ในงานเสวนาเรื่อง "วิสัยทัศน์การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทย" โดย 9 พรรคการเมือง จากงานประชุมสามัญประจำปี 2566 ภายใต้ธีม "EMPOWERING THAI INDUSTRIES FOR POWERFUL THAILAND เสริมสร้างพลังอุตสาหกรรมไทย สู่ประเทศไทยที่แข็งแกร่ง" ได้เห็นทิศทางการพัมนาอุตสาหกรรมของทั้ง 9 พรรคการเมือง ซึ่งมีความน่าสนใจแตกต่างกัน แต่ท้ายที่สุดทุกพรรคก็มีแนวทางเดียวกันที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจไทยและพัฒนาให้อุตสาหกรรมไทยเติบโตต่อไป 

“ก้าวไกล” เสนออุตสาหกรรมไทยต้องเปลี่ยนจาก Made in Thailand เป็น Made with Thailand

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล  กล่าวว่า นโยบายอุตสาหกรรมก้าวหน้าของพรรคก้าวไกล ที่จะเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้อุตฯนั้นมีสาระสำคัญ 3 ประเด็น คือ ต้องเริ่มที่เป้าหมายในอนาคตร่วมกันของอุตสาหกรรมกับพรรคการเมือง ที่ต้องพัฒนาอุต ให้เป็นไฮเทค มีดิจิทัลและดีไซน์

ทิศทางการพัฒนาต้องเปลี่ยน เพราะเศรษฐกิจในระยะถัดไปจะใช้ Made in Thailand ไม่ได้แล้ว ต้องเปลี่ยนเป็น Made With Thailand เพื่อให้ไทยเข้าไปอยู่ในซัพพลายเชนโดยที่ไม่จำกัดตัวเองในประเทศ ไม่ใช่เน้นสินค้าอย่างเดียวแต่ต้องเน้นกระบวนการทำงานด้วย

ด้านปัจจัยการผลิตจากที่ผ่านมาเน้นอุตฯการผลิต ที่เน้นการใช้แรงงาน ต่อไปการจะพัฒนาให้เป็นอุตฯ 5.0 จะต้องผสานแนวคิดว่าทำอย่างไรให้เครื่องจักรกับคนมาทำงานร่วมกัน ให้เกิดสินค้าที่มีคุณค่ามากกว่าราคา

ในช่วงที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกเทคโนโลยี เพียง 27% ซึ่งพรรคก้าวไกล มีแนวคิดในการใส่ดีไซน์เข้าไปให้เกิดแบรนด์  เป็นอุตไฮทัช ผ่านทีมของพรรคก้าวไกล ที่มีประสบการณ์

ดังนั้นเมื่อเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงเป็น Made With Thailand จะต้องอัพเกรดไทยผ่าน 5 นโยบาย

1. กฎระเบียบรัฐ ต้องเพิ่มการแข่งขันในทุกอุตฯ ต้องลดกฎระเบียบลง 50% เพื่อหนุนให้ทำธุรกิจง่ายขึ้น ขณะเดียวกันต้องทำให้เป็นดิจิทัล ให้รู้ผลใบอนุญาตใน 15 วัน

2. การศึกษา อาชีวะ ต้องเรียนฟรี มีคูปองเสริมทักษะ-หรือเปลี่ยนอาชีพ

3. สนับสนุนการเปิดตลาดซื้อขายไฟฟ้าเสรี โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลสายส่ง มี “ค่าไฟแฟร์” เพื่อลดกำลังการผลิตสำรอง

4. แก้ไขคอรัปชั่น ผ่านระบบ AI จับโกง และผสานกับ ปปช. ยึดโยงประชาชน

และ 5. เศรษฐกิจสีเขียวครบวงจร หลักการณ์สำคคัญเน้นการใช่รถเมลล์ไฟฟ้า ผ่านงบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท และยังมีการนำเทคโนโลยีประหยัดพลังงานนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 1.5-2 เท่า

