ทีมงาน TerraBKK Research ขอรายงานความเปลี่ยนแปลงของทำเลรังสิตอีกครั้งหนึ่ง เพราะทำเลนี้ เป็นทำเลที่ฮอตมากในปีนี้ เนื่องจากโครงการอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐและภาคเอกชน ต่างทยอยก่อสร้างกันอย่างคึกครื้น ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต และ รังสิต-ธรรมศาสตร์ การขยายท่าอากาศยายดอนเมืองเฟส 2 เพื่อให้สนามบินดอนเมืองเป็นสนามบินสำหรับรองรับสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) เป็นหลัก และโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนระดับบิ๊กเนมที่กำลังก่อสร้างและสร้างแล้วเสร็จอีกหลายโครงการ วันนี้ TerraBKK Research ได้รวบรวมข้อมูลและอัพเดทภาพรวมรังสิตทั้งหมดมาฝากท่านผู้อ่าน ดังต่อไปนี้

ก่อนที่เราจะมา อัพเดท ทำเลรังสิต เรามาเล่าย้อนอดีตกันซักนิดว่าช่วงที่ผ่านมารังสิตมีแผนพัฒนาอะไรไปแล้วบ้าง

ถ้าย้อนอดีตไป 5-10 ปีที่ผ่านมา รังสิตมีโครงการเพียงแค่ โซนฟิวเจอร์พาร์ค-รังสิต ซึ่งภายในประกอบไปด้วย Home Pro, BigC, Index Living Mall ส่วนโซนเซียร์-รังสิต จะมีเพียง Zeer รังสิตที่เป็นศูนย์รวมแหล่ง IT ขนาดใหญ่ และตลาดขายส่งเสื้อผ้าโบ้เบ้-รังสิต รวมถึงตลาดสี่มุมเมืองเท่านั้น ส่วนโซนใต้ของรังสิตก็จะเป็นสนามบินดอนเมืองซึ่งเคยถูกยกเลิกใช้งานไปแล้วโดยให้ทุกเที่ยวบินไปใช้ที่สนามบินสุวรรณภูมิทั้งหมดแต่ปัจจุบันสนามบินดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการให้ใช้อีกครั้งหนึ่งซึ่งเราจะพูดให้ฟังต่อไปว่าเหตุผลใดต้องกลับมาใช้และจะส่งผลดีอย่างไร อีกโซนหนึ่งซึ่งเป็นโซนสุดท้าย นั่นก็คือ โซนรังสิตฝั่งเหนือ เป็นโซนแห่งวิชาการที่เป็นศูนย์รวมของมหาวิทยาลัยชั้นนำได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่าง ตลาดไทย Marko และ Lotus เป็นต้น ซึ่งถ้าย้อนอดีตไป 5-10 ปีที่แล้ว รังสิตโซนเหนือนี่ถือว่าไม่มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใหม่มาซักพักแล้ว

เมื่อเราเห็นภาพรวมในอดีตครบทั้งหมดแล้วว่ามีความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันว่า ปัจจุบันโฉมหน้าของรังสิตจากที่ TerraBKK Research ได้ลงพื้นที่สำรวจมา พบว่า เปลี่ยนไปมาทีเดียว อารมณ์ของทำเลให้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไป ปัจจุบันรังสิตถือว่ามีความพร้อมขึ้นมาก คนที่อยู่ในพื้นที่ไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ เพื่อเข้าหาแหล่ง LifeStyle ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการในการใช้ชีวิตอีกต่อไปแล้ว เหตุใดทำให้ TerraBKK Research ถึงกล้าพพูดได้แบบนี้? เชิญท่านผู้อ่านไปรับชมภาพพร้อมคำบรรยายเพื่อให้เห็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด 5 ปี และเพื่อให้สะดวกแก่การอธิบายและเข้าใจภาพมากขึ้น TerraBKK Research ขอแบ่งย่านรังสิตออกเป็น 4 โซนด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เนื่องจากรังสิตมีอาณาเขตที่ค่อนข้างกว้าง มีรายละเอียดดังนี้

1. โซนรังสิตตอนใต้ สำหรับโซนนี้เป็นโซนที่ตั้งของที่อยู่อาศัยดั้งเดิมจำนวนมากมายหลายหมู่บ้าน และที่สำคัญรังสิตตอนใต้ยังเป็นที่ตั้งของสนามบินดอนเมืองซึ่งในอดีตเคยเป็นสนามบินหลักของประเทศไทย แต่ปัจจุบันสนามบินดอนเมืองกลับกลายเป็นสนามบินที่รองรับสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) เนื่องจากการท่องเที่ยวภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่องปีละมากกว่า 10% ส่งผลให้ธุรกิจสายการบินภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่องจนทำให้จำนวนผู้โดยสารที่เข้ามาใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองมีปริมาณเกินความจุของสนามบิน โดยทุกวันนี้รองรับผู้โดยสารกว่า 90,000 คนต่อวัน เพิ่มขึ้น 30% จากปี 2557 และมีเที่ยวบินให้บริการต่อวันมากถึง 650 เที่ยว เพิ่มขึ้น 20% จากปี 2557 เช่นกัน จึงทำให้ต้องปรับปรุง “อาคารผู้โดยสาร อาคาร2” (Terminal 2) สำหรับผู้โดยสารภายในประเทศ

สำหรับอาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 จะรองรับผู้โดยสารได้ 11.5 ล้านคนต่อปี อาคารผู้โดยสาร 2 เป็นอาคาร 4 ชั้น โดยแบ่งพื้นที่การใช้งานเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่นอกเขตห้ามสำหรับผู้โดยสารและบุคคลทั่วไป และพื้นที่ในเขตห้ามเฉพาะผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่ และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559 (วันครบรอบ 102 ปี ของท่าอากาศยานดอนเมือง)

2. โซนเซียร์ รังสิต เป็นโซนที่ตั้งอยู่ในอาณาจักรของ เซียร์ รังสิต บริเวณนี้อุดมไปด้วยแหล่งการค้าขนาดใหญ่ดั้งเดิมที่มีอายุมาอย่างยาวนานหลายสิบปี โดยฝั่งของเซียรังสิตเป็นที่ตั้งของ เซียร์รังสิต ซึ่งเป็นศูนย์การค้า IT ที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุดของประเทศไทย หากใครมีปัญหาเรื่องคอมพิวเตอร์เสียหรือต้องการหาซื้อคอมพิวเตอร์ซักเครื่องหนึ่งต้องไปที่นี่เพราะจะสามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการได้ สำหรับปัจจุบันนั้นเซียร์รังสิต ได้ทำการขยายศูนย์การค้าเชื่อมต่อจากอาคารเดิมชื่อว่า ศูนยการค้า The Hub ปัจจุบัน The Hub เปิดให้บริการแล้ว นอกจากเซียร์รังสิตแล้ว ยังมีศูนย์ค้าส่งเสื้อผ้า โบเบ้ (อาคารเดิม) และได้ก่อสร้างอาคารโบ้เบ้ เฟส 2 เพิ่มขึ้น ขณะนี้ก็เปิดให้บริการแล้วเช่นกัน นอกจากนั้นในบริเวณเดียวกันยังมี BigC และ MC Donald ให้ทานกันตลอด 24 ชม. อีกด้วย นอกจากโซนนี้จะเป็นแหล่งค้าส่ง IT เสื้อผ้าแล้ว ในโซนนี้ยังเป็นที่ตั้งของตลาดสี่มุมเมืองศูนย์กลางการค้าาผลไม้ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ผลไม้ เกือบชนิดสามารถหาได้ที่นี่ ถือว่าครบครันทุกความต้องการขั้นพื้นฐานจริงๆ สำหรับโซนนี้

TerraBKK Research เห็นว่าหลังจากที่มี The Hub และ โบ้เบ้ เฟส 2 เกิดขึ้นก็ได้ช่วยเสริมให้ทำเลโซนนี้สดชื่นขึ้นและดูตอบสนอง Lifestyle ของคนในพื้นที่แห่งนี้ได้ดีมากขึ้น ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกซักระยะหนึ่งจนกว่าศูนย์การค้าเปิดใหม่จะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น

