ฤดูร้อนเป็นฤดูที่หลายๆ คนต่างรอคอย หลังจากที่ต้องเผชิญกับฤดูหนาวอันแสนเยือกเย็น แต่บางที่ของโลก ไม่เคยได้สัมผัสกับอากาศที่อบอุ่น เพราะที่นั่นมีแต่ความร้อนที่คอยทดสอบการมีชีวิตรอด อุณหภูมิได้สูงสุดของพื้นโลกที่สามารถบันทึกได้อยู่ที่ 159.3 องศาฟาเรนไฮด์ (70.7 องศาเซลเซียส) และนี่คือบทสรุปของ 10 จุดที่ร้อนที่สุดบนพื้นโลก

Photo : Andrew Pielage

Dallol, ประเทศเอธิโอเปีย
เมืองที่ห่างไกลและร้อนสุดๆ ท่ามกลางแสงแดดของเอธิโอเปีย จากการบันทึกอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี ใน ค.ศ. 1960-1966 อยู่ที่ 94 องศาฟาเรนไฮด์ (ในช่วงกลางวันอุณหภูมิเพิ่มขึ้นกว่า 100 องศาฟาเรนไฮด์) ซึ่งตัวเลขนี้เป็นเพียงอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี เพราะที่นี่ไม่เคยว่างเว้นจากความร้อนตลอดทั้งปี

Dallol หรือ "เมืองผี" ในวันนี้ เมื่อย้อนกลับไปในปี 1960 ที่นี่เป็นแหล่งทำเหมืองแร่ที่สำคัญ รวมถึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพราะตั้งอยู่ใกล้ปากปล่องภูเขาไฟ Dallol ซึ่งระเบิดครั้งสุดท้ายไปเมื่อปี 1926 ทำให้ปากปล่องภูเขาไฟถูกปกคลุมไปด้วย เกลือ แร่ซัลเฟส และแร่ธาตุต่างๆ ที่ตกผลึกจนมองเห็นเป็นทุ่งเกลือที่มีสีขาว สีเหลือง สีส้ม สลับกัน ความร้อนของที่นี่จึงมาจากทุกทิศทุกทาง ทั้งจากใต้ดินและจากดวงอาทิตย์

Photo : Wiki Commons

Tirat Zvi ประเทศอิสราเอล

Tirat Zvi ตั้งอยู่ในหุบเขา Beit She'an ทางตอนเหนือของประเทศอิสราเอล ใกล้กับลุ่มแม่น้ำจอร์แดนอันอุดมสมบูรณ์ เป็นประเทศเดียวในโลกที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวยิว และเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาคริสต์ หุบเขาแห่งนี้มีอากาศร้อนจัด โดยเฉพาะในฤดูร้อน ปี 1942 สามารถบันทึกอุณหภูมิได้สูงสุดในเอเชียได้ถึง 129 องศาฟาเรนไฮด์ หรือ 54 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกหนีความร้อน ชาวบ้านจึงสร้างที่อยู่อาศัยให้แช่ในสระน้ำ และทำหลังคาที่มีกันสาดขนาดใหญ่โดยรอบบ้านเพื่อให้ร่มเงา

Photo : Flickr : Kinneret Yifrah

เมืองทิมบุกตู ประเทศมาลี

ประวัติศาสตร์ของเมืองทิมบุกตูนับเป็นเมืองชั้นหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ เพราะตั้งอยู่บนทางแยกของเส้นทางการค้าโบราณในทะเลทรายซาฮารา ครั้งหนึ่งเมืองนี้เคยเป็นศูนย์กลางการศึกษาและศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนาอิสลามไปทั่วทวีปแอฟริกา และผู้คนที่นี่ยังคงรักษาสภาพดั่งเดิมไว้ เมืองนี้จึงเป็นต้นฉบับเมืองโบราณที่ดีที่สุดของโลก บ่อยครั้งที่มีพายุทะเลทรายเมืองนี้ก็มักถูกปกคลุมไปด้วยทรายจากทะเลทรายซาฮารา จนถนนหนทางถูกฝังอยู่ใต้เนินทราย ที่นี่เคยได้รับการบันทึกอุณหภูมิไว้สูงถึง 130 อาศาฟาเรนไฮด์ หรือ 54 องศาเซลเซียส ข่าวดี คือ ที่นี่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ คือ แม่น้ำไนเจอร์ ที่อยู่ห่างออกไป 15 ไมล์

