คำทับศัพท์ที่เราใช้กันบ่อยๆ ว่ากินคลีน ถ้าแปลตรงตัวก็แปลว่ากินอาหารสะอาด หรือที่คนทั่วไปใช้กันอาจหมายถึงกินอาหารเพื่อสุขภาพ หลายคนอาจะเข้าใจไปเองว่าคำตรงข้ามของคำว่ากิน clean คือกินอาหาร dirty กินอาหารที่สกปรกหรือทำลายสุขภาพ ซึ่งผมไม่เห็นด้วยเท่าไหร่นัก เพราะผมไม่เห็นว่าอาหารที่ไม่ใช่อาหารในหมวดคลีนอย่าง ข้าวขาว น้ำตาล เนื้อสัตว์ น้ำมัน ฯลฯ จะเป็นสิ่งเลวร้ายตรงไหน

ที่ผมอยากบอกก็คือ เราทุกคนควรเข้าใจในหลักการที่ว่า ‘ยา กับ พิษ ต่างกันแค่ปริมาณเท่านั้น’

ยกตัวอย่าง ของที่เราว่าดีอย่างน้ำเปล่า ถ้าดื่มมากๆ ก็ทำให้ตายได้ วิตามินที่มีประโยชน์ล้นเหลือ กินมากๆ ก็เป็นพิษต่อร่างกาย ข้าวไรซ์เบอร์รี่กินมากๆ ก็อ้วนได้เหมือนกัน บางคนชอบบอกว่ากินทุเรียนแล้วอ้วน ผมถามอีกที กินทุเรียนคำเดียวเม็ดเดียวทำให้อ้วนได้จริงไหม หรือที่บอกว่า กินข้าวขาหมูแล้วอ้วน ผมเป็นคนหนึ่งที่กินเกือบทุกวันแต่แคลอรี่รวมผมไม่เกิน จะเป็นอะไรหรือไม่ บางคนบอกห้ามกินน้ำตาล น้ำหวาน ไอศกรีม หรือขนมเลย แต่ถ้าคนที่วิ่งหรืออกกำลังกายเผาผลาญวันละหลายร้อยแคลอรี่ทุกวัน ร่างกายต้องการพลังงานที่ดูดซึมเร็วกลับไปชดเชยส่วนที่ใช้ไป ทำไมเราจะกินของหวานไม่ได

กินคลีนมากเกินไป ไม่ได้แปลว่าดี

บางคนคิดว่าอาหารที่ไม่จัดอยู่ในหมวดหมู่อาหารคลีนนั้นเป็นอาหารที่ไม่ดี จนเกิดภาวะที่เรียกว่า ‘Orthorexia nervosa’ หรือภาวะคลั่งกินคลีน ซึ่งคนที่เข้าข่ายนี้จะมีอาการผิดปกติ ได้แก่ รู้สึกผิดเมื่อกินอาหารปกติหรือจังก์ฟู้ด ย้ำคิดย้ำทำ ทำให้คนรอบข้างรู้สึกแย่ น้ำหนักตัวต่ำกว่าที่เหมาะสม เครียดจนกระทบกับชีวิตประจำวัน ทั้งๆ ที่แนวทางการบริโภคแบบสุดโต่งแบบต่างๆ หลายแนวทางไม่ได้มีผลทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ยืนยัน (ดังนั้น คนที่กินคลีนอยู่แล้วแต่ไม่มีภาวะนี้ก็ยินดีด้วยนะครับ)

ถ้าอธิบายแบบพุทธ คนที่มีอาการก็น่าจะเข้าข่าย ‘สีลัพพตปรามาส’ หมายถึง ความเห็นผิดว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตรที่เคร่งครัด หรือแม้การยึดถือในศีลและในวัตรที่งมงาย การยึดติดในรูปแบบพิธีรีตอง โดย

– ศีล เป็นหลักความประพฤติที่จำเป็นสำหรับชีวิตและสังคมระดับนั้นๆ เช่น เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากพูดปด เป็นศีลสำหรับคนทั่วไป จำเป็นสำหรับสังคมสามัญที่จะอยู่โดยสงบสุข

– วัตร เป็นข้อปฏิบัติที่ช่วยเสริมการดำรงอยู่ในศีล และข้อปฏิบัติอื่นๆ ให้มั่นคงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เช่น พระภิกษุที่ถือวัตรไม่พูดตลอดพรรษาก็ตัดโอกาสที่จะพูดเท็จตลอดจนพูดจาไม่ดีไม่งามอย่างอื่นออกไปจนหมด

วัตถุประสงค์ของการที่ศาสนาพุทธต้องมี 2 อย่างนี้ก็เพื่อส่งเสริมความมักน้อย สันโดษ เคร่งครัด อยู่อย่างสงัด ขัดเกลากิเลส ถ้าผู้ที่ถือปฎิบัตรเห็นว่าตนเป็นผู้ลุ่มหลงในด้านใดเป็นพิเศษ จึงเจาะจงเพื่อกำราบในด้านนั้น เช่น เห็นแก่กิน ติดความอร่อย จึงถือวัตรว่าจะกินวันมื้อ มื้อละจาน ก็เป็นที่น่าชื่นชมที่รู้จักแก้ไขตนเอง แต่ไม่ได้เป็นเครื่องวัดว่าเราดีกว่าใคร ใกล้การบรรลุธรรมกว่าใคร คนที่เคร่งวัตรมากเกินไป พระพุทธเจ้าก็หาได้ยกย่องไม่ กลับตำหนิว่าเป็นการอยู่อย่างแพะแกะสัตว์เลี้ยง ทรงห้ามไม่ให้ปฏิบัติ ไม่งั้นพุทธศาสนาคงมีโยคีทำตัวแปลกๆ มีข้อห้ามเต็มไปหมด

นี่จึงเป็นข้ออันพึงระลึกสำหรับคนที่นิยมเคร่งครัดเข้มงวดจนหลงงมงาย สักว่ายิ่งเคร่งครัดยิ่งดี จนไม่รู้ความหมายว่าทำไปเพื่ออะไร บางคนเคร่งกินคลีนมาก มองอาหารอื่นเป็นสิ่งที่แย่ไปหมด ใครกินจังก์ฟู้ดก็ไปเที่ยวดูถูก หรือแม้กระทั่งตำหนิตนเองเวลากิน ทำให้ตนเองเกิดความทุกข์โดยไม่รู้ตัว

การไปตีตราสิ่งอื่นที่ตัวเองคิดว่าไม่ดีว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย ก็คงเหมือนประเด็นที่คุณหมอที่ออกมาตำหนิพ่อแม่ที่ให้เด็กเล่นเกมส์ ทั้งๆ ที่ถ้าให้เล่นแต่พอดีก็มีประโยชน์เยอะแยะ แถมเป็นการฝึกให้มีวินัย มีภูมิต้านทานต่อสิ่งที่ยั่วยวนได้อีก เช่นเดียวกัน ถ้าคุณมีลูกคุณจะห้ามลูกกินขนมหรือน้ำหวาน ตลอดชีวิตได้หรือไม่ แล้วตัวคุณเองจะทำได้ตลอดชีวิตไหม และจะทำไปเพื่ออะไร ควรตอบตนเองได้นะครับ

สิ่งสำคัญกว่า Eat clean คือ Eat right

ยืนยันอีกครั้ง ใครกินคลีนแล้วมีความสุขผมก็ยินดีด้วย แต่ถ้ากินคลีนแล้วรู้สึกทุกข์ก็ปรับเปลี่ยนเสียหน่อย ส่วนใครยังมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว สุขภาพ ก็ควรปรับปรุงพฤติกรรมการกินให้ดีขึ้นเพราะสิ่งสำคัญกว่า Eat clean ก็คือ Eat right ซึ่งสิ่งจำเป็นที่คุณควรรู้ก็คือ ตนเองควรกินวันละกี่แคลอรี่ เป็นโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตอย่างละกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องกินผัก ผลไม้วันละเท่าไร หรือการกินที่ถูกสุขลักษณะเป็นอย่างไร ถ้ายังตอบคำถามง่ายๆ นี้ไม่ได้ก็ควรศึกษาเพิ่มเติมนะครับ

สุดท้ายเราเองต้องลองทบทวนดูว่าทำไมคนสุขภาพดีและหุ่นดีมากมาย สามารถกินได้อย่างมีความสุข เพราะถ้าเราออกกำลังกายมากขึ้นเราก็มีโควต้าการกินที่มากขึ้น กินแต่พอดี ไม่ได้มีอาหารอะไรเลวร้ายถึงขนาดเป็นยาพิษ เพราะทุกสิ่งประกอบด้วยหลายปัจจัย การจะมีสุขภาพที่ดี ควรหาจุดสมดุลของการกิน การออกกำลังกาย และความสุขในชีวิตให้เจอกันนะครับที่มา : โค้ชเป้ง www.greenery.org

