คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงิน และตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดสัมมนา เรื่อง “โลกเปลี่ยนไทยปรับ รองรับวิกฤติโรคระบาด”

แม้วิกฤติโควิด-19จะคลี่คลายลงแล้วในประเทศไทย แต่สถานการณ์ในต่างประเทศยังน่าเป็นห่วง เท่ากับว่าไทยกำลังโดนล้อมจากโรคระบาดที่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงต่างๆโดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจในเชิงโครงสร้างอย่างซึมลึก

บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้มีความรุนแรงมาก และส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งมองว่าเม็ดเงินที่อัดฉีดเข้าไปพยุงเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านบาท ยังไม่เพียงพอ ควรจะเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลอย่ากังวลเรื่องหนี้สาธารณะถึงจะติดเพดาน 60-70% ก็ไม่น่ากลัว เพราะจะช่วยกอบกู้เศรษฐกิจของไทยไว้ได้

ทั้งนี้ จะต้องมีแผนการหารายได้ที่ชัดเจน โดยมองว่ารัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการ 3 เรื่อง ได้แก่ การปรับขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จากปัจจุบัน 20% เพิ่มเป็น 25% จะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งการขึ้นภาษีนิติบุคคลจะไม่กระทบประชาชน เพราะเก็บจากภาคธุรกิจที่มีผลกำไร 2. ขึ้นภาษีทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งจะไม่กระทบคนจน เพราะคนจนมีทรัพย์สินน้อย และ3. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีมูลค่ากว่า 16 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงพลังงานเพียง 2 แห่ง ก็จะมีรายได้เข้ามาถึง 2 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ รัฐบาลควรจะเปิดเสรีในทุกๆด้าน โดยเฉพาะการเปิดเสรีการถือครองที่ดิน เปิดให้ต่างชาติเข้ามาถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ จะทำให้เกิดการแข่งขันในการนำที่ดินมาใช้ใฝห้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการปิดกั้นที่ผ่านมาทำให้มีเพียงไม่กี่ตระกูลใหญ่ที่ถืดครองที่ดินเป็นจำนวนมาก เพราะไม่มีต่างชาติเข้ามาแข่งขัน ซึ่งรัฐบาลไม่ต้องเป็นห่วง เพราะต่างชาติไม่สามารถมาหอบที่ดินออกนอกประเทศไทย ยังคงอยู่ในประเทศไทย ผลบวกที่ได้จะทำให้เกิดการลงทุนในธุรกิจต่างๆมากขึ้น และรัฐบาลก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น

“ในอดีตที่ผ่านมาของไทย มีหลายนโยบายที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ แต่ส่งผลบวกกับเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เช่น ในยุคโชติช่วงชัชวาล ที่เปิดเสรีด้านการลงทุน มีโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่รัฐบาลได้ออกมาตรการดึงดูดการลงทุนจึงทำให้เศรษฐกิจไทยโตแบบก้าวกระโดด"

 

จากมาตรการเปิดเสรีการเงิน ที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตเป็นอันดับต้นๆของโลกติดต่อมาถึง 5 ปี ที่เศรษฐกิจไทยโตขึ้นถึง 2 เท่า แต่ด้านนโยบายที่ผิดพลาดบางด้านจึงทำให้เกิดวิกฤติปี 2540 มาตรการเปิดเสรีการบิน ทำให้ราคาค่าเครื่องบินถูกลงมาก ทำให้เกิดสายการบินต้นทุนต่ำ ทำให้การท่องเที่ยวของไทยขยายจาก 10 ล้านคน จนถึงเกิอบ 40 ล้านคนในปี 2562 สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากคิดเป็นสัดส่วนถึง 20% ของ จีดีพี

ในส่วนของการช่วยเหลือเอสเอ็มอี รัฐบาลควรจะเข้าไปชดเชยรายได้กับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ โดยดูจากการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มของเอสเอ็มอี หากจ่ายมากก็ควรได้รับการชดเชยมาก แต่มีข้อแม้ที่ธุรกิจเหล่านี้จะต้องรักษาการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 75% ซึ่งจะช่วยดึงเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบภาษีที่ถูกต้องได้อีกด้วยรวมทั้งการจัดสรรงบ 1 แสนล้านบาทให้กับท้องถิ่นต่างๆ นำไปให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ โดยควรจะให้จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำมากกว่าจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวที่สูงกว่า เพื่อกระจายรายได้ลงท้องถิ่น

นอกจากนี้ รัฐบาลควรจะยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นสิ่งที่ไม่ทันสมัย เป็นเหมือนความฝันที่ถูกบังคับให้เป็นกฎหมาย พราะตามยุทธศาสตร์ชาติจะต้องตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่ถึง 56 หน่วยงานซึ่งเป็นการสวนกระแสของโลกที่จะลดบทบาทของภาครัฐ รวมทั้งรัฐบาลจะต้องลดขนาดจำนวนข้าราชการ ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น มีข้าราชการ 5 แสนคน แต่มีประชากร 127 ล้านคน สิงคโปร์ มีข้าราชการ 1.2 แสนคน ประชากร 5.5 ล้านคน แต่ประเทศไทย มีข้าราชการ 2.2 ล้านคน แต่มีประชากร 66 ล้านคน เห็นได้ชัดว่ามีจำนวนข้าราชการมากเกินไปและมีประสิทธิภาพต่ำ หากลดจำนวนและเพิ่มประสิทธิภาพ ก็จะลดภาระงบประมาณลงได้มาก

สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ก่อนที่จะเกิดโควิด-19 รัฐบาลได้ตั้งนโยบาย 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย แต่หลังจากเกิดโควิด-19 ทุกอย่างต้องเปลี่ยนไป โดยจะต้องลดอุตสาหกรรมเป้าหมายลง และหันมาเน้นอุตสาหกรรมที่ไทยเข้มแข็งและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติสูงสุด   ดังนั้นจึงได้ผลักดันนโยบาย บีซีจี ซึ่งจะลดอุตสาหกรรมเป้าหมายลงเหลือ 5 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ การแพทย์ครบวงจร และการท่องเที่ยว บูรณาการเข้าด้วยกัน โดยโควิด-19 จะทำให้ไทยก้าวขึ้นมาโดเด่นใน 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร และการแพทย์ จะทำให้ฐานรากของเศรษฐกิจไทยเข้มแข็งจากสิ่งที่มีอยู่

ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากโควิด-19 ก็คือการจ้างงาน ตัวเลขสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงให้เห็นว่ามีบัณฑิตรอตกงานอยู่ 5 แสนคน ในปีที่ผ่านมาได้ผลักดันงบประมาณจ้างงานโครงการยุวชนสร้างชาติ 1 แสนคน แต่กว่าจะได้งบจ้างงานได้ไม่ถึง 5 หมื่นคน ในช่วงโควิด-19 กระทรวงอว. ได้มองว่าควรจะจ้าง 3 แสนคนเป็นอย่างน้อย โดยแต่เดิมบัณฑิตที่จะออกมา 70% จะมีงานทำ อีก 30% จะหางานได้ภายใน 1-3 ปี 

“แต่จากโควิด-19 ทำให้กลับกันทำให้ 70-80% ของบัณฑิต ไม่มีงานทำ ตรงนี้น่ากลัวมากบวกกับของเดิมที่ค้างคาอยู่อีก 5 แสนคน และบัณฑิตที่ต้องตกงานออกมาอีกรวมกันเป็นล้านคน”

