สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศม.) รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ วันที่ 5 พ.ย. 64 ดังนี้

1. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 2.38 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.21 ต่อปี
2. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ต.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 43.9 จากระดับ 41.4 ในเดือนก่อน
4. ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ต.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
5. ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ย. 64 ขาดดุล -1,345.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
6. สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
7. GDP ฮ่องกง ไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
8. GDP อินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 2.38 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามสถานการณ์ราคาพลังงานโลก ประกอบกับราคาสินค้ากลุ่มผักสดสูงขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ปริมาณ ผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง อีกทั้ง ยังมีความต้องการในการบริโภคเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ

อย่างไรก็ตาม สินค้าสำคัญหลายชนิด ราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด และผลไม้สด ส้าหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวใน ทิศทางปกติตาม กลไกทางการตลาดของผู้ประกอบการเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วเงินเฟ้อ พื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.21

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 10.0 เม่ือเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกือบทุกหมวด (โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์ คอนกรีต ขยายตัวร้อยละ 39.4 และ 5.3 ต่อปี ตามล้าดับ) เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาใน ตลาดโลก อาทิ เหล็ก อลูมิเนียม ถ่านหิน และน้้ามัน ท้าให้ต้นทุนการผลิตวัสดุก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นด้วย ขณะที่ในระยะถัดไป การผ่อนคลายมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่ เกี่ยวข้อง และช่วยให้ความต้องการสินค้าวัสดุก่อสร้างในประเทศสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงทั้งสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโควิดที่ยังคงยืดเยื้อ และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นที่อาจจะกระทบต่อดัชนีฯ

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ต.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ท่ีระดับ 43.9 จากระดับ 41.4 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน นับตั้งแต่ เดือน มิ.ย. 64 เป็นต้นมา

โดยเป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัดเพิ่มเติม การประกาศลดเวลา เคอร์ฟิวในเดือน ต.ค. 64 การประกาศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศได้ และการตรึง ราคาน้้ามันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยคาดว่าจะ ท้าให้การจับจ่ายใช้สอยในการบริโภคและการท่องเที่ยวของประชาชนเพิ่มขึ้น ตลอดจนค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ต่างชาติที่จะมีมากขึ้นในช่วงปลายปี รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะเข้า้มาหมุนเวียนเพิ่มเติมในระบบ เศรษฐกิจกว่าแสนล้านบาทจะท้าให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นได้ในช่วงปลายปี 64 ซึ่งเป็นสาเหตุให้ดัชนี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้า้งมาก

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ต.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -9.0 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4

นับเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 4 เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับสถานการณ์ การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ประกอบกับผลกระทบจากอุทกภัยในหลายพื้นที่ได้สร้างความเสียหายต่อ เศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงระวังระมัดการใช้จ่ายในช่วงนี้

ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ย. 64 ขาดดุล -1,345.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ -2,536.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -5,353.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 4,007.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผล ให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 64 ขาดดุลรวม -11,513.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน หน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการ ขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ ร้อยละ 5.2 ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 64 มียอด คงค้าง 22.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ท่ีร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวเร่งขึ้น ที่ร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจาก ธนาคารพาณิชย์และเงินฝากสถาบันการเงิน เฉพาะกิจขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่ร้อยละ 5.0 และ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามล้าดับ

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐฯ

  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 60.8 จุด ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 61.1 จุด แต่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ท่ามกลางปัญหาอุปทานติดขัด และราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
  • ดัชนีฯ PMI นอกภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 66.7 จุด เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 61.9 จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บข้อมูลมา โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 25.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการน้าเข้า เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 21.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ก.ย. 64 ขาดดุลที่ 80.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ ขาดดุลที่ 72.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (24-30 ต.ค. 64) ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เป็นสัปดาห์ที่ 5 มาอยู่ที่ 2.69 แสนราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 2.83 แสนราย ต่้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.75 แสนราย และเป็นระดับที่ต่้าที่สุดนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาด ในสหรัฐฯ เดือน มี.ค. 63 สะท้อนการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ

จีน

  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 50.6 จุด เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.0 จุด จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศส่งผลให้ยอดค้าสั่ง ซื้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนพลังงานและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อ ผลผลิต ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนพลังงานและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่อผลผลิต
  • ดัชนีฯ PMI นอกภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.8 จดุ เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.4.7 จุดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่บรรเทาลง ส่งผลให้ ดัชนีในหมวดยอดค้าสั่งซื้อใหม่ การส่งออก และการจ้างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นส้าคัญ

ญี่ปุ่น

  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 64
  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 50.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ ระดับ 47.8 จุด และเป็นการกลับมาเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับ 50.0 จุด เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 63 สะท้อนการขยายตัวในภาคบริการ