“รวมไทยสร้างชาติ” เสนอรัฐบาลใหม่ ฟังเสียงผู้ประกอบการ อย่าออกนโยบายขัดการค้า

นายสุชาติ ชมกลิ่น กรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรคการเมือง พรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า ข้อมูลจาก IMF ระบุว่า ในปี 65 ช่วงโควิดอัตราการว่างงานในไทยต่ำสุดในโลก แค่ 1% แสดงว่าการจ้างงานเยอะมาก เยอะกว่าช่วงที่ไม่มีโควิด ซึ่งกระทรวงแรงงานและนโยบายรัฐบาลก็ได้รับคำชื่นชมที่ออกมาช่วยเหลือ ในช่วงที่เกิดวิกฤตได้ดี

ทั้งนี้พรรครวมไทยสร้างชาติ ยังเดินหน้าในนโยบาย ทำแล้ว – ทำต่อ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ทำการแก้ปัญหาฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ให้เกิดพันธมิตรที่ดี ซึ่งนโยบายทำต่อก็ยังคงจะเน้นเรื่องการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท รวมถึงการขยาย GDP ต่อหัวเพิ่มขึ้นอีก 20,000 บาท/คน/ปี

ทั้งนี้สิ่งที่รัฐบาลใหม่ควรจะทำให้อุตสาหกรรมไทยเดินหน้าต่อได้ คือ รัฐบาลต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ประกอบการ รับฟังปัญหา ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ อย่าสร้างข้อกำหนดที่มีผลต่อการกีดกันการค้า เพราะผู้ประกอบการมีความสามารถในการทำธุรกิจอยู่แล้ว รัฐบาลต้องเข้าไปหนุนให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น ไม่ออกนโยบายขัดแย้ง ซึ่งอยากให้รัฐบาลหน้าใส่ใจและเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็น SME เพื่อให้ผู้ประกอบการและอุตฯ มากขึ้น

 

“เพื่อไทย” พร้อมพลิกบทจากรัฐบาลอุปสรรค เป็นรัฐบาลสนับสนุนเร่งหาตลาดให้ธุรกิจไทย

นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจและประธานคณะกรรมการนโยบาย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลักคิดของพรรค  คือ รัฐบาลมีการเก็บภาษี 20% ของเงินกำไรของภาคธุรกิจ ดังนั้นรัฐบาลจึงกำหนดบทบาทให้ถือเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นทั้งหมดของผู้ประกอบการเอกชนไทย ซึ่งผู้ถือหุ้นต้องมีบทบาท มีส่วนได้เสีย จึงจำเป็นต้องช่วยทำงานให้ภาคเอกชน

ที่ผ่านมาในกลไกอุตสาหกรรม  รัฐบาลเป็นอุปสรรคที่สำคัญของการทำธุรกิจ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำอันดับแรกในฐานะพรรคเพื่อไทยคือ จะพลิกบทบาทของรัฐอุปสรรค มาเป็นรัฐสนับสนุน เพื่อขับเคลื่อนทุกกลไกเติบโตไปด้วยกัน

เพราะเมื่อเป็นหุ้นส่วนกัน ต้องร่วมกำหนดยุทธศาตร์ของปท ต้องเข้าใจจุดแข็ง อ่อน, นิว เอสเคิฟ  ที่ผ่านมา กรอ.ระดับจังหวัดกลับมีบทบาทน้อย ดังนั้นจำเป็นต้องแก้ปัญหาโดยกำหนด KPI ผู้ว่าราชการจังหวัดให้มีการทำงานร่วมกับการค้าจังหวัดมากขึ้น   

นอกจากนี้จุดยืนอีกหนึ่งอย่าง คือ จะเป็นผู้ผลักดันให้มีการเจรจาต่างประเทศ หาตลาด และลงทุน เราจะเป็นผู้ที่ผลักดันให้เกิดสันติภาพ มั่งคั่งร่วมกันในเวทีต่างประเทศ โดยใช้สัมพันธ์การฑูตกับประเทศต่างๆ พร้อมสนับสนุนปรับโครงสร้างต้นทุนพลังงาน และเพิ่มผลิตภาพผ่านกลไกภาษี และอัพสกิล รีสกิล และลดภาระด้านคมนาคมขนส่ง ทำให้การเจรจาการค้าระว่างประเทศขนส่งสะดวกขึ้น ขจัดอุปสรรคขั้นตอน รัฐบาลต้องปรับการขอใบอนุญาตทุกอย่างให้เป็นดิจิทัล เพื่อความโปร่งใส และสุดท้ายคือ ต้องรู้เท่าทันโลก เพื่อเตรียมตัวด้าน CBAM และเร่งดำเนินการทันที 

