สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สศม. รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์  ณ วันที่ 8 ต.ค. 64 ดังนี้
1. อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 1.68 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.19 ต่อปี
2. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.4 จากระดับ 39.6 ในเดือนก่อน
4. ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -16.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
5. ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค. 64 ขาดดุล -680.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
6. สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
7. ระดับหนี้ครัวเรือนไทยล่าสุด ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 89.3 ต่อ GDP

เครื่องชี้เศรษฐกิจ ไทย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 1.68 ต่อปี กลับมาขยายอีกคร้ังหลังจากหดตัว ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสาคัญจากการส้ินสุดลงของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ ด้านสาธารณูปโภค (ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้าประปา) และระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงยังสูง ต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังเคลื่อนไหวเป็นปกติและค่อนข้างทรงตัว

ยกเว้นราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดที่เคลื่อนไหวในทิศทางที่ค่อนข้างผันผวน แต่ส่วนใหญ่ยังมีราคาต่ำกว่า ปีก่อน โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด ผักสดและผลไม้สด ยกเว้น ไข่ไก่ที่ ยังมีราคาสูงกว่าปีก่อนค่อนข้างมากแต่แนวโน้มราคาเริ่มลดลงตามลาดับ เมื่อหักอาหารสดและพลังงาน ออกแล้วอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.19

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 จากสินค้าในหมวดโลหะเป็นสำคัญ ได้แก่ เหล็ก อลูมิเนียมและทองแดง โดยเฉพาะใน หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 37.0 ตามราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกที่ ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 4.1 จากราคาต้นทุนวัตถุดิบอย่างเหล็ก ทองแดง และอลูมิเนียม มีราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยด้านฤดูกาลอย่างฝนตกรวมถึงน้าท่วมในหลายพื้นที่ ยังเป็นอุปสรรคสาคัญของ การการก่อสร้างในขณะนี้ อย่างไรก็ดี การยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงการเริ่มเบิกจ่าย งบประมาณปี 65 คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคการก่อสร้างให้ฟื้นตัวได้มากขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ต่อไป

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.4 จากระดับ 39.6 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นมา

เนื่องจาก ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัดที่ครอบคลุม ขนาดเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 80 ของ GDP ไทย ส่งผลให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีการจับจ่าย ใช้สอยและท่องเที่ยวมากขึ้น อย่างไรก็ดี สถานการณ์น้ำท่วมและราคาน้ามันที่ปรับตัวสูงขึ้นเกิน 30 บาทต่อลิตร ส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นไม่มากนัก โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสถานการณ์ปัจจุบัน

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -16.9 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน แตเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวท่ีร้อยละ 18.7

การหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ยังคงได้รับผลกระทบจากความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของ เชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงระวังระมัดการใช้จ่ายในช่วงนี้ ประกอบกับความเข้มงวดในการปล่อย สินเชื่อของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้ของเกษตรกรที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

เครื่องชี้ภาคการเงิน

ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค. 64 ขาดดุล -680.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -1,305.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -4,431.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 1,895.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 64 ขาดดุลรวม -2,536.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 64 มียอดคงค้าง 19.6 ล้านล้านบาท คิดเป็น การขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอ สินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ ร้อยละ 4.4 ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 64 มียอด คงค้าง 22.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ท่ีร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน 
หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคาร พาณิชย์ทรงตัวที่ร้อยละ 3.7 ขณะที่ เงินฝากสถาบัน การเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน


ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องชี้ภาคการเงิน

ระดับหนี้ครัวเรือนไทยล่าสุด ณ ส้ินสุดไตรมาส 2 ปี 2564 มีสัดส่วนร้อยละ 89.3 ต่อ GDP หรือคิด เป็นประมาณ 14.27 ล้านล้านบาท

โดยหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 ปี 2564 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ระดับร้อยละ 90.6 ต่อ GDP โดยระดับหนี้ ครัวเรือนขยายตัวท่ีร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 ทั้งนี้ การลดลงของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาส 2 ปี 2564 เป็นผลจาก GDP ณ ราคาปัจจุบันที่ ขยายตัว ณ ไตรมาสที่ 2 (ร้อยละ 10.7 YoY) ในปี 2564 อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์หนี้ ครัวเรือนในระยะต่อไป เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐฯ

  • ดัชนีฯ PMI นอกภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 61.9 จุดปรับตัวเพิ่มขึ้น
  • ขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 61.7 จุด สะท้อนการขยายตัวที่ดีในภาคการบริการ ท่ามกลางความท้าทายในเรื่องของปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาอุปทาน และการขนส่งที่ ชะงักตัว
  • จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (26 ก.ย. - 2 ต.ค. 64) กลับมาปรับตัว ลดลงหลังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ มาอยู่ที่ 3.26 แสนราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.64 แสนราย และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.48 แสนราย สะท้อนการฟื้นตัวของ ตลาดแรงงานสหรัฐฯ หลังพายุเฮอริเคนไอด้าได้พัดผ่านไป และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าเริ่มบรรเทาลง

จีน

  • ดัชนีฯ PMI นอกภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 53.4 จุด กลับมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 46.7 จุด ซึ่งเป็นระดับที่ต่าที่สุดในรอบ 15 เดือน ดัชนีในเดือนนี้ได้รับแรงหนุนจากยอดคาสั่งซื้อใหม่ และการจ้างงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสาคัญ หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางภาคตะวันออกของมณฑลเจียงซูคลี่คลายลง

สหภาพยุโรป

  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 56.4 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่อยู่ที่ระดับ 59.0 จุด อย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 จุด สะท้อนให้เห็นถึงภาค บริการที่ยังคงขยายตัว
  • ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจาก เดือน ก.ค. 64 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 และขยายตัวต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวที่ ร้อยละ 0.4

ญี่ปุ่น

  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 47.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ ระดับ 42.9 จุดเป็นผลจากการจ้างงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสาคัญ ขณะที่ คาสั่งซื้อใหม่ชะลอ ตัวลงจากการแพร่ระบาด และราคาวัตถุดิบและราคาเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้น

ออสเตรเลีย

  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 45.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 64 ที่อยู่ ที่ระดับ 42.9 อย่างไรก็ตามระดับดัชนียังคงอยู่ต่ากว่าระดับ 50 จุด สะท้อนภาคบริการที่ยังคง หดตัว
  • ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.1 จากการประชุมในเดือน ต.ค. 64 โดยทางธนาคารกลางออสเตรเลียได้กล่าวว่าจะยังคงดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อน คลายเพื่อช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

สิงคโปร์

  • ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.1 จุด
  • ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายสินค้าในหมวดยานยนต์ เป็นสำคัญ

อินโดนีเซีย

  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 64 อยู่ท่ีระดับ 95.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ อยู่ที่ระดับ 77.3 จุด เน่ืองจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดท่ีเร่ิมคลี่คลายลง

มาเลเซีย

  • อัตราว่างงานเดือน ส.ค.64 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของ กำลังแรงงานรวมลดลง จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.8 ของกำลังแรงงานรวม

ฟิลิปปินส์

  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 อยู่ท่ีร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากราคาค่าขนส่งเป็นสำคัญ
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 523.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 528.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตของ สินค้าเภสัชกรรมเป็นสำคัญ

ไต้หวัน

  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.63 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.35 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 56 เนื่องจากราคาในกลุ่มการขนส่งและการสื่อสาร เสื้อผ้า บ้าน สุขภาพ การศึกษาและ ความบันเทิง ปรับตัวเพิ้มขึ้นเป็นสำคัญ

เกาหลีใต้

  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลงลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ ของธนาคารกลางเกาหลีใต้ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจาก ราคาอาหารสด น้ามัน ค่าเช่าบ้านและบริการอื่น ๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสาคัญ

สหราชอาณาจักร

  • ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 55.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 64 ที่อยู่ที่ ระดับ 55.0 จุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของภาคบริการในสหราชอาณาจักร

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มข้ึนจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สวนทางกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) HSI (ฮ่องกง) และ DJIA (สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1633.72 จุด ด้วยมูลค่าซ้ือขาย เฉลี่ยระหว่างวันที่ 4-7 ต.ค. 64 อยู่ที่ 91,568.11 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อ สุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4–7 ต.ค. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 1,435.31 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 6 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4-7 ต.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -1,412.89 ล้านบาท และหากนับจากต้นปี จนถึงวันที่ 7 ต.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ใน ตลาดพันธบัตรสุทธิ 65,573.79 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 7 ต.ค. 64 เงินบาทปิด ที่ 33.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.30 จากสัปดาห์ ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน ริงกิต และดอลลาร์สิงคโปร์ ที่ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะท่ี เงินสกุลยูโร และวอน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบ กับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ใน ภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.15 จาก สัปดาห์ก่อน

Economic Indicators

Global Economic Indicators

ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259