การ ออมเงิน ถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่หากออมมากจนเกินไป ไม่สนใจสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเรานั้น คงไม่ดีแน่ๆ และวันนี้เราก็จะมาว่าถึงเรื่อง ออมเงิน ยังไงไม่ให้กระทบรายจ่ายกัน ส่วนนี้หลายๆ คนอาจจะ งง ว่าเงินออมจะไปกระทบรายจ่ายได้อย่างไรในเมื่อเป็นเงินคนละส่วนกัน ส่วนรายจ่ายที่ว่านี้ก็คือ “รายจ่ายในการใช้ชีวิตประจำวัน” ซึ่งไม่ว่าใครก็จะต้องมีรายจ่ายส่วนนี้อย่างแน่นอน แต่จะเกี่ยวข้องกันยังไงตามไปดูกัน


รายจ่ายในการใช้ชีวิตประจำวัน ของเราก็เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้คือค่าใช้จ่ายนี้เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถประหยัดได้ เช่น เราจะไม่กินข้าวเพื่อเอาเงินไปเก็บได้ไหมครับ? เราทำไม่ได้ใช่ไหมครับ เพราะร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำไปเป็นพลังงาน แต่ที่เราทำได้คือ กินข้าวอย่างประหยัด เพื่อนำเงินที่เหลือไปเก็บ ออมเงิน ซึ่งเมื่อพูดมาถึงตรงนี้หลายๆ คนอาจจะเคยอ่านเคล็ดลับการ ออมเงิน ต่างๆ กันมาบ้างแล้วว่าเราควรออมเท่านั้นเท่านี้ เพื่อที่จะได้มีเงินเก็บเยอะๆ แต่เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเก็บออมตามที่บอกแล้วเราไม่รู้สึกว่ามันเหมาะกับเรา แต่กลับสร้างความทุกข์ให้เราแทนที่จะมีความสุขที่ได้เก็บออมซะอีก นั่นก็เพราะว่าการออมเงินของเรานั้นส่งผลกระทบการใช้ชีวิตของเรานั่นเอง ซึ่งนอกจากจะทำให้เราอึดอัดแล้ว ยังอาจจะส่งผลให้เราทนไม่ไหวจนเลิกล้มการออมไปเลยก็เป็นได้ วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับการ ออมเงิน ไม่ให้กระทบกับการใช้ชีวิตของเรามาบอกกัน ดังนี้


ดูภาระรายจ่ายจำเป็นก่อนการออม


ข้อนี้ดูเหมือนว่าจะสวนทางกลับเคล็ดลับ “ออมก่อนจ่าย” แต่ในความเป็นจริงแล้วถือว่าสอดคล้องกันซะมากกว่า เพราะเราแค่เพียงคำนวณรายจ่ายจำเป็นก่อนการแบ่งเงินไปออมนั่นเอง ยังไม่ได้มีการใช้จ่ายเงินออกไปแต่อย่างใด ที่ต้องคำนวณรายจ่ายจำเป็นก่อนก็เพราะว่า เราแต่ละคนนั้นมีรายจ่ายจำเป็นแตกต่างกัน จึงทำให้เงินที่จะนำไปเก็บ ออมเงิน ได้นั้นต่างกัน จากนั้นจึงค่อยนำเงินส่วนที่เหลือมาจัดแบ่งกันตามสัดส่วน โดยส่วนของเงินออมก็จะเห็นได้ชัดขึ้นว่าจะสามารถเก็บออมได้เท่าไหร่โดยที่ไม่กระทบต่อรายจ่ายจำเป็น


ตัวอย่าง


เงินเดือน 20,000 บาท มีรายจ่ายค่าบัตรเครดิต 2,000 บาท ค่าน้ำค่าไฟ 1,500 บาท ค่าใช้ชีวิตประจำวันในเดือน 4,000 บาท ค่ารถไปทำงานเดือนละ 2,000 บาท


รวมค่าใช้จ่ายจำเป็นทั้งหมดจะเท่ากับ 2,000 + 1,500 + 4,000 + 2,000 = 9,500 บาท
เงินเดือนหลังหักค่าใช้จ่ายจำเป็นจะเท่ากับ 20,000 – 9,500 = 10,500 บาท ซึ่งส่วนนี้คือเงินที่เราสามารถนำไปออมได้โดยไม่กระทบกับรายจ่ายจำเป็นของเรา ซึ่งทีนี้แหล่ะที่เราจะสามารถเลือกเก็บออมได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น เคล็ดลับ ออมเงิน 1 ใน 4 หรือ 40% หรือเก็บหมดเลยก็ได้ตามแต่เราจะพอใจ

โดยยกตัวอย่าง จากเงิน 10,500 บาทที่มี แบ่ง ออมเงิน ไป 8,000 บาท (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วเงินออมจะอยู่ที่ 40% ของเงินเดือนแบบไม่หักค่าใช้จ่ายจำเป็นก่อน) ส่วนอีก 1,500 บาท นั้นเก็บไว้สำรองใช้ในกรณีฉุกเฉินเช่น ป่วยต้องหาหมอ เป็นต้น ส่วนอีก 1,000 บาท เก็บไว้เป็นทุนเสริมความรู้ให้ตัวเองรวมถึงอาจจะเก็บไว้ไปปาร์ตี้กับเพื่อนๆ ก็ได้ครับ


Tip


ว่าด้วยสัดส่วนในการ ออมเงิน จากเงินเดือนนั้น มีเคล็ดลับอยู่มากมาย แต่หลักๆ ที่แนะนำกันมี 2 แบบคือ
1. ออมเงิน 1 ใน 4 ของเงินเดือน
2. ออมเงินอย่างน้อย 40% ของเงินเดือน


โดยทั้ง 2 แบบนี้เป็นนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ค่อยกระทบต่อการใช้ชีวิตเราเท่าไหร่ ยกเว้นแต่คนที่มีหนี้เยอะๆ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตร หรืออื่นๆ แนะนำว่าควรจะรีบปิดหนี้ให้ไวที่สุดก่อน อย่าพึ่งนึกถึงเงินออม แต่ให้เก็บส่วนสำหรับใช้จ่ายฉุกเฉินไว้บ้างก็พอ เพราะหากเรายังเป็นหนี้ต่อไป ต่อให้มีเงินเก็บก็ไม่คุ้มเพราะดอกเบี้ยจากหนี้นั้นนับวันจะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง


จะเห็นได้ว่า การดูภาระรายจ่ายจำเป็นแล้วจึงค่อย ออมเงิน นั้น ไม่ได้มีเป้าหมายที่ว่าจะออมได้เยอะหรือน้อย แต่เป็นหาจุดที่เราสามารถ ออมเงิน ได้โดยไม่กระทบกับการรายจ่ายจำเป็นและการใช้ชีวิต

ขอบคุณข้อมูล จาก :MoneyGuru.co.th