 

“ชาติพัฒนากล้า” ขายนโยบาย "งานดี มีเงิน ของไม่แพง" ด่านแรกเร่งหนุนท่องเที่ยวโต 2 เท่า ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยแบบเร่งด่วน 

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวว่า เราต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจให้โต อย่างน้อย 4-5% วันนี้ โดยปัจจัยหลักๆ ทั้งสงครามการค้า เศรษฐกิจถดถอย, การขึ้นดอกเบี้ย, ECG ล้วนเป็นปัจจัยให้ทำให้นักลทุนต้องคิดก่อนลงทุน  วันนี้หากจะฟื้นฟูเศรษฐกิจและหวังกับการลงทุน ผมว่า นักลงทุนชะลอการลงทุนแน่นอน เพราะเม็ดเงินการลงทุนเยอะและยังต้องพึงพาความน่าเชื่อถือและเสถียรภาพต่างๆ ฉะนั้นวันนี้ถ้าต้องการเร่งฟื้นฟู เศรษฐกิจแบบเร่งด่วนให้ดีที่สุด คือ ต้องใช้จุดแข็งด้านการท่องเที่ยว  ซึ่งตอนนี้หลังจากเปิดประเทศมาครึ่งปี ไทยมีนักท่องเที่ยวกลับมา 25 ล้านคน เศรษฐกิจกลับมาดีขึ้น และการท่องเที่ยว เป้นธุรกิจที่ไม่ต้องการความเชื่อมั่น ไม่เกี่ยวกับเงินเฟ้อ ไม่เกี่ยวกับโลกร้อน  ถ้าการท่องเที่ยวดี รายได้ก็จะเข้ามาสู่ชุมชนทั่วช่วยกระจายความเหลื่อมล้ำได้

พรรคชาติพัฒนากล้า มองเห็นทิศทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจเร่งด่วนผ่านการท่องเที่ยว จึงเสนอนโยบายให้เพิ่มนักท่องเที่ยว เพิ่มเป็น 2 เท่า ตั้งเป้าให้นักท่องเที่ยวใช้จ่าย และอยู่เที่ยวนานขึ้นราว 20% ก็จะทำให้มูลค่าเม็ดเงินการท่องเที่ยวไหลเข้ามาในระบบอยู่ที่ราว 5 ล้านล้านบาท เพิ่มจากที่เคยได้ 2 ล้านล้านบาท เพียงแค่สร้างการเติบโต และกระตุ้นท่องเที่ยวอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลต้องช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นบาน แหล่งท่องเที่ยว สินค้า เอาสตรีทฟู้ด รวมถึงซอฟเพาเวอร์ มาใช้อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว

ส่วนการส่งออกยังดีแม้จะชะลอตัวเล็กน้อย จำเป็นต้องหาตลาดใหม่ ในกลุ่มตะวันออกกลาง แอฟริกา และละตินอเมริกา ซึ่งตอนนี้ยังมีช่องว่างอยู่ รวมถึงชาตินิยม ที่จะต้องเน้นการลงทุนภาครัฐ - เอกชน เช่น EEC เร่งสร้างรถไฟ สนามบิน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมหาศาลและเราต้องใช้วิกฤตเป็นโอกาสเร่งปรับฐานเศรษฐกิจประเทศใหม่ จากนี้ไปไทยต้องดำเนินเศรษฐกิจโดยใช้จุดแข็ง คือ การเป็นมหาอำนาจทางการเกษตร ข้าว อ้อย ยาง มัน ปาล์ม ข้าวโพด ที่เรายังไม่หยิบมาใช้ใส่นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างเต็มที่

