า One health เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบที่คาดไม่ถึงในระยะยาว การดูแลตามหลักการที่สอดคล้องกับหลักการดำรงอยู่ตามธรรมชาติจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่ง อังตวน บิแชมพ์ (Antoine Bechamp :1816-1908) ได้เสนอหลักการนี้ไว้ตั้งแต่ที่เขายังทำงานที่มหาวิทยาลัยมงเปอลิเย โดยที่ในขณะนั้นทฤษฏีเชื้อโรค Germ theory ของหลุยส์ ปาสเตอร์ กำลังเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการค้นพบอย่างยิ่งใหญ่ จากการค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในปีค.ศ. 1863 และการค้นพบวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ในปีค.ศ. 1879 ซึ่งมีผลทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อดูแลสุขภาพที่เป็นไปตามหลักของทฤษฏีเชื้อโรคเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งในปัจจุบัน

 เนื่องจากทั้งหลุยส์ ปลาสเตอร์ และ อังตวน บิแชมพ์เป็นชาวฝรั่งเศษและมีอายุอยู่ในช่วงทศวรรษ 1800 กว่าๆเหมือนกัน ทฤษฎีของทั้งสองท่านจึงเป็นข้อถกเถียงตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทฤษฏีเชื้อโรคของหลุยส์ ปาสเตอร์เป็นที่ยอมรับมากกว่าตั้งแต่สมัยนั้นมาจนถึงปัจจุบัน

จนกระทั่งเมื่อเทคโนโลยีการตรวจวัดจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆทำได้ถึงระดับการจัดเรียงลำดับเบสของดีเอ็นเอ ซึ่งรวมไปถึงผลสำเร็จของการจัดเรียงดีเอ็นเอของมนุษย์ในปีค.ศ. 2003 เป็นต้นมา ความเข้าใจเรื่องจุลินทรีย์กับบทบาทการทำงานของมันในร่างกายมนุษย์ก็มีมากขึ้น ซึ่งการค้นพบที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางก็คือ มากกว่า 60% ของภูมิต้านทานที่อยู่ในตัวพวกเรานั้นมาจากการทำงานของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายเรานั้นเอง ซึ่งมีผลทำให้เกิดการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์กันอย่างจริงจังอย่างในปัจจุบัน ความแตกต่างของทั้งสองทฤษฎีจึงถูกนำมาเปรียบเทียบอย่างจริงจังอีกครั้งเพื่อให้เกิดข้อสรุปว่าจะใช้แนวทางแบบไหนในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่ากัน

รูปเปรียบเทียบตามหลักการทฤษฎีเชื้อโรคกับทฤษฎีภูมิต้านทานภายใน

ถ้าวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวทางการแสดงออกของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามทฤษฎีทั้งสอง จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยบุคลิคหรืออุปนิสัยของบุคคลที่มีความเชื่อตามทฤษฎีเชื้อโรคจะมีความระหวาดระแวงและกังวลเกี่ยวกับความสะอาดของทั้งอาหารและสภาพแวดล้อมมากกว่าบุคคลที่มีความเชื่อตามทฤษฎีภูมิต้านทาน โดยสังคมคนเมืองก็จะเป็นตัวแทนความเชื่อตามทฤษฎีเชื้อโรค ส่วนสังคมชนบทก็เป็นตัวแทนความเชื่อตามทฤษฎีภูมิต้านทาน โดยส่วนตัวมีความเชื่อตามหลักการของทฤษฎีภูมิต้านทานมากกว่าเพราะถ้าวิเคราะห์การระบาดของโควิค 19 เชิงพื้นที่ ก็จะเห็นได้ว่าคลัสเตอร์ที่เกิดการระบาดเป็นพื้นที่ในเมืองทั้งหมด โดยพื้นที่ที่ระบาดมีสภาพภูมิแวดล้อมและสภาพอากาศที่แออัดและไม่ปลอดโปร่ง โดยไม่เคยมีการรายงานว่าเกิดการระบาดตามพื้นชนบท ซึ่งข้อมูลเชิงประจักษ์เหล่านี้น่าจะเป็นการยืนยันได้ว่าการใช้ชีวิตตามรูปแบบของสังคมชนบทที่อยู่กับธรรมชาติ มีอากาศที่สะอาด มีการออกกำลังกาย มีอาหารที่ปลอดสารพิษ เข้าวัดทำบุญ น่าจะเป็นรูปแบบที่ทำให้เกิดภูมิต้านทานหมู่สำหรับคนไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม

หลักการสร้างภูมิต้านทานหมู่ต้านโควิค 19 ด้วยตนเอง ตามหลักการของ Terrain theory

            เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่เป็นวิวัฒนาการของกลไกการสร้างภูมิต้านทานภายในของร่างกายเรา กับระยะเวลาที่มนุษย์ได้มีการคิดค้นยารักษาโรค ต้องถือได้ว่าห่างกันมากมาย ถ้าวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีความผิดพลาดเผ่าพันธ์ของมนุษย์เราน่าจะสูญพันธุ์ไปนานแล้ว วิทยาการหรือเทคโนโลยีอะไรที่พวกเรากำลังพัฒนาด้วยความคิดที่เชื่อมั่นว่าชาญฉลาดที่สุดแล้ว ถ้าผลลัพท์ของเทคโนโลยีเหล่านั้นขัดแย้งกับหลักการตามธรรมชาติรับรองได้ว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นจะไม่สามารถใช้การได้ในที่สุด เส้นทางเดินของมนุษย์เราจึงเป็นเพียงแค่เรียนรู้และเลียนแบบความเป็นจริงตามธรรมชาติให้มากที่สุด ความลับของธรรมชาติที่แท้จริงยังคงเป็นความลับสำหรับมวลมนุษยชาติไปจนกระทั่งพวกเราจะสูญพันธุ์ กลไกการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติจึงเป็นหลักการหลักของการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพที่แท้จริง

            ระบบภูมิต้านทานของร่างกายมนุษย์มีการทำงานที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ผักผลไม้ตามฤดูกาลเป็นแหล่งของจุลินทรีย์ท้องถิ่น แสงแดดเป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับพืชและสร้างวิตามินดีให้กับเรา อากาศที่บริสุทธิ์เพิ่มออกซิเจนที่ร่างกายเอาไปใช้เป็นแหล่งพลังงาน ข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้พวกเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นประโยชน์ เพียงแต่ว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตของสังคมที่เน้นการพัฒนาวัตถุกันอย่างในปัจจุบัน ทำให้พวกเราเพิกเฉยและลืมเลือนสิ่งที่บรรพบุรุษของได้ปฎิบัติกันมา ถึงเวลาแล้วที่พวกเราคนไทยจะได้แสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่าวัฒนธรรมคุณงามความดีที่บรรพบุรุษของเราได้ถ่ายทอดมาในรูปแบบการดำเนินชีวิตตามวิถีธรรมชาติคือการสร้างภูมิต้านทานหมู่ที่แท้จริง

โดยเบื้องต้นแบ่งแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างภูมิต้านทานด้วยตนเองเป็น 5 ข้อได้ดังนี้

  1. การออกกำลังกาย สำหรับสังคมชนบทการออกไปทำงานในสวนไร่นา ถือได้ว่าเป็นการออกกำลังที่ได้ประโยชน์ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งการออกกำลังกายไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ได้ประโยชน์ทั้งนั้นขอให้ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน โดยภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการออกกำลังกายจะมีหลายด้านมาก ทั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาว การเพิ่มจำนวนของไมโตคอนเดียรวมไปถึงการกำจัดขยะในระดับเซลล์ซึ่งมีผลต่อเซลล์มะเร็งโดยตรง การมีระเบียบวินัยเรื่องการออกกำลังกายจึงเป็นกฏข้อที่ 1 ของการสร้างภูมิต้านทานด้วยตนเอง โดยถ้ามีการออกกำลังกายสม่ำเสมอและทานผักผลไม้จะช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุ่นได้อีกด้วย
  2. การทานอาหาร โดยอาหารถือได้ว่าเป็นแหล่งของการเพิ่มปริมาณภูมิต้านทานโดยตรงให้กับร่างกาย ผักสดสีเขียวมีแคลเซียมสูงเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก ผักผลไม้ตามฤดูกาลเพิ่มจุลินทรีย์ท้องถิ่น โดยหลักการกินอาหารที่ถูกต้องต้องกินให้มีความหลากหลายอย่างน้อย 30 ขนิดต่อสัปดาห์ และควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกแป้ง น้ำตาลและอาหารที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูง นอกจากนี้ควรมีการอดอาหารเป็นช่วงๆ เพื่อให้ระบบการย่อยอาหารของร่างกายได้พักผ่อนบ้าง
  3. การนอนหลับ ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้พักผ่อนและเป็นช่วงเวลาของกำจัดขยะ(Autophagy) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยก่อนนอนหลับไม่ควรทานอาหารหรือไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเครียด ควรสวดมนต์ก่อนนอนเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและกำจัดสารพิษในร่างกายได้อย่างเต็มที่
  4. การควบคุมอารมณ์และความเครียดมีผลต่อระดับของภูมิต้านทานโดยตรง เมื่อเกิดอารมณ์เชิงลบหรือเกิดความเครียดร่างกายก็จะหลั่งสารที่มีผลเชิงลบกับภูมิต้านทานโดยตรง จึงควรฝึกแยกแยะปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดและหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆที่มีผลทางลบ หรือควรฝึกปล่อยว่างสิ่งๆต่างให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยการฝึกให้อยู่กับปัจจุบันอย่างแท้จริงให้ได้ อย่ายึดติดกับอดีตและอย่าปล่อยใจให้หลุดไปกับอนาคตมากเกินไป
  5. การสัมผัสธรรมชาติอย่างเข้าอกเข้าใจ เป็นหัวใจของการดำรงชีวิตของสังคมชนบท การทำงานในท้องทุ่งนา การนอนหลับใต้ต้นไม้ การได้ยินเสียงนกเสียงแมลงตามธรรมชาติ การได้สูดกลิ่นของธรรมชาติ การอาบป่า สิ่งต่างๆเหล่านี้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนแล้วว่าสามารถเพิ่มระดับของภูมิต้านทาน โดยเฉพาะการเพิ่ม NK cell จากการอาบป่าเป็นต้น

นอกจากตามหลักการ 5 ข้อที่ได้เสนอแนะไปแล้วนี้ ยังมีวิธีการอื่นๆอีกมากมายที่เป็นหลักการตามธรรมชาติบำบัดซึ่งสามารถเลือกนำมาปฏิบัติให้เหมาะสมกับตัวเองเองตามสภาพของร่างกายและกรอบของเวลา โดย หลักสำคัญก็คือการที่ได้กระทำอย่างสม่ำเสมอและหมั่นตรวจติดตามผลของการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นประจำ สำหรับผู้ที่คิดจะเริ่มต้นใหม่ กำลังใจและความเชื่อมั่นคือปัจจัยสำคัญ เพราะไม่ว่าออกกำลังกายหรือการควบคุมอาหารเป็นเรื่องที่ยากถ้าไม่เชื่อมั่นว่าเกิดประโยชน์เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลที่คนอื่นไม่สามารถบอกเราได้ จึงควรหาหนทางสร้างประสบการณ์เหล่านี้ด้วยตนเอง สุดท้ายสำหรับผู้ที่ได้อ่านบทความมาถึงบรรทัดนี้ อยากจะบอกในฐานะกัลยาณมิตรคนหนึ่งว่า เราควรเริ่มต้นสร้างภูมิต้านทานให้กับตัวเราเองตามหลักการของทฤษฎีภูมิต้านทาน (Terrain theory) เมื่อยังสามารถทำได้ ดีกว่าก่อนที่จะนอนบนเตียงที่จะใช้หลักการของทฤษฎีเชื้อโรคมารักษาเรา ช่วยบอกต่อกันไปนะครับเพื่อช่วยกันร่วมสร้างภูมิต้านทานหมู่สำหรับโควิค 19 ให้เกิดขึ้นได้ในประเทศไทย.