Photo : Flickr : Emilio Labrador

Kebili ตูนีเซีย

โอเอซิสกลางทะเลทรายในตอนกลางประเทศตูนีเซีย Kebili เป็นสถานที่ที่ผู้คนมักหลบร้อนจากแอฟริกาเหนือ เพราะอย่างน้อยที่นี่ก็มีร่มเงาของต้นปาล์ม และน้ำเย็นๆ ดังนั้น Kebili จึงเป็นเมืองที่เต็มไปผู้มาเยือนถึงแม้จะมีอุณหภูมิสูงกว่า 131 องศาฟาเราไฮด์ หรือ 55 องศาเซลเซียส และบางเวลาอาจสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ในแอฟริกา แม้ว่าเมืองนี้จะอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศที่รุนแรง แต่จากหลักฐานที่พบที่นี่ก็เป็นเมืองที่เคยมีผู้คนอยู่อาศัย เมื่อกว่า 200,000 ปี

Photo : Flickr : Dennis Jarvis

ทะเลทราย Rub’ al Khali คาบสมุทรอาหรับ

ทะเลทรายแห่งนี้ นับเป็นทะเลทรายที่ครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของคาบสมุทรอาหรับ ครอบคลุมพื้นที่ 4 ประเทศ คือ ซาอุดิอาระเบีย โอมาน เยเมน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทะเลทรายแห่งนี้ทั้งร้อนและแห้งแล้ง อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้อยู่ที่ 133 องศาฟาเรนไฮด์ (56 องศาเซลเซียส) และมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 1.2 นิ้วต่อปี ทะเลทรายแห่งนี้ไม่เคยมีมนุษย์เดินข้ามผ่านสำเร็จ จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2013 ที่มีชาวแอฟริกาใต้เดินข้ามผ่านได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

Photo : Wiki Commons

ทะเลทราย El Azizia ลิเบีย

ในวันที่ 13 กันยายน ปี ค.ศ. 1922, ทะเลทราย El Azzizia สร้างประวัติศาสตร์ หลังจากที่สถานีตรวจวัดสภาพอากาศได้บันทึกอุณหภูมิสูงที่สุดในโลก ที่ 136.4 องศาฟาเราไฮด์ (58 องศาเซลเซียส) ซึ่งสถิตินี้คงอยู่มากว่า 90 ปี จนกระทั่ง World Meteorlogical Organization ประกาศในปี 2012 ว่าสถิติดังกล่าวไม่ถูกต้อง

ถึงแม้ว่าผลการบันทึกครั้งนั้น จะสร้างความเคลือบแคลงใจ แต่ทุกอย่างที่นี่ก็สามารถเรียกความน่าเชื่อถือกลับมาได้ เพราะในฤดูร้อนอุณหภูมิที่นี่ก็สูงกว่า 120 องศาฟาเราไฮด์ (49 องศาเซลเซียส) ในความเป็นจริงสติถิที่เคยบันทึกได้ที่เมือง Libyan of Ghadames ระดับอุณหภูมิก็อยู่ในระดับเดียวกัน