หากทำได้ตามนี้เศรษฐกิจของเราจะกลับมาเร็วอย่างยั่งยืน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตฯ ที่ตอนนี้ไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกเทคโนโลยีต่ำ แต่มีการนำเข้าสูง ทำให้เกิดภาวะเสียดุล ดังนั้นเราจึงใช้เทคโนโลยีในอุตฯน้อยมา วันนี้เราต้องกลับมารีโนเวทภาคอุตฯ ให้มีเทคโนโลยีมากขึ้น  ส่วน BCG, ESG ถือเป็นเรื่องใหม่ ที่ภาคอุตฯต้องเร่งทำความเข้าใจ ต้องเปลี่ยนให้เป็นจุดแข็ง เป็นอุตสาหกรรมใหม่ ให้อยู่ได้ด้วยความยั่งยืน เสริมสร้างจุดแข็งของประเทศ

พรรคชาติพัฒนากล้า จึงขอนำเสนอนโยบายอุตฯเฉดสี มูลค่า 5 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเศรษฐกิจเป็นสีต่างๆ อาทิ สีเหลือง –ซอฟเพาเวอร์, สีเขียว – สิ่งแวดล้อม, สีขาว-ท่องเที่ยวสายมู, สีเงิน-ศกสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานนโยบายใหญ่ของพรรคชาติพัฒนากล้า ที่เรียกว่า "งานดี มีเงิน ของไม่แพง"

“พลังประชารัฐ” ชูนโยบาย 3 เร่งด่วน 8 เร่งรัด พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ผ่านกองทุนประชารัฐวงเงิน 3 แสนล้าน

นายอุตตม สาวนายน ประธานคณะกรรมการจัดทำนโยบาย พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐทำนโยบายครบวงจร พร้อมไปสู่ภาคปฏิบัติที่ทำได้จริง ตอนนี้ไม่ใช่เวลาลองผิดลองถูก เพราะหลังโควิดซา เศรษฐกิจก็ยังไม่เข้มแข็ง ทำให้ต้องพิจารณา2 ประเด็นเร่งด่วน คือ  การหาทางเลือกให้ดีที่สุดซึ่งต้องทำได้ทันที โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยต้องเชื่อมโยงกับเวทีโลก แต่ยังติดข้อจำกัดโดยเฉพาะงบประมาณการเงินการคลัง พรรคพลังประชารัฐ จึงเสนอว่าเราต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจคู่ขนานใน 2 มิติหลัก คือ ผลักดันการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ และเร่งรัดวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อรองรับความก้าวหน้าของประเทศที่ยั่งยืน สอดรับกับนโยบาย 3 เร่งด่วน 8 เร่งรัดเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจ โดย 3 เร่งด่วน คือ การเร่งแก้หนี้ผ่านการเติมทุน, ดูแลสวัสดิการคนไทย และพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตเร่งทำที่กลุ่มปฐมวัย

ส่วน BCG อุตฯ ต้องพิจารณาบริบทของเวทีโลกต่อความเปลี่ยนแปลง ให้ไทยมีการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ พัฒนาพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ ซึ่ง EEC จะเป็นตัวเชื่อมโยงขยายอุตฯ สู่ภาคอื่นๆ ด้วยระบบคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ที่จะสนับสนุนการสื่อสารให้เชื่อมโยงเปลี่ยนไทยเช้าสู่เศรษฐกิจสังคมดิจิทัลแท้จริง ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำผ่านกองทุนประชารัฐวงเงิน  3 แสนล้านบาท

“ประชาธิปัตย์” เสนอนโยบายหนุน SME วงเงิน 3 แสนล้าน เล็งคุม ก.พลังงาน ลดค่าการตลาด-กำไรโรงกลั่นไม่เกิน 1 บาท/ลิตร

นายเกียรติ สิทธิอมร คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นโยบายหลักของพรรค คือ  “สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ” โดยภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มี 16 นโยบาย ใจความสำคัญต้องการให้เศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง ผ่านการสนับสนุนธุรกิจ SME วงเงิน 3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นงบที่มีอยู่กว่า 1 ล้านล้านบาท ที่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ ซึ่งเราต้องเร่งช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการ SME เร่งแก้ปัญหาของอุตฯ ก่อน โดยเฉพาะต้นทุนพลังงาน เราต้องควบคุมกระทรวงพลังงานไม่ให้ค่าการตลาด และกำไรโรงกลั่นเกิน 1 บาทต่อลิตร

