ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงฉุกเฉิน (Emergency rate cut) 50 bps จากแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยในวันที่ 3 มีนาคม 2020 Fed ได้ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินนอกวาระการประชุมปกติ ซึ่งคณะกรรมการ FOMC มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 bps จากกรอบ 1.75%-1.50% มาอยู่ที่กรอบ 1.25%-1.00% เนื่องจาก

  1. เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้า โดยการแพร่ระบาดของ COVID-19 มี แนวโน้มส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2020 ไม่สามารถขยายตัวได้ตามที่ Fed ประเมินไว้ก่อนหน้า (Fed ประเมินไว้ที่ 2.0% ในการประชุมเดือนธันวาคม 2019) นอกจากนี้ นาย Powell ได้กล่าวในงานแถลงข่าวว่า ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก และจะส่งผล กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงผลกระทบอาจขยายวงกว้างได้โดยล่าสุด ดัชนีผู้จัดการฝ่าย จัดซื้อภาคบริการของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 อยู่ที่ 49.4 ปรับลดลงจากเดือนก่อนที่ 53.4 (ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 สะท้อนถึงแนวโน้มการหดตัว) และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของสหรัฐฯ อยู่ที่ 50.7 ปรับลดลงจากเดือนก่อนที่ 51.9 (รูปที่ 1)
  2. Fed ต้องการผ่อนคลายภาวะการเงินในสหรัฐฯ จากที่เริ่มตึงตัวขึ้นมาก โดยก่อนที่ Fed จะลดดอกเบี้ย นโยบาย ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (S&P500) ปรับลดลง 4.4% นับจากต้นปี 2020 ขณะที่ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ สหรัฐปรับแข็งค่าขึ้นราว 2.7% นอกจากนี้ ความผันผวนทั้งในหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรปรับสูงขึ้นเช่นกัน ทำให้ภาวะการเงินโดยรวมปรับตึงตัวขึ้นค่อนข้างเร็ว โดยหลังจากที่ Fed ได้ออกมาส่งสัญญาณการปรับลด อัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์2020 ทำให้ผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 bps ในเดือนมีนาคมนี้ ดังนั้นหาก Fed ผ่อนคลายนโยบายการเงินน้อยกว่าที่ ตลาดคาดการณ์ก็อาจเป็นผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปรับลดลงมากขึ้นและเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ภาวะการเงินสหรัฐฯ ตึงตัวขึ้นได้อีก

เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้ จากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 ที่รุนแรงกว่าคาด

EIC ประเมินเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2020 จะเติบโตชะลอลงอยู่ที่ 1.3% เทียบกับ การประเมินในช่วงก่อนเหตุการณ์ไวรัสระบาดที่ 2.1% จากไวรัส COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งทางตรงจากการเริ่มแพร่ระบาดภายในประเทศ และทางอ้อมจากความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีน โดย EIC ได้พิจารณาผลกระทบเป็น 5 ช่องทางหลัก ดังนี้

  1. ช่องทางการส่งออกสินค้าไปจีน เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศของจีนชะลอตัวลง ทำให้การส่งออกสินค้าไปจีน ซึ่งคิดเป็น 13.5% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดของสหรัฐฯ ในปี 2019 มีแนวโน้มชะลอลงในช่วงครึ่งแรกของ ปี 2020
  2. ช่องทางรายได้จากนักท่องเที่ยวจีน หลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศมาตรการยกเลิกเส้นทางการบินสหรัฐฯ-จีน ชั่วคราว ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนซึ่งคิดเป็น 3.8% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดในปี 2018 หายไปในช่วงเวลาดังกล่าว
  3. ช่องทางห่วงโซ่อุปทานต่อผู้ผลิตสหรัฐฯ ไวรัส COVID-19 ทำให้โรงงานในจีนและประเทศอื่น ๆ ที่กำลังเผชิญกับ โรคระบาด ไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนส่งมายังโรงงานสหรัฐฯ ในระยะสั้น ทำให้เกิดการหยุดชะงักในการผลิต เพราะไม่สามารถหาชิ้นส่วนมาทำการผลิตทดแทนได้
  4. ช่องทางห่วงโซ่อุปทานต่อผู้ค้าปลีกสหรัฐฯ กำลังการผลิตที่ลดลงในจีนและอีกหลายประเทศจากผล ของไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้ค้าปลีกสหรัฐฯ ไม่สามารถนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายได้เพียงพอต่อความต้องการของ ผู้บริโภคภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการค้าปลีกที่ลดลง
  5. ช่องทางความเชื่อมั่นและการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากสหรัฐฯ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคสหรัฐฯ เริ่มวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภค ตัดสินใจชะลอการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยต่าง ๆ และส่งผลต่อการบริโภคภาคครัวเรือน ซึ่งมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของ เศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

EIC คาด Fed อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 1-2 ครั้ง (25 bps ต่อครั้ง) ในช่วงครึ่งแรกของปี เพื่อผ่อนคลายภาวะการเงิน พยุงภาวะเศรษฐกิจ และสร้างความเชื่อมั่นแก่ครัวเรือนและภาคธุรกิจ

การตอบรับของตลาดการเงินสะท้อนว่า การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในรอบนี้ยังไม่สามารถ ทำให้ภาวะการเงินสหรัฐฯ ผ่อนคลายลงมากนัก นอกจากนี้ตลาดยังคาดการณ์ว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม 25 bps ในรอบประชุมวันที่ 17-18 มีนาคม 2020 และอีก 25 bps ภายในเดือนมิถุนายน ปี2020 (รูปที่ 2) ดังนั้น EIC มองว่า Fed มีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจต่อไป และทำให้ ภาวะการเงินผ่อนคลายลงเพิ่มเติม อีกทั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ครัวเรือนและภาคธุรกิจ นอกจากนี้ EIC เชื่อว่า การสื่อสารของ Fed ในรายงาน FOMC ที่ระบุว่า Fed พร้อมจะใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม (act as appropriate) เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเป็นการส่งสัญญาณถึงการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมในระยะ ต่อไปได้

EIC คาด ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility Rate (DFR) 10 bps และ BOJ เข้าซื้อสินทรัพย์ ทางการเงินเพิ่มเติม

ส่วนธนาคารกลางประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคมีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพิ่มเติมเช่นกัน ดังนี้

  • ECB มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับ ECB (Deposit Facility Rate: DFR) จาก -0.5% เป็น -0.6% ต่อปี ในรอบประชุมวันที่ 12 มีนาคม 2020 จากเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับ ผลกระทบจาก COVID-19 ค่อนข้างมาก ผนวกกับการสื่อสารของนาง Lagarde ที่ระบุว่าก าลังติดตาม พัฒนาการการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างใกล้ชิด และพิจารณาถึงผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง อัตราเงินเฟ้อ และความสามารถในการส่งผ่านนโยบายการเงิน และยังสื่อสารอีกว่า ECB เตรียมพร้อมที่จะดำเนินนโยบายอย่างเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น (รูปที่ 2)
  • BOJ อาจเพิ่มการเข้าซื้อสินทรัพย์ ETF และปรับให้มีความยืดหยุ่นในการเข้าซื้อมากขึ้น โดยถ้อยคำแถลง ของนาย Kuroda ที่ระบุว่า BOJ จะติดตามพัฒนาการของ COVID-19 อย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาเสถียรภาพของ ตลาดการเงินและสนับสนุนสภาพคล่องผ่านธุรกรรมตลาดเงินและการเข้าซื้อสินทรัพย์การเงิน ทำให้ EIC มองว่า BOJ น่าจะยังคงแนวทาง (guidance) ของการเข้าซื้อสินทรัพย์ ETF ต่อปีที่ระดับ 6 ล้านล้านเยน ทั้งนี้การ เข้าซื้อ ETF น่าจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับลดลงรุนแรง (รูปที่ 2)
  • ธนาคารกลางประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเริ่มมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงเช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ร่วม ตลาดมองว่า ธนาคารกลางเหล่านี้อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกในระยะต่อไป โดยหลังจาก COVID-19 แพร่ระบาดไปในหลาย ๆ ประเทศ ธนาคารกลางหลาย ๆ แห่งต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลงในช่วงที่ผ่านมา อาทิ ฟิลิปปินส์(ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps มาอยู่ที่ 3.75% ต่อปี) มาเลเซีย (ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 2 ครั้ง 25 bps ต่อครั้ง มาอยู่ที่ 2.50% ต่อปี) และออสเตรเลีย (ปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps มาอยู่ที่ 0.50% ต่อปี) ซึ่งในระยะต่อไปตลาดคาดว่าธนาคารกลางในภูมิภาค ส่วนใหญ่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพิ่มเติม 

กนง. อาจลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 ครั้ง (25 bps) ภายในครึ่งแรกของปีโดยมีโอกาส สูงที่จะปรับลดในการประชุมเดือนมีนาคมนี้

        ด้วยความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ EIC มองว่า ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของทั้งไทยและโลกรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ซึ่งสะท้อนจากการที่ธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศต่างปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลง และดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายขึ้น

ซึ่งเศรษฐกิจโลกที่ชะลอ ลงมากกว่าที่คาด กระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านช่องทางการส่งออกและการท่องเที่ยวมีแนวโน้มรุนแรง กว่าที่ประเมินไว้เดิม นอกจากนี้ ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก (global supply chain) ยังรุนแรงกว่าที่ได้ ประเมินไว้ก่อนหน้าเช่นกัน โดยการปิดโรงงานการผลิตในจีนช่วงต้นปีส่งผลให้การนำเข้าสินค้าขั้นกลางบาง ชนิดจากจีนมายังไทยต้องชะงักลง (supply disruption) ในบางอุตสาหกรรม อีกทั้งสินค้าขั้นสุดท้ายของจีน ที่ไม่สามารถส่งออกไปต่างประเทศยังส่งผลต่อภาคการค้าปลีกของไทยด้วย ส าหรับความกังวลต่อสถานการณ์ การแพร่ระบาดภายในประเทศที่ยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนั้น EIC มองว่า อาจส่งผลต่อช่องทางการบริโภค และการลงทุนภายในประเทศมากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า