3. โซน Future City โซนนี้ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก เดิมเป็นที่ตั้งของ Future Park ศูนย์การค้าระดับ Super Regional Mall ซึ่งเป็นศูนย์รวมศูนย์การค้าทุกประเภททั้ง BigC, Index Living Mall, Home Pro, Robinson นอกจากนั้นในช่วงที่ผ่านมาได้มีการ Renovate ศูนย์การค้า Future Park รังสิตt ครั้งใหญ่ และได้มีการพัฒนาศูนย์การค้าแห่งใหม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่ง นั่นก็คือ ศูนย์การค้า ZPELL เป็นศูนย์การค้าที่นำเอาแบรนด์สินค้าอีกระดับหนึ่งที่เหนือกว่า Future Park รังสิตเดิม ทำให้การอยู่อาศัยย่านรังสิตเทียบเท่าศูนย์การค้าย่านใจกลางเมืองของกรุงเทพมากขึ้น ในอีกด้านหนึ่งของการยกระดับ Brand สินค้าเข้ามาในย่านรังสิตเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า Lifestyle การใช้ชีวิตทั้ง การเลือกบริโภค รสนิยม กำลังซื้อ ของคนย่านรังสิตพร้อมแล้วที่จะรับสินค้าในระดับนี้ ทำไม TerraBKK Research ถึงเชื่อเช่นนั้น เนื่องจากบริษัทที่มีเช่าพื้นที่ ZPELL ต้องทำการตลาดศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภครวมถึงวิจัยเจาะลึกลูกค้ามากพอสมควรมาก่อนแล้วถึงตัดสินใจเลือกที่จะลงหลักปักฐานที่รังสิต

นอกจากโซนนี้ยังมีการก่อสร้างโรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล รังสิต ขนาด 150 เตียง ซึ่งขณะนี้ก็ได้เปิดให้บริการแล้วเมื่อช่วงปีใหม่ 2559 ที่ผ่านมา ขนาดโครงการประมาณ 8 ไร่ โดยเช่าที่ของตระกูลหวั่งหลี 30 ปี นอกจากนั้นยังมีโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการกระจายตัวรอบอีกหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลเอกปทุม, แพทย์รังสิต และปทุมเวช โดยโรงพยาบาลที่มีทำเลใกล้ Future Park รังสิต มากที่สุดก็คือ ปทุมเวช

4. โซนรังสิต ตอนเหนือ สำหรับโซนรังสิตตอนเหนือเป็นโซนที่เป็นศูนย์รวมของมหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ถ้าจะให้นับรวมนักศึกษาและบุคลากรรวมกันแล้วก็ประมาณหลายหมื่นคน นอกจากนั้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังมี สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นศูนย์คนคว้าวิจัยทางด้านนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปัจจุบัน สวทช. ก็มีโครงการขยายอาคารก่อสร้างขึ้นต่อเนื่อเช่นกัน บางตึกบางอาคารก็แล้วเสร็จแล้ว

นอกจากนั้น รังสิตโซนเหนือยังมีศูนย์ค้าวัสดุก่อสร้าง Mega Home อยู่ตรงข้ามมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมีห้างสรรพสินค้า BigC Lotus Makro ครบทุกแบรนด์ตั้งเรียงรายอยู่บริเวณนี้ทั้งหมด นอกจากนั้นยังมีตลาดไท ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ให้ได้เลือกซื้อมารับประทานกันอย่างเต็มที่ ด้วยราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด และมีสินค้าให้เลือกให้เปรียบเทียบอีกเป็นจำนวนมาก

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ รังสิตตอนเหนือยังใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมนวนคร บริเวณนี้เป็นแหล่งงานและแหล่งรวม ผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงานบริษัท แรงงาน รวมแล้วหลายหมื่นคนเช่นกัน ดังนั้นเราจะเห็นว่าสำหรับโซนรังสิตตอนเหนือนี้ถือว่าเป็นอีกโซนหนึ่งที่มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต เนื่องจากใกล้แหล่งของกิน มีแหล่งงานจำนวนมาก มีมหาวิทยาลัย มีทางด่วน ทั้งหมดนี้ก็สามารถตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมดแล้ว

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ - ธรรมศาสตร์ รังสิต

อีกหนึ่งโครงการ Highlight สำคัญของโครงการย่านรังสิตนั่นก็คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต และ รังสิต-ธรรมศาสตร์ เส้นทางรถไฟสายนี้มีโครงการก่อสร้างตามแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือ มีแนวเส้นทางจากใจกลางกรุงเทพฯ ที่สถานีกลางบางซื่อ และไปสิ้นสุดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ล่าสุดทาง TerraBKK ได้ลงพื้นที่สำรวจความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า พบว่าโครงการรถไฟฟ้าคืบหน้าไปมาก เห็นได้จาก ตอม่อและรางโครงการที่แล้วเสร็จ รวมถึงเริ่มขึ้นโครงหลังคาของแต่ละสถานีแล้วทำให้มั่นใจได้ว่า สายสีแดงประชาชที่อยู่ย่านรังสิตจะได้ใช้แน่นอนและเป็นอีกสายหนึ่งที่จะเข้ามาเสริมศักยภาพ เติมเต็มให้ทำเลรังสิตให้ก้าวขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