นอกจากนี้ไทยต้องวางเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลาง R&D ของเอเชีย โดยธนาคารของรัฐฯ อาทิ SME Bank หรือ Exim Bank ปรับบทบาททำที่หน้าที่สนับสนุน ไม่ใช่มาแข่งกับแบงค์เอกชน เพื่อให้นโยบายโต พร้อมหนุนธุรกิจส่งเสริมการลงทุนแบบคลัสเตอร์ ผ่านพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีกฎหมายรองรับและมีประโยชน์ทางภาษีที่ไม่ขัดกับกติกาโลก และสุดท้ายธุรกิจไทยจะโตได้ต้องเจรจาให้เก่งเปิดตลาดให้ภาคอุตสาหกรรมไปต่อได้ในเวทีโลก

“ไทยสร้างไทย” แนะเพิ่ม GDP กลุ่ม SME ตั้งเป้า 50% ใน 3 ปี เร่งสร้างความเข้มแข็งให้อุตฯไทย

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ พรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า มี 4 เรื่องที่เป็นอุปสรรคในอุตสาหกรรมที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ประเด็นแรกคือเรื่องกฎหมาย ที่มีอุปสรรคต่อการทำธุรกิจกว่า 1,400 ฉบับ ทั้งกฎระเบียนอ.ย. และกฎหมายโรงแรม ที่กฎหมายมีการแบ่งใช้กับขนาดของโรงแรม, ประเด็นที่ 2 คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งปัจจุบันมี บสย. ดูแลอยู่แล้ว แต่เห็นว่าปัจจุบันต้องช่วย SME ค้ำประกันไม่ต่ำกว่า 60% ธุรกิจถึงอยู่รอด เพราะวันนี้ SME ก็ยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน จำเป็นต้องมีกองทุน SME อย่างจริงจัง รวมถึงเรื่องนวัตกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่ผลักดันมาตลอด ต่อไปเป็นเรื่องการสร้างแต้มต่อให้อุตฯ ทั้งการสนับสนุนจาก BOI ให้ผู้ประกอบการเข้าถึงที่ดินราคาพิเศษ เรื่องการตลาดที่ต้องปรับ KPI โดยตั้งเป้าให้ BOI เสนอตัวเลขที่จะหนุน SME ในแต่ละปี เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ SME ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนากใหญ่ และถ้ากลุ่มนี้มีรายได้มากขึ้น ก็จะต้องจ่ายภาษีให้ประเทศอยู่ได้

ต่อไปการสร้างรายได้ลดค่าใช้จ่าย โดยต้องไปทำอะไรสิ่งที่ถนัด เช่น เกษตรท่องเที่ยวสุขภาพ Lifestyle การทำ R&D โครงสร้างเกษตรลดต้นทุนผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งรัฐควรสนับสนุนให้เอกชนเป็นคนทำ ก็ทำให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และสุดท้ายก็คือว่าเราต้องมาทำ GDP ของ SME จาก35% สู่เป้าหมาย 50% ภายใน 3 ปี ถ้าทำได้เราจะเห็นไทยมีความเข้มแข็งทั้งแผ่นดิน

“ชาติไทยพัฒนา” ชูการสร้างงานในอุตฯ หวังลดปัญหาความเหลื่อมล้ำไทย

ดร.สันติ กีระนันทน์ กรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า วันนี้ไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องกลับมาคิดว่าจะทำอุตสาหกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาอุตฯเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะ First Industry และ next gen Industry ที่ธุรกิจทุกขนาดต้องจูงมือไปด้วยกัน