  • ด้วยเหตุนี้ กนง. จึงอาจจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพิ่มเติม เพื่อให้ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ต่อภาคเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำที่สุด โดย EIC มองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยเพิ่มสภาพคล่อง ให้แก่ระบบการเงินไทยได้บ้าง และช่วยเอื้อประโยชน์แก่ครัวเรือนที่มีความต้องการปรับโครงสร้างหนี้ โดย อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำจะช่วยให้ภาระการผ่อนชำระหนี้ต่อเดือนของครัวเรือนปรับลดลงได้ อีกทั้งการลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายยังเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและภาคธุรกิจต่อมุมมองเศรษฐกิจไทยในระยะ ต่อไปได้เช่นกัน
  • การใช้มาตรการด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากการลดอัตราดอกเบี้ยมีความจำเป็นมากขึ้น โดย EIC มองว่า การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายนี้อาจไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้มากนัก เนื่องจากการชะลอลงของ เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในรอบนี้ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาด้านอุปทาน (supply side) การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ใหม่ (new demand) อาจมีผลจำกัด ดังนั้นการใช้นโยบายการเงิน ร่วมกับการดำเนินมาตรการด้านอื่น ๆ เข้าช่วยจึงมีความจำเป็นมากขึ้น

 "กนง. อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อีกไม่มากนัก และจำเป็นต้อง พึ่งพาการดำ เนินนโยบายจากภาคส่วนอื่น ๆ ประกอบ จากความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินมี จำกัดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเวลาที่ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 0.75% ดังตามที่คาดไว้ โดยที่ผ่านมาภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เริ่มดำเนินนโยบายไปบ้างแล้ว"

          กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินทั้งเอกชนและรัฐ ต่างออกมาตรการ ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยกระทรวงการคลังได้ขยายระยะเวลายื่นแบบชำระภาษีเงินได้ ส่วนบุคคลธรรมดาออกไปถึงเดือนมิถุนายน 2020 และให้ธุรกิจโรงแรมสามารถลดหย่อนภาษีเงินได้เพิ่มเติม อีกทั้ง เตรียมจัดสรรงบประมาณสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวเพิ่มเติม ด้านสถาบันการเงินได้ออกมาตรการ ช่วยเหลือลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็น การพักชำระหนี้เงินต้น (ส่วนใหญ่ให้พักช าระหนี้สูงสุดไม่เกิน 12-18 เดือน ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ) และการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ภาคธุรกิจที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มเติมผ่านการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดยในกรณีของธนาคารออมสินได้เตรียมปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 1 แสนล้านบาทให้แก่ธนาคารพาณิชย์เพื่อนำไปปล่อยให้แก่ลูกค้าตนเองต่อไป สำหรับธนาคารแห่ง ประเทศไทยนั้น ล่าสุดได้ขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ในการปรับลดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมลง เพื่อเอื้อให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังมีการผ่อนผันเกณฑ์การปรับขั้น ลูกหนี้เสียเป็นลูกหนี้ปกติให้ง่ายขึ้นด้วย ต่างประเทศมีแนวโน้มหันมาใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นเช่นกัน โดยในกรณีของ สิงคโปร์ได้เพิ่มงบประมาณให้แก่กระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งออกมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจผ่านการลด ภาษีเงินได้นิติบุคคล อีกทั้งให้เงินช่วยเหลือแก่แรงงานที่มีค่าจ้างตและกลุ่มอาชีพอิสระเพื่อบรรเทาผลกระทบ จาก COVID-19 สำหรับฮ่องกงนั้น ได้ลดภาษีเงินเดือนของพนักงานและกำไรของภาคธุรกิจ และปล่อยสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำโดยรัฐบาลเข้ามาค้ำประกัน 100% อีกทั้งเตรียมอัดฉีดงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนภาคการ ท่องเที่ยวและโรงพยาบาล สำหรับประเทศจีนนั้น ภาครัฐได้ออกมาตรการลดภาษีแก่ภาคธุรกิจในพื้นที่ที่ได้รับ ผลกระทบจาก COVID-19 อีกทั้ง ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงิน 3 แสนล้านหยวน รวมถึงลดอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ (ทั้ง LPR และ MLF) และปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของสถาบันการเงิน (RRR) ลงเพื่อสนับสนุน เศรษฐกิจที่ชะลอลงรุนแรง ในระยะต่อไป EIC มองว่า ภาครัฐจะดำเนินมาตรการทางการคลังเพิ่มเติม เพื่อช่วยประคับประคองการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจไทยต่อไป

 "มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะออกมาในระยะถัดไปจะเน้น กระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ (เช่น การให้เงินช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นการบริโภค : cash handout) และการอัดฉีดสภาพคล่องผ่านการปล่อย สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารที่ได้รับผลกระทบจากการขาดหายไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือภาคอุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญกับการขาดหายของอุปทานสินค้าจากจีน เป็นต้น"