โครงการที่ยังชะลอไว้ก่อนแต่ยังอยู่ในแผน

TerraBKK Research อยากจะให้ผู้อ่านทราบว่า รังสิต เป็นหนึ่งในทำเลที่มีโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์จ่อขึ้นเยอะที่สุดย่านหนึ่ง แต่ด้วยจังหวะเวลา การแข่งขันของผู้ประกอบการในพื้นที่ ในการช่วงชิงจังหวะ ในการวางหมากยึดครองพื้นที่ รวมถึงการดูสถานการณ์ของคู่แข่งทำให้บางโครงการต้องชะลออกไปก่อน สำหรับโครงการที่ชะลอออกไปก่อนมีดังนี้

  • IKEA รังสิต ล่าสุด IKEA รังสิตสั่งชะลอโครงการนี้เอาไว้ก่อน มุ่งที่จะพัฒนา IKEA ย่านบางใหญ่ก่อน เนื่องจากติดปัญหาผังเมือง (ผังสีเขียว) ที่ทำให้มีข้อจำกัดให้ไม่สามารถขึ้นโครงการได้ต้องรอยื่นคำร้องขอปรับแบบผังเมืองให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงจะพัฒนาได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่หมดหวังเพราะ IKEA ได้ไล่กว้านซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จาก 250 ไร่ เพิ่มเป็น 900 ไร่แล้ว และยังได้ติดต่อหุ้นส่วนทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศให้เข้ามาช่วยสร้างเมืองใหม่ให้เกิดขึ้นเหมือนอย่าง IKEA บางนา ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่อย่าลืมว่า บางนาพื้นที่ 200 กว่าไร่เท่านั้น แต่ผืนนี้ขนาด 900 ไร่ ถ้าหากสร้างจริงตามแผนที่วางไว้เราคงได้เห็นอะไรที่น่าตื่นตาตื่นใจในบริเวณนนี้อย่างแน่นอน
  • Central M ล่าสุด Central M ก็ยังติดปัญหาเดียวกันกับ IKEA คือ ที่ดินจากไทยเมลอนฯ พื้นที่ 616 ไร่ เป็นที่ดินแปลงใหญ่และหน้ากว้างกว่า 1 กิโลเมตร ยังติดปัญหาเป็นผังเมืองสีม่วงซึ่งขณะนี้ได้ยื่นเรื่องส่งคำร้องไปแล้วแต่ยังรอการพิจารณาปรับผังอยู่
  • สถานีขนส่งหมอชิตใหม่ ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ โดยข้อมูลคร่าวๆ คือ จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดคือ พื้นที่บริเวณติดถนนพหลโยธินด้านเหนือ เริ่มจากแยกถนนรังสิต-ปทุมธานี ฝั่งขาออกจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) หรือพื้นที่ของ ไทยเมลอน นั่นเองโดยทาง Central จะแบ่งพื้นที่ให้ จากการศึกษาพบว่าต้องใช้พื้นที่ประมาณประมาณ 80 ไร่ รองรับรถโดยสารประจำทาง จำนวน 138 ชานชาลา รองรับรถตู้โดยสารประจำทาง จำนวน 45 ชานชาลา และอาคารซ่อมบำรุงเบาพื้นที่ประมาณ 24,600 ตารางเมตร ตัวอาคารสถานีขนส่งฯ และมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับผู้โดยสารและสำนักงานประมาณ 57,000 ตารางเมตร นอกจากนั้น ยังมี สาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐาน

สำหรับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในย่านนี้ส่วนใหญ่เป็นโครงการแนวราบประเภท “บ้านเดี่ยว” โดยโครงการที่อยู่ติดถนนวิภาวดีรังสิต-พหลโยธิน มีทั้งหมด 3 โครงการเท่านั้นที่ยังเหลือขายอยู่ มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 4.29 – 8.80 ล้านบาท ได้แก่ โครงการ AQ Shadi พหลโยธิน - รังสิต, Grand Canal ดอนเมือง และธนาภิรมย์ นวนคร มีรายะลเอียดดังนี้ - เทอร์ร่า บีเคเค

การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในย่านนี้ส่วนใหญ่เป็นโครงการแนวราบ