สำหรับ 6 ประเด็นที่นำเสนอ คือ 1. เรื่องต้นทุนพลังงาน ที่โครงสร้างพลังงานผิดเพี้ยนมาก,  2. เทคโนโลยีอุตฯ มีราคาแพง ผู้ประการรายกลาง-เล็กเข้าไม่ถึง ทำให้ต้องเอาจริงเอาจรังในการนำผลวิจัย มาเป็น Public domain, 3. แรงงานไม่สอดรับกับความต้องการของอุตฯ แม้จะบอกว่าไทยมีการว่างงานต่ำมาก แต่ส่วนใหญ่ยังขาดแคลนแรงงานสูง ต้องมีการ up skill reskill ให้ได้, 4. รัฐต้องส่งเสริมบริษัทใหญ่ให้ไปแข่งขันในตลาดโลก เพื่อแบ่งพื้นที่ตลาดในประเทศให้ผู้ประกอบการรายย่อย 5. ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ ESG ที่พรรคชาติไทยพัฒนาเสนอเป็นนโยบายหลัก เพราะต้องไม่ลืมว่าปัญหาโลกร้อน เรือนกระจก ในอีก 15 ปีข้างหน้าจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาอุตฯ สุดท้ายคือ ขอนำเสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพาณิชย์ รวมเป็น MITI เพื่อให้ตลาดนำการผลิตอุตฯ ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้นได้อย่างแน่นอน


“ภูมิใจไทย” เสนอใช้อุตสาหกรรมสายเขียว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่ผู้นำตลาดโลก

นางสาวภาดาท์ วรกานนท์ ว่าที่ผู้สมัครเขตดินแดง-พญาไท พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า นโยบายหลักๆ คือ การหยิบสิ่งที่ประเทศไทยมีดีอยู่แล้วในภาคอุตสาหกรรม มาต่อยอดให้ก้าวกระโดด ซึ่งในช่วงโควิดที่ผ่านมาก็เห็นว่าการส่งเสริมสมุนไพรในประเทศทั้ง ฟ้าทะลายโจร กระชายขาว และสมุนไพรอื่นๆ ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากโควิดมาได้ ซึ่งถ้าเราเพิ่มศักยภาพให้เข้มแข็ง ต่างชาติก็จะสนใจและสนใจมาลงทุนในประเทศเราอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอุตฯ ชีวภาพ อาหาร, เกษตร, สมุนไพรและอุตฯ การแพทย์ หรือที่เรียกรวมว่าอุตสาหกรรมสายเขียว ซึ่งตอนนี้กระทรวงอุตฯ ก็ทำได้ดี และรัฐบาลใหม่ก็สามารถสานต่องานได้ทันที

ซึ่งอยากฝากไว้คือไม่ว่ารัฐบาลไหนที่เข้ามา ขอให้แสดงความจริงใจในการช่วยพวกท่านแก้ปัญหาขับเคลื่อนภาคอุตฯให้เติบโต  และต้องผลักดันให้ไทยเป็นผู้นำในเรื่องของอุตฯชีวภาพในอาเซียนให้ได้ เพราะจะทำให้เกิดการพัฒนาในภาคเกษตรที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้วรวมกับภาคอุตฯ ซึ่งจะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ไปสู่ท้องถิ่นลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมได้อย่างแน่นอน

ขอยกตัวอย่าง สมุนไพรกัญชา ที่เป็นไฮไลท์ไอเดียนโยบายของพรรคภูมิใจไทย ที่สร้างเศรษฐกิจใหม่ที่จะเชื่อมภาคเกษตรกับภาคอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ส่งเสริมและบริโภคสมุนไพร ซึ่งตอนนี้ยังเป็นตลาดที่บริสุทธิ์อยู่มาก เราสามารถเป็นผู้นำของโลกในการที่ผลิตกัญชาเพื่อรักษาและก็เพื่อสุขภาพได้

สิ่งนี้หากรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาส่งเสริมอย่างถูกต้องตั้งแต่การวิจัยการปลูกการผลิตเชื่อว่าภาคเอกชนสามารถต่อยอดได้อย่างไร้ขีดจำกัด และภูมิใจไทยจะขอปั้นให้ไทยเป็นเมืองแห่งสมุนไพร ให้เป็นซอฟพาวเวอร์กับประเทศ