คำทับศัพท์ที่เราใช้กันบ่อยๆ ว่ากินคลีน ถ้าแปลตรงตัวก็แปลว่ากินอาหารสะอาด หรือที่คนทั่วไปใช้กันอาจหมายถึงกินอาหารเพื่อสุขภาพ หลายคนอาจะเข้าใจไปเองว่าคำตรงข้ามของคำว่ากิน clean คือกินอาหาร dirty กินอาหารที่สกปรกหรือทำลายสุขภาพ ซึ่งผมไม่เห็นด้วยเท่าไหร่นัก เพราะผมไม่เห็นว่าอาหารที่ไม่ใช่อาหารในหมวดคลีนอย่าง ข้าวขาว น้ำตาล เนื้อสัตว์ น้ำมัน ฯลฯ จะเป็นสิ่งเลวร้ายตรงไหน

ที่ผมอยากบอกก็คือ เราทุกคนควรเข้าใจในหลักการที่ว่า ‘ยา กับ พิษ ต่างกันแค่ปริมาณเท่านั้น’

ยกตัวอย่าง ของที่เราว่าดีอย่างน้ำเปล่า ถ้าดื่มมากๆ ก็ทำให้ตายได้ วิตามินที่มีประโยชน์ล้นเหลือ กินมากๆ ก็เป็นพิษต่อร่างกาย ข้าวไรซ์เบอร์รี่กินมากๆ ก็อ้วนได้เหมือนกัน บางคนชอบบอกว่ากินทุเรียนแล้วอ้วน ผมถามอีกที กินทุเรียนคำเดียวเม็ดเดียวทำให้อ้วนได้จริงไหม หรือที่บอกว่า กินข้าวขาหมูแล้วอ้วน ผมเป็นคนหนึ่งที่กินเกือบทุกวันแต่แคลอรี่รวมผมไม่เกิน จะเป็นอะไรหรือไม่ บางคนบอกห้ามกินน้ำตาล น้ำหวาน ไอศกรีม หรือขนมเลย แต่ถ้าคนที่วิ่งหรืออกกำลังกายเผาผลาญวันละหลายร้อยแคลอรี่ทุกวัน ร่างกายต้องการพลังงานที่ดูดซึมเร็วกลับไปชดเชยส่วนที่ใช้ไป ทำไมเราจะกินของหวานไม่ได

กินคลีนมากเกินไป ไม่ได้แปลว่าดี

บางคนคิดว่าอาหารที่ไม่จัดอยู่ในหมวดหมู่อาหารคลีนนั้นเป็นอาหารที่ไม่ดี จนเกิดภาวะที่เรียกว่า ‘Orthorexia nervosa’ หรือภาวะคลั่งกินคลีน ซึ่งคนที่เข้าข่ายนี้จะมีอาการผิดปกติ ได้แก่ รู้สึกผิดเมื่อกินอาหารปกติหรือจังก์ฟู้ด ย้ำคิดย้ำทำ ทำให้คนรอบข้างรู้สึกแย่ น้ำหนักตัวต่ำกว่าที่เหมาะสม เครียดจนกระทบกับชีวิตประจำวัน ทั้งๆ ที่แนวทางการบริโภคแบบสุดโต่งแบบต่างๆ หลายแนวทางไม่ได้มีผลทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ยืนยัน (ดังนั้น คนที่กินคลีนอยู่แล้วแต่ไม่มีภาวะนี้ก็ยินดีด้วยนะครับ)

ถ้าอธิบายแบบพุทธ คนที่มีอาการก็น่าจะเข้าข่าย ‘สีลัพพตปรามาส’ หมายถึง ความเห็นผิดว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตรที่เคร่งครัด หรือแม้การยึดถือในศีลและในวัตรที่งมงาย การยึดติดในรูปแบบพิธีรีตอง โดย

– ศีล เป็นหลักความประพฤติที่จำเป็นสำหรับชีวิตและสังคมระดับนั้นๆ เช่น เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากพูดปด เป็นศีลสำหรับคนทั่วไป จำเป็นสำหรับสังคมสามัญที่จะอยู่โดยสงบสุข

– วัตร เป็นข้อปฏิบัติที่ช่วยเสริมการดำรงอยู่ในศีล และข้อปฏิบัติอื่นๆ ให้มั่นคงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เช่น พระภิกษุที่ถือวัตรไม่พูดตลอดพรรษาก็ตัดโอกาสที่จะพูดเท็จตลอดจนพูดจาไม่ดีไม่งามอย่างอื่นออกไปจนหมด

