นับจากโลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จนเข้ามาถึงอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและระบบดิจิตอล นโยบายและแผนพัฒนาของประเทศต่างๆทั่วโลกก็ได้มีการปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสการพัฒนานี้ โดยเมืองที่ได้รับยกย่องให้เป็น Smart City อันดับหนึ่งของโลกในตอนนี้ คือ ‘กรุงเวียนนา’ ประเทศออสเตรีย ซึ่งได้มีการประกาศแผนการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิด Smart City มาตั้งแต่ปี 2001 และจะทำให้สำเร็จในปี 2050 นับเป็นเมืองแรกๆของโลกที่ริเริ่มการพัฒนาเมืองในรูปแบบของ 4.0 อย่างจริงจัง

Smart City Wien

            ชื่อของโครงการพัฒนาเมืองคือชื่อ Smart City Wien ที่ริเริ่มโดยนายกเทศมนตรีประจำกรุงเวียนนา Dr.Michael Haupl และทำงานร่วมกับ Maria Vassilakou ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนเมือง, ระบบคมนาคม, การออกแบบเมืองตามสภาพอากาศ, พลังงาน และการมีส่วนร่วมในเมือง โดยแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะเวียนนา มีการวางแผนตั้งแต่ ระยะสั้น (Action Plan for 2012-2015) ระยะกลาง (Raodmap for 2020 and Beyond) และระยะยาว (Smart Energy Vision 2050) ที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงเมืองอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในด้าน การคมนาคม, การสาธารณสุข และที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งนับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของประชากรเมือง และเป็นสิ่งที่หากเกิดขึ้นแล้วจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก โดยแผนพัฒนาเมืองเวียนนา อยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ 3 ด้าน ได้แก่

ด้านทรัพยากร 4 ด้าน

  • พลังงาน – ลดอัตราการใช้พลังงานต่อประชากรลงร้อยละ 40 และเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2050
  • คมนาคม – ลดสัดส่วนการเดินทางโดยพาหนะส่วนตัวให้ต่ำกว่าร้อยละ 15 สนับสนุนการเดินเท้าและการใช้จักรยาน
  • อาคาร – กำหนดมาตรฐานการใช้พลังงานในตึกสร้างใหม่ ให้เป็น zero-energy
  • ด้านโครงสร้างพื้นฐาน – รักษามาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานระดับสูงของเวียนนา

แรงขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม 3 ด้าน

  • การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม – ผลักดันให้เวียนนาเป็นหนึ่งในห้าศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรป ภายในปี ค.ศ. 2050
  • เศรษฐกิจ – ผลักดันให้เวียนนาเป็นหนึ่งในสิบภูมิภาคของสหภาพยุโรปที่มีศักยภาพในการซื้อสูง (purchasing power based on per-capita GDP) และเป็นเมืองที่บริษัทต่างๆ และบริษัทข้ามชาติให้ความสนใจมาตั้งสำนักงานใหญ่สำหรับเขตยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้
  • การศึกษา – มีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูง มีการสนับสนุนให้วัยรุ่นศึกษาต่อจากระดับการศึกษาภาคบังคับ

แรงขับเคลื่อนด้านคุณภาพชีวิต 3 ประการ

  • การมีส่วนร่วมในสังคม – ประชากรในเวียนนามีสุขภาพจิตและชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย โดยไม่ขึ้นอยู่กับปูมหลัง สภาพร่างกาย จิตใจ รสนิยมทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ
  • ด้านสุขภาพ – มีการดูแลด้านการแพทย์ที่สูง
  • ด้านสิ่งแวดล้อม – มีอัตราส่วนของพื้นที่สีเขียวกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด

หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนา นั่นก็คือ Big Data โดยสำหรับเมืองวียนนา มีการรวบรวม big data จากการใช้บริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานของประชาชน เช่น ปริมาณผู้ใช้และพฤติกรรมการใช้ขนส่งมวลชน เป็นต้น โดยข้อมูลของผู้ใช้บริการโ๕รงสร้างพื้นฐานของรัฐ จะถูกรวบรวมและแบ่งแยกชั้นข้อมูล เพื่อนำไปสู่การสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง (Co-create) และสร้างข้อมูลเชิงลึก (Indept Data) เพื่อใช้ในการพัฒนาเมืองต่อไป

Yothi Innovation District

            ปัจจุบันเมืองใหญ่ทั่วโลกกว่า 80 เมือง ได้ประกาศเรื่องการสร้างย่านนวัตกรรม เช่น บาร์เซโลน่า หรือบอสตัน เป็นต้น สำหรับกรุงเทพมหานคร ก็มีหน่วยงานที่กำลังพยายามผลักดันเรื่องการพัฒนาเมืองแบบสมัยใหม่อยู่เช่นดัน นั่นคือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA (National Innovation Agency) ซึ่งมีแนวคิดการพัฒนาย่านนวัตกรรมในพื้นที่ย่านโยธี ที่ดึงจุดเด่นของย่านจากการเป็นศูนย์รวมสถาบันทางการแพทย์จำนวน 13 แห่ง เตียงผู้ป่วย 7,000 เตียง และผู้ป่วยนอกกว่า 8,000 คนต่อวัน รวมไปถึงยังมีองค์กรที่ผบิตแพทย์บัณฑิต 3 แห่ง วิทยาลัยพยาบาล 2 แห่ง อีกทั้งยังมีอาคารอุยานนวัตกรรม ที่พร้อมต่อการเป็นศูนย์ขับเคลื่อนการดำเนินงาน อีกด้วย

สำหรับย่านนวัตกรรมโยธี จะครอบคลุมตั้งแต่ช่วงสถานีบีทีเอสวงเวียนใหญ่-บีทีเอสสะพานตากสิน-บีทีเอสสยาม-บีทีเอสอนุสาวรีย์ ซึ่งมุ่งหวังให้เกิดการเป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการเมือง บริการด้านการแพทย์ และการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังเป็นย่านที่มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนทำงานในย่านนวัตกรรม

โดยล่าสุดได้มีการประกวดออกแบบย่านนวัตกรรมในชื่อ INNOVATION DISTRICT DESIGN CONTEST : Medical & Health Innovation Hub ซึ่งมีนักออกแบบให้ความสนใจและร่วมส่งผลงานเป็นจำนวนมาก (คลิกเพื่อติดตามรายละเอียด)

            สำหรับการดำเนินงานย่านนวัตกรรมโยธีและการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ ยังมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่สนใจสามารถติดตามได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