สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศม.) ขอรายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ วันที่ 12 พ.ย. 64 ดังนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ต.ค. 64 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ระดับ 82.1 จากระดับ 79.0 ในเดือนก่อน
2. ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 64 คิดเป็น 1.87 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
3. GDP มาเลเซีย ไตรมาสที่ 3 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -4.5 จากช่วงเดียวกัน  ปีก่อน
4. GDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
5. GDP สหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 3 ปี 64 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ต.ค. 64 เพิ่มข้ึนติดต่อกันเป็นเดือนท่ี 2 ที่ระดับ 82.1 จากระดับ 79.0 ในเดือนก่อน

ดัชนีฯ เดือน ต.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกขนาดอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาค ขณะที่องค์ประกอบของดัชนีฯ เพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ ทั้ง ยอดคาสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ยกเว้นต้นทุนประกอบการ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 เริ่มดีขึ้นจากจานวนผู้ติดเชื้อรายวันลดลง และจานวนผู้ได้รับวัคซีนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาครัฐ ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ต่อเนื่องทาให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศขยายตัว ต่อเนื่องทั้งสินค้าคงทนและสินค้าไม่คงทน อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรกลและโลหะการ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ฯ อาหาร และยา เป็นต้น อย่างไรก็ดี ราคาต้นทุนวัตถุดิบและราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น อาจจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง อีกทั้งความผันผวนของ ค่าเงินและปัญหาด้านค่าระวางเรือสูงยังเป็นปัจจัยกดดันต่อภาคการส่งออกได้

เครื่องชี้ภาคการเงิน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 64 คิดเป็น 1.87 เท่าของสินทรัพย์ สภาพคล่องที่ต้องดารงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ 5.1 ล้านล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากเดือน ก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพ คล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิใน สภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59


ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐ

  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ เดือน พ.ย. 33 โดยได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงาน ที่พักอาศัย อาหาร และยานพาหนะใหม่ ที่ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นสำคัญ
  • จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (31 ต.ค. - 6 พ.ย. 64) อยู่ที่ระดับ 2.67 แสนราย ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมี การแพร่ระบาดในสหรัฐฯ เมื่อเดือน มี.ค. 63 เป็นผลจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของ ตลาดแรงงานสหรัฐฯ

จีน

  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุด นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 63 เนื่องจากราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหารปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหมวด การขนส่งและการสื่อสาร เชื้อเพลิงและสาธารณูปโภค สินค้าและบริการใน ครัวเรือน และด้านสุขภาพ เป็นสาคัญ

ออสเตรเลีย

  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 105.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 104.6 จุด เนื่องจากรัฐบาลออสเตรเลียได้มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุม โควิด-19 มากขึ้น

  • อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกาลังแรงงานรวม เนื่องจากช่วงเดือน ต.ค. 64 รัฐต่าง ๆ ใน ออสเตรเลียได้มีการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 สายพันธุ์ เดลต้า

มาเลเซีย

  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 16.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -3.6 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)

  • อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกาลังแรงงานรวม

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดี ขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ

  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เกาหลีใต้

  • อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกาลังงแรงงานรวม เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 2 ติดต่อกัน และเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 3 เดือน โดยอัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ของกาลังแรงงานรวม

ไต้หวัน

  • มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอ ลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 29.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรงหนุน จากอุปสงค์ในสินค้าเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง

  • มูลค่าการนาเข้า เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 37.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 40.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีการนาเข้าสินค้า ในกลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์แร่ และเคมีภัณฑ์ ที่เพิ่มมากข้ึน

  • ดุลการค้า เดือน ต.ค. 64 เกินดุลที่ 6.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าท่ี เกินดุลที่ 6.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อินโดนีเซีย

  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 113.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ อยู่ที่ระดับ 95.5 จุด เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เริ่มผ่อนคลายลง

  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากชิ้นส่วนยานยนต์และ อุปกรณ์เป็นสาคัญ

ฟิลิปปินส์

  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อน หน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 122.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 527.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์ปิโ ตรเลียมกลั่นเป็นสำคัญ

สหราชอาณาจักร

  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 64 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และ ขยายตัวต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อน
  • ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อน ชะลอตัวลงจากเดือน ส.ค. 64 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อน และเป็นการขยายตัวที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 64

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มข้ึนจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคท่ีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น STI (สิงคโปร์) DJIA (สหรัฐอเมริกา) และ DAX (เยอรมนี) เป็นต้น เมื่อ วันที่ 11 พ.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,632.44 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย เฉลี่ยระหว่างวันที่ 8-11 พ.ย. 64 อยู่ที่ 72,511.32 ล้านบาทต่อวัน โดย นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็น ผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 8-11 พ.ย. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์ สุทธิ 3,424.35 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -9 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 6 และ 31 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.63 และ 1.67 เท่าของวงเงินประมูล ตามลาดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 8-11 พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุน ต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 43,634.74 ล้านบาท และหาก นับจากต้นปีจนถึงวันท่ี 11 พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 122,666.91 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 11 พ.ย. 64 เงินบาท ปิดที่ 32.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.47 จากสัปดาห์ ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน และวอน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจาก สัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลยูโร ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ท้ังน้ี เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลัก อื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.49 จากสัปดาห์ก่อน

Economic Indicators






Global Economic Indicators




ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259