เมื่อ 30 ปีก่อน มีโครงการจัดสรรแห่งหนึ่งของ HOMEPLACE เกิดขึ้นบนถนนรามคำแหง ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อความเจริญตัวเมืองขยายวงสู่พื้นที่ชานเมืองรอบนอก พื้นที่ฝั่งตะวันออกจึงถูกพัฒนาเพื่อรองรับการพักอาศัยของคนกรุงเทพ เกิดโครงการจัดสรรมากมายหลายแบรนด์เล็กใหญ่ HOMEPLACE เป็นหนึ่งผู้ประกอบอสังหา คว่ำหวอดในวงการบ้านจัดสรรกว่า 30ปี เขาเล็งเห็น พื้นที่ศักยภาพใดใน ฝั่งตะวันออก นี้ ?

             “ ร่มเกล้า-สุวรรณภูมิ ” ชานเมืองเนื้อหอมฝั่งตะวันออก พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตของคนทุกวัย เช่น สถานศึกษา สถานที่ทำงาน โรงพยาบาล แหล่งชอปปิ้ง เป็นต้น ไม่ต้องห่วงเรื่องคมนาคมสัญจร นอกจากถนนหนทางครอบคลุมทั่วพื้นที่แล้ว หลากหลายโครงการลงทุนภาครัฐ กำลังเกิดขึ้นในย่านนี้ด้วยเช่นกัน อาทิ การตัดถนนลดปัญหารถติด , โครงการรถไฟฟ้า หรือ การขยายเฟสสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมความเป็น “ย่านที่อยู่อาศัยชานเมืองตะวันออก” ได้อย่างแท้จริง

           “ 2 ทางด่วน 2 สายรถไฟฟ้า 1สนามบิน ” 

           การเดินทางในย่านนี้เป็นเรื่องสบายมาก คนพักอาศัยย่านนี้จะใช้ ถนนรามคำแหง และ 2 ทางด่วน เป็นเส้นทางหลักในการสัญจรเข้า-ออกเมือง นั้นคือ ถนนกรุงเทพ–ชลบุรีสายใหม่ (มอเตอร์เวย์) เชื่อมต่อไปยังทางด่วนศรีรัช และ วงแหวนรอบนอก (กาญจนาภิเษก)
           ส่วนการเดินทางภายในพื้นที่ ถนนเคหะร่มเกล้า เชื่อมต่อกับถนนร่มเกล้า หากมาทางถนนรามคำแหงหรือถนนกาญจนาจะใช้ ถนนราษฎร์พัฒนา(ซอยมีสทีน)เป็นหลัก ส่วน ถนนพัฒนาชนบท 3 รอบรับคนทางถนนมอเตอร์เวย์ และวิ่งตัดสู่ถนนร่มเกล้าได้เช่นกัน

            นอกจากปัจจุบันจะมีถนนครอบคลุมพื้นที่แล้ว “ร่มเกล้า-สุวรรณภูมิ” ยังมีการตัดถนน “โครงการถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า” คาดว่าจะเปิดใช้ปลายปี 2560 นี้ ส่วนใครที่เดินทางโดยสารรถไฟฟ้า นอกจาก รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ( Airport Rail Link) ที่เปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2553 รออีกหน่อย 6ปีต่อจากนี้ “โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ -มีนบุรี) ” คาดว่าจะเปิดบริการปี 2566 นอกจากนี้ “โครงการสุวรรณภูมิ เฟส 2” ขั้นตอนการประกวดราคาคาดว่าจะครบทุกสัญญาภายในปี 2560 นี้

         

            โครงการถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางช่วงเร่งด่วนได้อย่างดี วงเงินลงทุนราว 5.5 พันล้านบาท ระยะทางกว่า 15 กม. แบ่งเป็น 7 ระยะ ซึ่งปัจจุบัน ณ เดือน กค. 2560 ดำเนินการไปแล้ว 70%-80% บางระยะค่อนข้างมีอุปสรรค ความคืบหน้าเฉลี่ยเพียง 20%-30% ทั้งนี้ คาดการณ์เปิดใช้งานก่อน ธ.ค. 2560 นี้

             โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครทางฝั่งตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน ระยะทาง 38.7 กิโลเมตร รวม 29 สถานี แบ่งเป็น ช่วงตะวันตก โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ขณะนี้อยู่ระหว่างเวนคืนที่ดิน ช่วงตะวันออก โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ -มีนบุรี) เปิดประมูลไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปลายปี 2559 จำนวน 6 สัญญา รวม 7.92 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 22.57 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี คาดการณ์เปิดให้บริการ ม.ค.ปี 2566


            ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 ท่าอากาศยานไทย (AOT) ขยายสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบินได้มากขึ้นเป็น 98 เที่ยวบิน/ชั่วโมง (จากเดิม 68 เที่ยวบิน/ชั่วโมง) รองรับการใช้บริการของผู้โดยสาร 60 ล้านคนต่อปี (จากเดิมที่ 45 ล้านคนต่อปี ) ปัจจุบันได้จัดการประกวดเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว 3 สัญญา ทั้งนี้ คาดว่า 4 สัญญาที่เหลือ จะเปิดการประกวดราคาภายในปี 2560 นี้

           “ สิ่งอำนวยความสะดวก ครบปัจจัย 4 ในการใช้ชีวิต ”

           ว่ากันตามตรง “ ร่มเกล้า-สุวรรณภูมิ ” ส่วนใหญ่เป็นย่านที่พักอาศัย ซึ่งแวดล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ตั้งอยู่ใน ย่านรามอินทรา ,ย่านรามคำแหง , ย่านศรีนครินทร์ และย่านบางนา ภายใต้รัศมี 10 กิโลเมตรโดยรอบ ครบทั้ง 4 ปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิต

          เริ่มต้นกันที่ “อาหารและเครื่องนุ่งห่ม” อย่าง สถานที่จับจ่ายใช้สอย จำนวนกว่า 28 แห่ง ทั้งประเภท ศูนย์การค้า (convenience store) เช่น แฟชั่นไอส์แลนด์ (รามอินทรา) , ซีคอนสแควร์ (ศรีนครินทร์) , เดอะมอลล์บางกะปิ (ลาดพร้าว) เป็นต้น ประเภท ห้างสรรพสินค้า จะมี Big C , โฮมโปร , เทสโก้ โลตัส ฯลฯ มักเกาะกลุ่มอยู่ใกล้กัน เช่น กลุ่มสุขาภิบาล 3 กลุ่มรามคำแหงตอนปลาย เป็นต้น หรือจะเป็น ตลาดสด ในซอยเคหะร่มเกล้า ตลาดสดเกรียงไกร , ตลาดกลางนครร่มเกล้า เป็นต้น รวมทั้ง คอมมูนิตี้มอลล์ แหล่งไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่อย่าง The Paseo Town รามคำแหง เป็นต้น

           ด้าน “ยารักษา” มองไปที่ โรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน ราว 7 แห่ง ใกล้สุดจะเป็น ย่านมีนบุรี เช่น โรงพยาบาลเสรีรักษ์ , โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 และ ย่านรามคำแหง เช่น โรงพยาบาลการุญเวช สุขาภิบาล 3, โรงพยาบาล รามคำแหง เป็นต้น รวมทั้ง โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (รามอินทรา) , โรงพยาบาล วิภาราม (ถนนพัฒนาการ) และ โรงพยาบาลสิรินธร (ถนนอ่อนนุช 90)


            แน่นอนว่า สถานศึกษา เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกที่อยู่อาศัย สำหรับครอบครัวที่มีลูกอยู่ในวัยศึกษา “ร่มเกล้า-สุวรรณภูมิ” แวดล้อมด้วยสถานศึกษาระดับประถมไปจนระดับมหาวิทยาลัย เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) , มหาวิทยาลัยรามคำแหง , มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขต ร่มเกล้า เป็นต้น โรงเรียนรัฐบาล ในพื้นที่จะเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า , โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง เป็นต้น ริมถนนร่มเกล้าก็มี โรงเรียนเอกชน เช่น โรงเรียนสารสาสน์วิเทศร่มเกล้า เป็นต้น รวมทั้ง โรงเรียนนานาชาติ เช่น โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศ , โรงเรียนนานาชาติ แอ๊ดเวนต์รามคำแหง , Ascot International School เป็นต้น

 

 

 “HOMEPLACE เป็นได้ทั้งบ้านพักอาศัย และออฟฟิศทำธุรกิจ ” 

           การพัฒนาโครงการจัดสรรย่าน “ร่มเกล้า-สุวรรณภูมิ” มักเป็นโครงการแนวราบ บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์หลากหลายแบรนด์เล็กใหญ่กระจายตัวทั่วพื้นที่ ขณะที่ อาคารพาณิชย์หรือโฮมออฟฟิศ มักอยู่ติดถนนใหญ่หรือถนนที่สามารถเข้าออกได้หลายทาง เช่น ถนนร่มเกล้า ถนนราษฎร์พัฒนา เป็นต้น ทาง HOMEPLACE เองมี 3 โครงการน่าสนใจ สำหรับประชากรชานเมืองฝั่งตะวันออก ด้วยเช่นกัน

          บ้านตอบสนองทุกโจทย์การใช้ชีวิต จากไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่มองว่า บ้านเป็นอะไรได้มากกว่าแค่การพักอาศัย ความน่าสนใจของ “โฮมเพลส เดอะ พาร์ค วงแหวน พระราม 9" คือ รูปแบบบ้านที่ออกแบบ “พื้นที่ทำงาน” เป็นสัดส่วนชัดเจนภายในบ้าน มีความเป็นส่วนตัวในการทำงาน พร้อมประตูบานเลื่อน สามารถเดินเข้าออกจากโรงจอดรถได้อย่างสะดวก รวมทั้ง “พื้นที่สีเขียว” ที่สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ได้จริง อีกด้วย



          บ้านเน้นพื้นที่ใช้สอย “พื้นที่ทำงาน” ถูกออกแบบบริเวณมุมหลังบ้านติดกับสวนหลังบ้าน ยืดหยุ่นต่อการปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามการใช้สอยประโยชน์อื่นๆ เช่น ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุเดินขึ้นลงบันไดลำบาก จำเป็นต้องมีพื้นที่ตั้งเตียงนอนสำหรับคุณตาคุณยายพักผ่อน เป็นต้น


         

           นอกจากความเป็นย่านที่อยู่อาศัยชานเมืองฝั่งตะวันออกแล้ว “ ร่มเกล้า-สุวรรณภูมิ ” ยังมีความเป็นชุมชนในตนเองสูงมาก สังเกตได้จากพื้นที่การค้าพาณิชย์ที่กระจุกตัวตามถนนสายสำคัญในย่านนี้

           ถนนราษฎร์พัฒนา เชื่อมต่อถนนหลัก 2 สาย คือ ถนนรามคำแหง และ ถนนกาญจนาภิเษก ประชากรเดินทางสัญจรเกิดความพลุกพล่านตลอดเวลา “ วิซีโอ รามคำแหง” เป็น อาคารพาณิชย์สูง 4 ชั้น หน้ากว้าง 4 เมตร พื้นที่ใช้สอย 210 ตารางเมตร เรียกว่าขนาดและตำแหน่งที่ตั้งพอเหมาะแก่การทำธุรกิจไม่น้อย



          ถัดมาเป็น ถนนเคหะร่มเกล้า มีความเป็นตลาดสด เช่น ตลาดสดเกรียงไกร ตลาดกลางนครร่มเกล้า และ Big C เคหะร่มเกล้า ตั้งอยู่ในบริเวณนี้ ด้วยเช่นกัน
          ไม่กล่าวคงไม่ได้ ถนนร่มเกล้า เส้นทางหลักเชื่อมต่อถนนรามคำแหงและถนนมอเตอร์เวย์ “ วิซีโอ ร่มเกล้า- สุวรรณภูมิ ” โครงการอาคารพาณิชย์และโฮมออฟฟิศ 3 ชั้น มีชั้นลอย หน้ากว้าง 5 เมตร บนพื้นที่กว่า 9 ไร่ โดย อาคารพาณิชย์ ทุกชั้นจะเป็นพื้นที่โล่ง ยืดหยุ่นแก่การใช้สอยประโยชน์ ขนาด 222 ตารางเมตร ส่วน โฮมออฟฟิศ พื้นที่ชั้น 3 ถูกออกแบบเป็นที่พักอาศัย ขนาด 2 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ พื้นที่ใช้สอย 250 ตารางเมตร จอดรถได้ 2 คัน นอกจากนี้ โครงการยังมีพื้นที่จอดรถกลางแจ้งรอบรับลูกค้าธุรกิจกว่า 140 คัน อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก www.homeplace.co.th