อย่างไรก็ตาม โครงการยังไม่เข้า ครม. เลย สิ่งแรกเลยรัฐบาลจะต้องสร้างงานให้กับคนเหล่านี้ ซึ่งบุคลากรเหล่านี้เป็นต้นทุนของชาติ โดยงบ 4 แสนล้านบาท จะต้องนำส่วนหนึ่งมาจ้างงานบัณฑิตเหล่านี้ 12 เดือน นี้จะต้องทำควบคู่ไปกับการรีสกิล และอัพสกิล ไม่ใช่แค่โปรยแจกงาน ต้องให้มหาวิทยาลัยทั้งประเทศเป็นผู้จ้างงานโดยเอาโจทย์ของชุมชนมาให้บัณฑิตลงพื้นที่ของตัวเอง เพื่อให้มีงานทำในพื้นที่ของตัวเอง และจะใน 12 เดือนนี้ จะต้องมี 2 เดือน เทรนในเรื่องที่จำเป็นต่างๆในโลกยุคใหม่ ต้องตอบโจทย์ทั้งระยะสั้นและยาว

สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ก่อนที่จะเกิดโควิด-19 รัฐบาลได้ตั้งนโยบาย 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย แต่หลังจากเกิดโควิด-19 ทุกอย่างต้องเปลี่ยนไป โดยจะต้องลดอุตสาหกรรมเป้าหมายลง และหันมาเน้นอุตสาหกรรมที่ไทยเข้มแข็งและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติสูงสุด   ดังนั้นจึงได้ผลักดันนโยบาย บีซีจี ซึ่งจะลดอุตสาหกรรมเป้าหมายลงเหลือ 5 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ การแพทย์ครบวงจร และการท่องเที่ยว บูรณาการเข้าด้วยกัน โดยโควิด-19 จะทำให้ไทยก้าวขึ้นมาโดเด่นใน 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร และการแพทย์ จะทำให้ฐานรากของเศรษฐกิจไทยเข้มแข็งจากสิ่งที่มีอยู่

ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากโควิด-19 ก็คือการจ้างงาน ตัวเลขสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงให้เห็นว่ามีบัณฑิตรอตกงานอยู่ 5 แสนคน ในปีที่ผ่านมาได้ผลักดันงบประมาณจ้างงานโครงการยุวชนสร้างชาติ 1 แสนคน แต่กว่าจะได้งบจ้างงานได้ไม่ถึง 5 หมื่นคน ในช่วงโควิด-19 กระทรวงอว. ได้มองว่าควรจะจ้าง 3 แสนคนเป็นอย่างน้อย โดยแต่เดิมบัณฑิตที่จะออกมา 70% จะมีงานทำ อีก 30% จะหางานได้ภายใน 1-3 ปี 

“แต่จากโควิด-19 ทำให้กลับกันทำให้ 70-80% ของบัณฑิต ไม่มีงานทำ ตรงนี้น่ากลัวมากบวกกับของเดิมที่ค้างคาอยู่อีก 5 แสนคน และบัณฑิตที่ต้องตกงานออกมาอีกรวมกันเป็นล้านคน”

อย่างไรก็ตาม โครงการยังไม่เข้า ครม. เลย สิ่งแรกเลยรัฐบาลจะต้องสร้างงานให้กับคนเหล่านี้ ซึ่งบุคลากรเหล่านี้เป็นต้นทุนของชาติ โดยงบ 4 แสนล้านบาท จะต้องนำส่วนหนึ่งมาจ้างงานบัณฑิตเหล่านี้ 12 เดือน นี้จะต้องทำควบคู่ไปกับการรีสกิล และอัพสกิล ไม่ใช่แค่โปรยแจกงาน ต้องให้มหาวิทยาลัยทั้งประเทศเป็นผู้จ้างงานโดยเอาโจทย์ของชุมชนมาให้บัณฑิตลงพื้นที่ของตัวเอง เพื่อให้มีงานทำในพื้นที่ของตัวเอง และจะใน 12 เดือนนี้ จะต้องมี 2 เดือน เทรนในเรื่องที่จำเป็นต่างๆในโลกยุคใหม่ ต้องตอบโจทย์ทั้งระยะสั้นและยาว

SOURCE : www.bangkokbiznews.com