สศม.- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รายงานเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์  ณ 27 ส.ค. 64  ดังนี้
1. มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.3 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 45.9 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
2. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 64 หดตัวร้อยละ -12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
4. ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ค. 64 มีมูลค่า 22,651 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการ ขยายตัวที่ร้อยละ 20.3 เมื่อเทียบช่วงเดียวกัน ปีก่อน โดยยังคงเป็นระดับการขยายตัวที่ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน
สำหรับสินค้าสำคัญที่ยังคงเป็นปัจจัยหนุนการส่งออกในเดือน ดังกล่าว อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบ (39%) เครื่องคอมฯ (19%) ผลิตภัณฑ์ยาง (16%) เม็ดพลาสติก (58%) เคมีภัณฑ์ (54%) น้ามันสาเร็จรูป (71%) แผงวงจรไฟฟ้า (26%) กลุ่มผักและผลไม้ฯ (80%) ยางพารา (121%) ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลัง (62%) อาหารสัตว์เลี้ยง (17%) และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสาเร็จรูป อื่น ๆ (8.4%) เป็นต้น เมื่อพิจารณาจาแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลัก ของไทย พบว่า มีการขยายตัวเกือบทุกตลาดสาคัญ โดยเฉพาะ ตลาดสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อาเซียน และอินเดีย ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ย ที่ร้อยละ 16.2 ต่อปี

มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.ค. 64 มีมูลค่า 22,467 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงที่ ร้อยละ 45.9 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
จากการขยายตัวของกลุ่มสินค้านาเข้าสำคัญ เช่น น้ามันดิบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า และสินแร่โลหะอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าช่วง 7 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัว เฉลี่ยที่ร้อยละ 28.7 ต่อปี สาหรับดุลการค้า ในเดือน ก.ค. 64 ยังคงเกินดุลที่มูลค่า 184 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้า สะสมของไทยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 64 เกินดุลมูลค่า 2,623 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ค. 64 มีจานวน 16,689 คัน หดตัวที่ร้อยละ -9.8 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับ เดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ ร้อยละ -13.3
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศที่รุนแรงและเป็นวงกว้างส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย ในช่วงนี้ ประกอบกับสถาบันการเงิน มีความเข้มงวด ในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น จากสถานการณ์ หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ยังคงส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตยานยนต์อีกด้วย

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ใน เดือน ก.ค. 64 มีจานวน 35,753 คัน หดตัว ร้อยละ -12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และหดตัวร้อยละ -14.3 เมื่อเทียบกับ เดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล ตาม ปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่ หดตัวร้อยละ -15.0 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน

ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศกลับมาหดตัวในรอบ 5 เดือน โดยมีปัจจัยสำคัญจากการระบาดจาก COVID-19 รอบใหม่ที่รุนแรงและมีแนวโน้มคลี่คลายได้ช้า กว่ารอบก่อนหน้าส่งผลให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวัง ในการใช้จ่ายเงินขณะที่สถาบันการเงินได้เพิ่มความเข้มงวด ในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลน เซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนรถยนต์จากการระบาดของ โควิด-19 ในประเทศและประเทศคู่ค้าที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งคาดว่าปัจจัยข้างต้นจะยังคงเป็นปัจจัยกดดันต่อยอด จำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในระยะถัดไป อย่างไรก็ดี การ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพรร่ะบาดของรฐับาลที่ คาดว่าจะเริ่มในเดือน ก.ย.64 น่าจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นต่อการจับจ่ายได้มากขึ้น

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัด ผลทางฤดูกาล
หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 64 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัว ในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 10.8 และ 2.0 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตในหมวดประมงหดตัวที่ ร้อยละ -16.0 โดยสินค้าเกษตรสาคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา มันสาปะหลัง กลุ่มไม้ผล และ และสุกร ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกุ้งขาวแวนนาไม

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -6.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัด ผลทางฤดูกาล
หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดอืนก.ค. 64 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในหมวด พืชผลสาคัญที่ร้อยละ 1.7 ขณะที่ราคาในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงหดตัว ที่ร้อยละ -0.9 และ -7.0 ตามลำดับ โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และไข่ไก่ ขณะที่สินค้า ที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก กลุ่มไม้ผล และกุ้งขาว แวนนาไม

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐฯ

ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) เป็นผลจากยอดขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในประเภทบ้านเดี่ยว ในเขต Midwest South และ West และหากพิจารณาเทียบรายปีพบว่า ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ก.ค. 64 ยังคงมีการขยายตัว แต่ในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ราคากลางบ้านมือสอง เดือน ก.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาล) ขณะที่เดือนก่อนหน้าขยายตัวที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาล) แต่หากพิจารณาเทียบรายปีพบว่า ราคาบ้านมือสอง เดือน ก.ค. 64 ยังคงมี การขยายตัว แต่ในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 17.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ก.ค. 64 กลับมาขยายตัวในรอบ 4 เดือน ที่ร้อยละ 1.0 จากเดือน ก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) หลังหดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -2.6 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) โดยมียอดขายเพิ่มมากขึ้นในเขต South และ West แต่หากเทียบรายปี จะพบว่า ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ก.ค. 64 หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -27.2 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (15-21 ส.ค. 64) อยู่ที่ 3.53 แสนราย กลับมาเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.49 แสนราย หลังปรับตัวลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ทั้งนี้ ยังเป็นระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ในสหรัฐฯ ที่อยู่ที่ 2 แสนราย โดยตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงเผชิญกับการขาดแคลน แรงงาน และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า อย่างไรก็ดี ต้องรอติดตาม สถานการณ์ในเดือน ก.ย. 64 ที่โครงการสวัสดิการว่างงานจะสิ้นสุดลง และจะมีการเปิด ภาคการศึกษาใหม่ ซึ่งน่าจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของตลาดแรงงานในสหรัฐฯ

ญี่ปุ่น
ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 52.4 จุด จาก 53.0 จุด ในเดือน ก.ค. 64 เนื่องจากผลผลิต และคาสั่งซื้อใหม่ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 43.5 จุด จาก 47.4 จุด ในเดือน ก.ค. 64 เนื่องจากมาตรการข้อจากัดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดขอโควิด-19

ยูโรโซน
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 61.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ ที่ระดับ 62.8 จุด อย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 จุด สะท้อนถึงภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว
ดัชนี PMI ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 59.7 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ที่อยู่ที่ระดับ 59.8 จุด อย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 จุด แสดงให้เห็นถึงภาคบริการที่ยังคง ขยายตัว
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ระดับ -5.3 จุด ลดลงจากเดือน ก.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ -4.4 จุด เนื่องจากภาคครัวเรือนมีความกังวลเกี่ยวกับยอดผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น

สิงคโปร์
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวท่ีร้อยละ 16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าท่ีร้อยละ 28.0 เน่ืองจากการผลิตของเครื่องจักรอุตสาหกรรมเป็น สาคัญ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากราคาอาหารเป็นสาคัญ

มาเลเซีย
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 27.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 32.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน ก.ค. 64 เกินดุลที่ 13.7 พันล้านริงกิตมาเลเซีย ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ เกินดุลที่ 22.2 พันล้านริงกิตมาเลเซีย
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากราคาค่าขนส่งเป็นสาคัญ

ฮ่องกง
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัว
ลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 33.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีการส่งออก สินค้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มช้ินส่วนอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักรไฟฟ้า และเครื่องใช้สานักงานและ เครื่องประมวลผลอัตโนมัติ เป็นสำคัญ
มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวท่ีร้อยละ 26.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลง จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 31.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.ค. 64 ขาดดุลที่ -34.9 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าท่ีขาดดุลที่ -40.5 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง

ออสเตรเลีย
ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 51.7 จุด
จาก 56.9 จุด ในเดือน ก.ค. 64 เนื่องจากผลผลิต และคาสั่งซื้อใหม่หดตัวลง
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 43.3 จุด จาก 44.2 จุด ในเดือน ก.ค. 64 เนื่องจากการขยายมาตรการข้อจากัดในการควบคุมโควิด-19

เกาหลีใต้
ธนาคารกลางเกาหลีใต้ปรับข้ึนอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี จากเดิมอยู่ที่ ร้อยละ 0.5 ต่อปี
เพื่อชะลออุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 102.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ ที่ระดับ 103.2 จุด และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 64 เนื่องจากประชาชนมีความ กังวลกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศใน อนาคตลดน้อยลง

ไต้หวัน
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.36 ของกาลังแรงงานรวม ชะลอตัวลงจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.7
ของกาลังแรงงานรวม โดยมีจานวนผู้มีงานทาและอัตราการ มีส่วนร่วมของกาลังแรงงานเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.93 จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 18.00 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็น ระดับที่ต่าที่สุดในรอบ 5 เดือน เป็นผลจากการผลิตที่ลดลงในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต เห มือง แร่ และการประปาเป็นสำคัญ
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -10.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอ ตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -13.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียอดค้าปลีก กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มเชื้อเพลิง สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สารสนเทศและ การสื่อสาร และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เป็นสาคัญ

สหราชอาณาจักร
ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 50.1 จุด จาก 60.4 จุด ในเดือน ก.ค. 64
เนื่องจากการเติบโตที่ชะลอลงลงของกิจกรรมในโรงงาน
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 55.5 จุด จาก 59.6 จุด ในเดือน ก.ค. 64

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มข้ึนจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคท่ีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) DJIA (สหรัฐอเมริกา) และ KLCI (มาเลเซีย) เป็นต้น เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1601.91 จุด ด้วยมูลค่า ซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 23-26 ส.ค. 64 อยู่ที่ 97,365.29 ล้านบาท ต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุน บัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23-26 ส.ค. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 7,402.84 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มข้ึนในช่วง 1 ถึง 11 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 2.71 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23-26 ส.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ใน ตลาดพันธบัตรสุทธิ 25,186.42 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึง วันที่ 26 ส.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ใน ตลาดพันธบัตรสุทธิ 104,369.37 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าข้ึนจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันท่ี 26 ส.ค. 64 เงินบาท ปิดท่ี 32.76 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าข้ึนร้อยละ 1.94 จากสัปดาห์ ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลเยน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเม่ือเทียบ กับดอลลาร์สหรัฐ ท้ังน้ี เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลัก อื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.70 จากสัปดาห์ก่อน

Economic Indicators

Global Economic Indicators




ขอบคุณข้อมูลจาก : Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259