Photo : Flickr : Rafael Gomez

หุบเขามรณะ สหรัฐอเมริกา

ตั้งอยู่ในทะเลทราย Mojave รัฐแคลิฟอร์เนีย หุบเขามรณะแห่งนี้ อยู่ในพื้นที่ที่ต่ำที่สุด แห้งแล้งที่สุดและร้อนที่สุดในอเมริกาเหนือ Word Record เคยบันทึกอุณหภูมิสูงที่สุดของที่นี่ไว้ที่ 134 องศาฟาเราไฮด์ (57 องศาเซลเซียส) และ The World Meteorogical Organization ได้บันทึกหุบเขามรณะแห่งนี้ไว้เมื่อปี 2012 หลังพบว่าสถิติที่เคยบันทึกไว้ที่ El Azizia, Libya ผิดพลาด

ถึงแม้จะเป็นสถานที่แห่งความแห้งแล้ง แต่สิ่งมีชีวิตต่างๆ ก็สามารถดำรงอยู่ได้ เพราะในยามค่ำคืนก็ยังสามารถพบ หมาป่า หนู แมวป่า และแกะออกหาอาหาร หุบเขามรณะ คือ สถานที่แห่งความลึกลับ แต่เมื่อฝนตก ดอกไม้ป่าก็จะผลิบานไปทั่วหุบเขาเสมือนมีเวทมนต์ ความงดงามเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์จากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากมาแล้ว

Photo : Flickr : Andrew Pielage

Flaming Mountains, จีน

ภูเขา Flaming ตั้งอยู่ในเทือกเขาเทียนฉาน ซินเจียง ประเทศจีน ชื่อนี้ตั้งขึ้นตามสภาพภูมิประเทศ ที่เป็นพื้นดินสีแดงคล้ายเปลวไฟ และสภาพอากาศที่ร้อนจัด ดาวเทียมของนาซ่า สามารถวัดอุณหภูมิบนพื้นผิวได้ถึง 152.2 องศาฟาเรนไฮด์ (67 องศาเซลเซียส) ในปี 2008 และนับเป็นสถานที่ที่ร้อนที่สุดในโลก ณ ปีนั้น

Photo : Flickr : Clemson

Australia's Badlands

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่วิเศษที่สุดในโลก ด้วยความหลากหลายของภูมิประเทศ มีพื้นที่บางส่วนเป็นทะเลทรายที่กว้างใหญ่ ไม่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของผู้คน จึงมีเพียงสถานีตรวจวัดสภาพอากาศตั้งอยู่ในดินแดนที่ห่างไกลแห่งนี้

ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน ที่มีเมฆขาวปกคลุมท้องฟ้าเพียงเล็กน้อย ในปี 2013 เป็นปีที่มีภัยแล้งอย่างรุนแรง และปรากฎการณ์เอลนีโญ่ ในปี 2002 ดาวเทียมนาซ่าวัดอุณหภูมิไว้ได้ 156.7 องศาฟาเรนไฮด์ (69 องศาสเซลเซียส) จึงทำให้ที่นี่มีชื่อเรียกว่า Badlands ซึ่งอยู่นอกเมือง รัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย

Photo : Flickr : Rob and Stephanie Levy

ทะเลทราย Dasht-e Lut อิหร่าน

ทะเลทรายของประเทศอิหร่านแห่งนี้ เป็นที่ที่ร้อนที่สุดในโลก เต็มไปด้วยความแห้งแล้ง อ้างว้างและห่างไกลผู้คน ดาวเทียมขององค์การนาซ่า ตรวจวัดอุณหภูมิในช่วงเวลา 7 ปี พบว่า 5 ปี คือ 2004, 2005, 2006, 2007 และ 2009 ทะเลทรายแห่งนี้พื้นที่ที่ร้อนที่สุดในโลก โดยในปี 2005 สามารถตรวจวัดอุณหภูมิได้สูงถึง 159.3 องศาฟาเรนไฮด์ (70.7 องศาเซลเซียส) ซึ่งนับเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีการบันทึกได้

Photo : Flickr : x3svs

ที่มา : mnn.com : 10 of the hottest places on Earth บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้ TerraBkk ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก