สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ขอ รายงานเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 20 ส.ค. 64 ดังนี้
1. เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ -2.6 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า
2. เดือน ก.ค. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (Special Tourist Visa: STV) นักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจเดินทางเข้าประเทศจำนวน 18,056 คน ขยายตัวที่ร้อยละ 100.0 ต่อปี
3. GDP ยูโรโซน ไตรมาสที่ 2 ปี 64 (ประมาณการครั้งที่ 2) ขยายตัวร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจ ไทย
เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ -2.6 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2564 ขยายตัว จากไตรมาส 1 ปี 2564 ร้อยละ 0.4 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี

โดยจำนวนข้างต้นลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก การระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในต่างประเทศและ ภายในประเทศ ประกอบกับมาตรการทางสาธารณสุขที่มีการเพิ่มวันกักตัว สำหรับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย เป็น 14 วันเหมือนเดิม (จากเดิม 7-10 วัน) ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 64 โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสองมีแรงสนับสนุน สำคัญจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวได้ในระดับสูงที่ร้อยละ 30.7 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของทั้งปริมาณและราคาสินค้าส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ กลุ่มยานพาหนะ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และโลหะ สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 9.2 ต่อปี ตามการขยายตัวของการลงทุนใน หมวดเครื่องมือเครื่องจักร สอดคล้องกับการขยายตัวเร่งขึ้นของ ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้า และการบริโภค ภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน และแรงสนับสนุนจากมาตรการ เยียวยาและกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ

ในส่วนของภาคการผลิต สาขาการผลิต สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 16.8 ต่อปี โดยขยายตัวในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมเบา วัตถุดิบ และ สินค้าทุนและเทคโนโลยี การผลิตสาขา เกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี จากผลผลิตพืชหลักที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา สับปะรด และ มันสาปะหลัง ขณะที่การผลิตสาขาบริการ ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี โดยสาขา บริการที่ขยายตัวดี ได้แก่ สาขาที่พักแรม และบริการด้านอาหาร ขยายตัวร้อยละ 13.2 ต่อปี สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บ สินค้า ขยายตัวร้อยละ 11.6 ต่อปี สาขา ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ขยายตัว ร้อยละ 5.8 ต่อปี และสาขาการขายส่งและ การขายปลีก ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี


ที่มา : สศช.

เดือน ก.ค. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยเป็นจำนวนสูงสุดในรอบ 15 เดือน จากอานิสงค์ของโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ขณะที่การท่องเที่ยวของคนไทยยังได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศซึ่งยังไม่คลี่คลาย ทำให้ตัวเลขจานวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ลดลงต่าสุดในรอบ 14 เดือน

เดือน ก.ค. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภท พิเศษ (Special Tourist Visa: STV) นักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิ พิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจเดินทางเข้า ประเทศจานวน 18,056 คน ขยายตัวที่ร้อยละ 100 ต่อปี สูงสุด ในรอบ 15 เดือน หลังจากการล็อกดาวน์ในเดือน เม.ย. 63 และ เริ่มผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวชาวชาติชาติเข้ามาในเดือน ต.ค. 63 โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจาก สหรัฐฯ สหราช อาณาจักร อิสราเอล ฝรั่งเศส และเยอรมนี และในจานวนนั้น เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาตามโครงการ “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์” 14,055 คน ซึ่งโครงการดังกล่าวเปิดให้ นักท่องเที่ยวเดินทางเขามาเที่ยว จ. ภูเก็ต โดยไม่ต้องกักตัวและ เมื่อครบ 14 วันแล้วก็สามารถเดินทางไปยังจังหวัดอื่น ๆ ได้

ขณะที่ การท่องเที่ยวของชาวไทย สะท้อนจากจำนวน ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 869,248 คน ลดลง ต่ำสุดในรอบ 14 เดือน และหดตัวที่ร้อยละ -91.3 ต่อปี โดยมี สาเหตุมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น ในประเทศไทย ทาให้ ศบค. มีมติล็อกดาวน์พื้นที่เสี่ยงสูง ตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. 64 เป็นต้นมา ขณะที่วันที่ 21 ก.ค. 64 สานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ CAAT ประกาศ ควบคุมเที่ยวบินเข้าออกพื้นที่สีแดงเข้ม โดยห้ามสายการบิน พาณิชย์ทุกสายการบินให้บริการเที่ยวบินในประเทศทั้งหมด เบื้องต้น 14 วัน ยกเว้นแต่เป็นเที่ยวบินที่เกี่ยวกับพื้นที่นาร่อง เปิดประเทศ หรือลงจอดกรณีฉุกเฉิน


ที่มา : กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐฯ 

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการชะลอตัว ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 จากการผลิตที่ปรับตัวลดลงในกลุ่มสาธารณูปโภคและเหมืองแร่เป็น สำคัญ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้าน (NAHB) เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 75 จุด ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 80 จุด และเป็นระดับที่ต่าที่สุดในรอบ 1 ปี จากสต็อกบ้านที่มีจำกัด ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งราคาบ้านและต้นทุนในการก่อสร้างที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -7.0 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาล) ขณะที่เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทาง ฤดูกาล) เป็นผลจากยอดสร้างคอนโดมิเนียม และบ้านเดี่ยวที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดี หากพิจารณาเทียบรายปีพบว่า ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.ค. 64 ยังคงมีการขยายตัว แต่ในอัตรา ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.ค. 64 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 จากเดือน ก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) โดยยอดใบอนุญาตปรับตัวเพิ่มขึ้นสาหรับทาวน์โฮมส์และ คอนโดมิเนียม และในเขตตะวันตก และตะวันตกกลาง

ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการชะลอตัว ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (8-14 ส.ค. 64) อยู่ที่ 3.48 แสนราย ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.77 แสนราย สะท้อนการทยอย ฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ เดลตา ทั้งนี้ ยังคงเป็นระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ในสหรัฐฯ ที่อยู่ที่ระดับ 2.3 แสนราย

จีน 
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 63 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว รวมถึงราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น และปัญหาอุปทานติดขัด

ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลง จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 12.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในปี 64 จากการบริโภคที่ชะลอตัวลเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในบางพื้นที่

อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ของกำลังแรงงานรวม เร่งขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม

ญี่ปุ่น 
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 64 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี จากร้อยละ -0.5 ต่อปี ในเดือน มิ.ย. 64 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน เนื่องจากการเติบโตของยอดขายในต่างประเทศที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
ดุลการค้า เดือน ก.ค. 64 เกินดุลอยู่ที่ 441.02 พันล้านเยน เป็นผลมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของ มูลค่าการส่งออกท่ีอยู่ที่ 7,356 พันล้านเยน ขณะที่มูลค่าการนาเข้าอยู่ท่ี 6,915 พันล้านเยน

ยุโรป 
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 64 (ประมาณการครั้งที่ 2) ขยายตัวร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -1.3 เนื่องจากมี การกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งและปัจจัยฐานที่ต่ำ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัว มากกว่าเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่ฟื้นตัวและปัจจัย ฐานต่ำ

ฮ่องกง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าท่ีอยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับต้ังแต่ เดือน ก.ย. 59 จากฐานต่ำ และมาตรการสนับสนุนค่าเช่าที่พักอาศัยของรัฐบาล
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.5 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งถือเป็นอัตราการว่างงานที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ ไตรมาสแรกของปี 63 สะท้อนการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจฮ่องกง

สิงคโปร์
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 22.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 22.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 28.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน ก.ค. 64 เกินดุลการค้าที่ 3.74 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 4.64 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์)

อินโดนีเซีย
ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 29.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 54.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 44.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 60.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน ก.ค. 64 เกินดุลการค้าที่ 2.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 1.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

เกาหลีใต้
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกาลังแรงงานรวม ซึ่งถือเป็นอัตราการว่างงานที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ เดือน ส.ค. 63 ท่ามกลางการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในบาง พื้นที่

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สวนทางกับตลาด หลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น HSI (ฮ่องกง) Nikkei225 (ญี่ปุ่น) และ TWSE (ไต้หวัน) เป็นต้น เมื่อ วันที่ 19 ส.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,544.28 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย เฉลี่ยระหว่างวันที่ 16-19 ส.ค. 64 อยู่ที่ 80,092.55 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขาย สุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 16-19 ส.ค. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 8.33 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -4 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 6 และ 51 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 3.40 และ 2.14 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 16-19 ส.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -4,464.06 ล้านบาท และหากนับ จากต้นปีจนถึงวันท่ี 19 ส.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 80,780.47 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 19 ส.ค. 64 เงินบาท ปิดที่ 33.41 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.08 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลยูโร ÃÔ§¡Ôμ วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะท่ีเงินสกุลเยน ปรับตัวแข็งค่าข้ึนจาก สัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ท้ังน้ี เงินบาทอ่อนค่าลงน้อย กว่าเงินสกุลหลัก อื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.13 จากสัปดาห์ก่อน

ค่าเงินสกลุต่างๆ เครื่องหมาย + คือแข็งค่าขี้น และเครื่องหมาย- คืออ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลารส์หรัฐ
ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้น (+) หรือ อ่อนค่าลง (-)ในชว่งระยะเวลาดังกล่าว โดยคิดเป็นอัตราร้อยละ

Economic Indicators




Global Economic Indicators




ขอบคุณข้อมูลจาก : Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259