วัตถุประสงค์ของการที่ศาสนาพุทธต้องมี 2 อย่างนี้ก็เพื่อส่งเสริมความมักน้อย สันโดษ เคร่งครัด อยู่อย่างสงัด ขัดเกลากิเลส ถ้าผู้ที่ถือปฎิบัตรเห็นว่าตนเป็นผู้ลุ่มหลงในด้านใดเป็นพิเศษ จึงเจาะจงเพื่อกำราบในด้านนั้น เช่น เห็นแก่กิน ติดความอร่อย จึงถือวัตรว่าจะกินวันมื้อ มื้อละจาน ก็เป็นที่น่าชื่นชมที่รู้จักแก้ไขตนเอง แต่ไม่ได้เป็นเครื่องวัดว่าเราดีกว่าใคร ใกล้การบรรลุธรรมกว่าใคร คนที่เคร่งวัตรมากเกินไป พระพุทธเจ้าก็หาได้ยกย่องไม่ กลับตำหนิว่าเป็นการอยู่อย่างแพะแกะสัตว์เลี้ยง ทรงห้ามไม่ให้ปฏิบัติ ไม่งั้นพุทธศาสนาคงมีโยคีทำตัวแปลกๆ มีข้อห้ามเต็มไปหมด

นี่จึงเป็นข้ออันพึงระลึกสำหรับคนที่นิยมเคร่งครัดเข้มงวดจนหลงงมงาย สักว่ายิ่งเคร่งครัดยิ่งดี จนไม่รู้ความหมายว่าทำไปเพื่ออะไร บางคนเคร่งกินคลีนมาก มองอาหารอื่นเป็นสิ่งที่แย่ไปหมด ใครกินจังก์ฟู้ดก็ไปเที่ยวดูถูก หรือแม้กระทั่งตำหนิตนเองเวลากิน ทำให้ตนเองเกิดความทุกข์โดยไม่รู้ตัว

การไปตีตราสิ่งอื่นที่ตัวเองคิดว่าไม่ดีว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย ก็คงเหมือนประเด็นที่คุณหมอที่ออกมาตำหนิพ่อแม่ที่ให้เด็กเล่นเกมส์ ทั้งๆ ที่ถ้าให้เล่นแต่พอดีก็มีประโยชน์เยอะแยะ แถมเป็นการฝึกให้มีวินัย มีภูมิต้านทานต่อสิ่งที่ยั่วยวนได้อีก เช่นเดียวกัน ถ้าคุณมีลูกคุณจะห้ามลูกกินขนมหรือน้ำหวาน ตลอดชีวิตได้หรือไม่ แล้วตัวคุณเองจะทำได้ตลอดชีวิตไหม และจะทำไปเพื่ออะไร ควรตอบตนเองได้นะครับ

สิ่งสำคัญกว่า Eat clean คือ Eat right

ยืนยันอีกครั้ง ใครกินคลีนแล้วมีความสุขผมก็ยินดีด้วย แต่ถ้ากินคลีนแล้วรู้สึกทุกข์ก็ปรับเปลี่ยนเสียหน่อย ส่วนใครยังมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว สุขภาพ ก็ควรปรับปรุงพฤติกรรมการกินให้ดีขึ้นเพราะสิ่งสำคัญกว่า Eat clean ก็คือ Eat right ซึ่งสิ่งจำเป็นที่คุณควรรู้ก็คือ ตนเองควรกินวันละกี่แคลอรี่ เป็นโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตอย่างละกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องกินผัก ผลไม้วันละเท่าไร หรือการกินที่ถูกสุขลักษณะเป็นอย่างไร ถ้ายังตอบคำถามง่ายๆ นี้ไม่ได้ก็ควรศึกษาเพิ่มเติมนะครับ

สุดท้ายเราเองต้องลองทบทวนดูว่าทำไมคนสุขภาพดีและหุ่นดีมากมาย สามารถกินได้อย่างมีความสุข เพราะถ้าเราออกกำลังกายมากขึ้นเราก็มีโควต้าการกินที่มากขึ้น กินแต่พอดี ไม่ได้มีอาหารอะไรเลวร้ายถึงขนาดเป็นยาพิษ เพราะทุกสิ่งประกอบด้วยหลายปัจจัย การจะมีสุขภาพที่ดี ควรหาจุดสมดุลของการกิน การออกกำลังกาย และความสุขในชีวิตให้เจอกันนะครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  www.thaihealth.or.th