สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง - สศม. รายงาน เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ รายสัปดาห์  ณ 11 มิ.ย. 64 ดังนี้ 
1. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน พ.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 82.3 จากระดับ 84.3 ในเดือนก่อน  
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.7 จากระดับ 46.0 ในเดือนก่อน 
3. ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 64 คิดเป็น 1.78 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย  
4. GDP ยูโรโซน ไตรมาสที่ 1 ปี 64 (ประมาณการครั้งที่ 3) หดตัวร้อยละ -1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน 

ดัชนีความเชื่อมั่น ภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน พ.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 82.3 จากระดับ 84.3 ในเดือนก่อน เป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโควิดรอบใหม่ ที่ยังไม่คลี่คลาย ประกอบกับเกิด คลัสเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต อีกทั้งผู้ประกอบการยังต้องเผชิญ กับปัญหาต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น และขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ตาม ยังมี ปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อาทิ เราชนะ ม.33 เรารักกัน ที่ช่วยสนับสนุนกำลังซื้อในประเทศ นอกจากนั้นเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวภายหลัง สถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลายและเริ่มทยอยเปิดเมือง รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นผลทำให้การส่งออกได้รับ อานิสงค์ไปด้วย  

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.7 จากระดับ 46.0 ใน เดือนก่อนซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 22 ปี 8 เดือน นับตั้งแต่ทำการสำรวจในเดือน ต.ค. 41 เป็นต้นมา เนื่องจาก ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ในประเทศไทยในรอบที่ 3 ประกอบกับความกังวล ในสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพน้อยลงและ การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่ล่าช้า ส่งผลใหู้ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนักและยังขาดแรงกระตุ้นในการฟื้นตัว แม้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการเราชนะ และโครงการอื่นๆ จะสามารถกระตุ้นกำลังซื้อได้แล้วในระดับหนึ่ง  

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 64 คิดเป็น 1.78 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ 5.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็น ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤติ (Liquidity Coverage Ratio : LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59 

 

US มูลค่าการส่งออกเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 53.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 14.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังหดตัวติดต่อกันมา 12 เดือน ขณะเดียวกันมูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 36.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 21.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บข้อมูลในปี 35 ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน เม.ย. 64 ขาดดุลที่ -83.4 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ -86.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สดุ นับตั้งแต่ เดือน ส.ค. 61 เนื่องจากฐานต่ำ ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ประกอบกับมีอุปสงค์ในตลาดที่เพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (30 พ.ค.-5 มิ.ย. 64) อยู่ที่ 3.76 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 6 อย่างไรก็ดี ยังคงสูงกว่า ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดที่ค่าเฉลี่ย 2.30 แสนรายต่อสัปดาห์ 

 

China  มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 27.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 31.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 51.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 42.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 53 ส่งผลให้ ดุลการค้า เดือน พ.ค. 64 เกินดุลที่ 45.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 42.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อของจีนยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเดือน ก.ค. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวเร่งขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 9.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 13 ปี ทั้งนี้ ราคาสินคา้ โภคภัณฑ์จีนได้พุ่งสูงขึ้นเป็นวงกว้าง อันเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งของจีน ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ 

Eurozone  GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 64 (ประมาณการครั้งที่ 3) หดตัวร้อยละ -1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน หดตัวลดลงจากไตรมาส ก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -4.7 และหดตัวลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนที่ประมาณการว่าหดตัวที่ร้อยละ -1.8 ธนา  

Malaysia  ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 50.1 จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.3 โดยการผลิตเร่งขึ้นอย่างรวดเร็วประกอบกับฐานต่ำเป็นสำคัญ รวมถึงยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 56.4 จาก ช่วงเดียวกันกับปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 10.5 จากยอดขายทุกประเภทสินค้าและฐานต่ำเป็นสำคัญ สำหรับอัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกำลังแรงงานรวมลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า  

Philippines  ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 154.3 จากช่วงเดียวกันกับปีก่อนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -73.3 จากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในหลาย ๆ ประเภทที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 72.1 จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 31.6 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 140.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 16.6 สำหรับอัตราการว่างงานไตรมาส ที่ 2 ปี 64 อยู่ที่ร้อยละ 8.7 ของกำลังแรงงานรวม คงที่จากไตรมาสก่อนหน้า  

Indonesia  ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.6 จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -14.6 จาก ยอดขายสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ เป็นสำคัญ อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 104.4 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 101.5 จุด  

Taiwan  มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 38.6 จากช่วงเดียวกันกับของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 38.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 40.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 26.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 15 เดือน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน พ.ค. 64 เกินดุลที่ 6.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 6.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.48 จากช่วงเดียวกนัของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 58 เป็นผลจากราคาสินค้าในกลุ่มการขนส่งและการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ธนาคารกลางยุโรป มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 จากการประชุมในเดือน มิ.ย. 64 ทั้งนี้ ทางธนาคารกลางยุโรปได้ให้มุมมองเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งภายในปีนี้ และปีหน้า อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานเป็นสำคัญ   

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) JCI (อินโดนีเซีย) PSEi (ฟิลิปินส์) และ STOXX50E (สหภาพยุโรป) เป็นต้น ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้น  ช่วงปลายสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,625.27 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลยระหว่างวันที่ 7-10 มิ.ย. 64 อยู่ที่ 97,204.51 ล้านบาท ต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 7-10 มิ.ย. 64 ต่างชาติซื้อหลักทรัพย์ สุทธิ 1,999.09 ล้านบาทาท 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลง ในช่วง 0 ถึง -9 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูล พันธบัตรรัฐบาลอายุ 11 ปี และ 51 ปีซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 3.13 และ 2.04 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 7-10 มิ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 13,917.73 ล้านบาท และหากนับจากต้นปี จนถึงวันที่ 10 มิ.ย. 64 กระแสเงินทุนของ นักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 50,692.44 ล้านบาท 

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 10 มิ.ย. 64 เงินบาทปิดที่ 31.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ร้อยละ 0.04 จากสัปดาห์ก่อนหน้าสอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ อาทิ เงินสกุลเยน และริงกิต ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลยูโร วอน ดอลลาร์สิงคโปร์  และหยวน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากกสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงิน สกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็ง ค่าขึ้นร้อยละ 0.06 จากกสัปดาห์ก่อน

ข้อมูลเศรษฐกิจไทย



ข้อมูลเศรษฐกิจคู่ค้าไทย 15 ประเทศ


ขอบคุณข้อมูลจาก : Macro Economic Policy Bureau Fiscal Policy Office / กลยุทธ์สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหาภาค กระทรวงการคลัง