สหภาพยุโรป

 

  • ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 58.3 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.6 จุด เนื่องจากภาคการผลิตเผชิญกับปัญหาขาดแคลนสินค้าปัจจัย การผลิต
  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 54.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ ระดับ 56.4 จุด อย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 จุด สะท้อนให้เห็นถึงภาค บริการที่ยังคงสามารถขยายตัวได้
  • อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 7.4 ของก้าลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ส.ค. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ของก้าลังแรงงานรวม เนื่องจากมีความต้องการแรงงานที่มากขึ้น จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19

ฮ่องกง

  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจาก ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัว ที่ร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นผลจากการบริโภคใน ประเทศและการลงทุนในสินค้าคงคลังที่ขยายตัวชะลอลงเป็นส้าคัญ ท่ามกลางสถานการณ์ การแพร่ระบาดที่บรรเทาลง
  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ออสเตรเลีย

  • ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 58.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 64 ที่ อยู่ที่ระดับ 56.8 จุด และเป็นการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 4 เดือน เนื่องจากรัฐบาล ออสเตรเลียผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 มากขึ้น
  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 64 ที่อยู่ ที่ระดับ 45.5 จุด สะท้อนให้เห็นถึงภาคบริการที่กลับมาขยายตัวได้ เนื่องจากระดับดัชนีอยู่ เหนือระดับ 50 จุด

เวียดนาม

  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.1 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ระดับ 40.2 จุด

สิงคโปร์

  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด
  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ – 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

อินโดนีเซีย

  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอจากไตรมาสก่อน หน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 เมื่อ เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 57.2 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาค่าขนส่งเป็นส้าคัญ

ฟิลิปปินส์

  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการน้าเข้า เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 30.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดุลการค้า เดือน ก.ย. 64 ขาดดุลที่ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ ขาดดุลที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 51.0 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ50.9 จุด
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดือนกันปีก่อน เนื่องจากราคาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มี แอลกอฮอล์เป็นส้าคัญ

อินเดีย

  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.7 จุด

มาเลเซีย

  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 48.1 จุด ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี

ไต้หวัน

  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.7 จุด สะท้อนการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม โดยได้รับแรงหนุนจาก ยอดค้าสั่งซื้อใหม่ การส่งออก และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเป็นส้าคัญ

เกาหลีใต้

  • มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอุปสงค์จาก ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นหลังการแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง
  • มูลค่าการน้าเข้า เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 37.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 31.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอุปสงค์ในประเทศ ที่ขยายตัวตามอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น
  • ดุลการค้า เดือน ต.ค. 64 เกินดุลที่ 1.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุลที่ 4.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 50.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ อยู่ที่ระดับ 52.4 จุด และเป็นระดับที่ต่้าที่สุดในรอบ 13 เดือน จากดัชนีด้านผลผลิตที่ปรับตัว ลดลงเป็นส้าคัญ
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สหราชอาณาจักร

  • ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 57.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 64 ที่ อยู่ที่ระดับ 57.1 จุด แม้ภาคการผลิตจะยังคงขยายตัวได้ อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตยังคง ประสบกับปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบการผลิตและแรงงาน
  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 59.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 64 ที่อยู่ ที่ระดับ 55.4 จุด เนื่องจากสหราชอาณาจักรการที่ได้กลับมาเปิดประเทศ และมีมาตรการรับ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ
  • ธนาคารกลางอังกฤษมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.1 ต่อปี จากการประชุมใน เดือน พ.ย. 64 อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารอังกฤษได้กล่าวว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบายในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้าเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่ระดับเป้าหมายซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น CSI300 (เซี่ยงไฮ้) HSI (ฮ่องกง) และ S&P/ASX 200 (ออสเตรเลีย) เป็นต้น เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,626.27 จุด ด้วยมูลค่าซ้ือขาย เฉล่ียระหว่างวันที่ 1-4 พ.ย. 64 อยู่ที่ 79,271.15 ล้านบาทต่อวัน โดย นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็น ผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1-4 พ.ย. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์ สุทธิ 498.03 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 6 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1-4 พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 5,818.73 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึง วันที่ 4 พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาด พันธบัตรสุทธิ 79,490.23 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 4 พ.ย. 64 เงินบาท ปิดที่ 33.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.27 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลยูโร เยน ริงกิต วอน และ ดอลลาร์สิงคโปร์ ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลหยวน ปรับตัวแข็งค่าข้ึนจากสัปดาห์ ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่า เงินสกุลหลักอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อน ค่าลงร้อยละ -0.02 จากสัปดาห์ก่อน

Economic Indicators





Global Economic Indicators




ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259