TerraBKK Research ได้รวบผลประกอบการของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรม “ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์” ประจำครึ่งปีแรกของปี 2558 และย้อนหลังไปถึงปี 2554 เพื่อที่จะได้รู้ถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมและบริษัทว่าอยู่ในแนวโน้มขาลง ขาขึ้น หรือทรงตัว และบริษัทไหนมีศักยภาพน่าลงทุนบ้างโดยดูจากความสม่ำเสมอของ Performance ของกิจการว่ามีการแกว่งตัวมากน้อยขนาดไหน

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกทำให้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ในช่วงที่ผ่านมาค่าเงินบาทที่ปรับตัวอ่อนค่าต่อเนื่องจนกระทั้งเทียบเท่ากับช่วงปี 2008-2009 อยู่ที่ประมาณ 36 THB/USD และดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่ช่วงกลางๆของการอ่อนค่าเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกเราจึงมองว่าตรงนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่ TerraBKK Research จะได้ทำการสำรวจผลประกอบการของกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งส่วนใหญ่ต้องส่งออกไปต่างประเทศในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ บริษัทไหนมีความน่าสนใจบ้างติดตามได้ดังต่อไปนี้

จากการที่ TerraBKK Research สำรวจบริษัททั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มนี้ พบว่า บริษัทที่สามารถเติบโตได้โดดเด่นที่สุดของกลุ่ม คือ Cal-Comp, Deltaส่วนKce เป็นบริษัทที่ผลประกอบการปีนี้ตกลงจากช่วงที่ผ่านมาแต่ก็ยังดูทรงๆตัว ทั้งๆที่ในในช่วงที่ผ่านมา KCE เติบโตขึ้นมาตลอด

รายได้ (Revenue) จากการดูรวมทุกบริษัท พบว่า มีทั้งบริษัทที่รายได้ลดลงและบริษัทที่รายได้เพิ่มขึ้น สำหรับบริษัทที่มีรายได้มากที่สุดในกลุ่ม คือ Cal-Comp มีรายได้สูงถึง 76,258 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 และมีแนวโน้มการเติบโตของรายได้โตต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกันและปีนี้เป็นปีที่สามารถทำรายได้ได้มากที่สุด อันดับที่สอง คือ Delta Electronics มีรายได้ครึ่งปีนี้อยู่ที่ 22,835 ล้านบาท มีแนวโน้มโตต่อเนื่องทุกปีบริษัทที่มีแนวโน้มรายได้เติบโตต่อเนื่องนอกจาก 2 บริษัทข้างต้น ได้แก่ Kce, Svi, Draco Pcb และ Electronics Industry

อัตรากำไรขั้นต้น (Growth Profit Margin) คือ การนำรายได้จากการขายหักออกด้วยต้นทุนขาย แล้วนำอัตรากำไรขั้นต้นมาเปรียบเทียบว่าบริษัทไหนสามารถควบคุมต้นทุนขายของตนเองได้ดีที่สุดในประเภทธุรกิจเดียวกัน บริษัทที่มีอัตรากำไรขั้นต้นมากที่สุด คือ Kce Electronics มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 29.84% แต่ลดลงจากปีที่แล้ว อันดับที่สอง คือ Electronics Industry (28.77%) อันดับที่สามคือ Delta Electronics เป็นบริษัทที่มีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มสูงขึ้นมาโดนตลอดจนปี 2558 มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 27.44% สำหรับอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) บริษัทที่มีอัตรากำไรสุทธิมากกว่า 10% ได้แก่ Svi มีอัตรากำไรสุทธิสูงสุด อันดับสองคือ Kce มีแนวโน้มของกำไรเพิ่มสูงขึ้น อันดับสาม คือ Delta Electronics ทั้ง 3 บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้วทั้งหมด สำหรับ Hana ปกติแล้วจะเป็นบริษัทที่มีอัตรากำไรสุทธิสูงมากกว่า 10% แต่ดูเหมือนครึ่งปีแรกผลประกอบการจะดูไม่ดีเท่าที่ควร

อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) แสดงถึงความสามารถในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในองค์กรว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยขนาดไหนเพื่อที่จะนำมาสร้างรายได้ให้แก่กิจการ บริษัทที่มีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้วและมีอัตราส่วนมากกว่า 10% ได้แก่ Delta (17.44%) และ Kce (16.81%) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity) จะบอกถึงกิจการสามารถสร้างผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นได้มากน้อยขนาดไหน บริษัทที่มีอัตราผลตอบแทนจากผู้ถือหุ้นเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจะกลายเป็นบริษัทที่มีความน่าสนใจและต้องมี Return to Equity มากกว่า 17% แต่เมื่อดูผลประกอบการกลับไม่พบบริษัทที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวเลย แต่ก็มีบริษัทที่ผลประกอบการโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ Kce (35.83%) และ Delta (24.56%)

อัตรากำไรต่อหุ้น (Earning per Share) บริษัทที่มีอัตรากำไรต่อหุ้นเติบโตสูงขึ้น (EPS Growth) ได้แก่ SVI (+170%), CCET (+133%), METCO (+32%) และ Delta (+13%) ตามลำดับ การเติบโตของกำไรต่อหุ้นจะเป็นตัวบอกถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ว่าบริษัทสามารถสร้างกำไรส่วนเพิ่มให้แก่นักลงทุนต่อหนึ่งหน่วยลงทุนได้ดีมากน้อยขนาดไหนและเมื่อเราดูแนวโน้มอัตรากำไรต่อหุ้นประกอบทำให้เราสามารถเลือกบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตได้ดีมากขึ้น สำหรับกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตของอัตรากำไรต่อหุ้น ได้แก่ Metco, Delta, Svi ส่วน KCE ปีนี้ EPS ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว

หนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) สัดส่วนของหนี้สินต่อทุนที่อยู่ในระดับปกติไม่ควรมีสัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของทุนมากกว่า 2 เท่าและถ้าจะให้ดีควรจะน้อยกว่า 1 เท่า ในอุตสาหกรรมนี้บริษัทส่วนใหญ่จะรักษาระดับอัตราหนี้สินต่อทุนเอาไว้ไม่ให้ไม่ให้มากกว่า 1 เท่า แต่มีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่มีอัตราหนี้สินต่อทุนสูงมากกว่า 1 เท่าได้แก่ Cal-Comp และ Kce

อัตรากำไรสุทธิ จะแสดงถึง ความสามารถในการทำกำไรสุทธิของบริษัท เป็นการวัดความสามารถของบริษัทในการควบคุมรายจ่ายทุกประการทั้งดอกเบี้ยและภาษีเมื่อเทียบกับยอดขาย หากอัตราส่วนนี้มีค่าสูงแสดงว่าบริษัทสามารถเปลี่ยนยอดขายให้เป็นกำไรสุทธิได้มาก

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) แสดงถึง สัดส่วนของเงินทุนจากการกู้ยืมต่อเงินทุนจากเจ้าของธุรกิจถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่าบริษัทมีการกู้ยืมเงินในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับเงินทุนจากผู้ถือหุ้นของบริษัท ทำให้มีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกับอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์

อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Asset:ROA) แสดงถึง ระดับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัท เป็นการวัดความสามารถในการนำสินทรัพย์ทั้งหมดของธุรกิจใช่ในการสร้างยอดขายและควบคุมค่าใช่จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดสุทธิจากภาษีแต่ก่อนต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ยจ่ายสุทธิจากภาษีที่ประหยัดได้) อัตราส่วนที่สูงแสดงว่าบริษัทมีความสามารถสูงในการนำสินทรัพย์ไปสร้างกำไรจากการดำเนินงาน

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) แสดงถึง ระดับผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรให้แก่เงินทุนของผู้ถือหุ้น หากค่าที่ได้จากการคำนวณสูงแสดงว่าผู้ถือหุ้นมีโอกาสได้รับเงินปันผลและผลตอบแทนที่สูง

บทความโดย : TerraBKK ข่าวอสังหาฯ แหล่งข้อมูล : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก