สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง - สศม. รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ วันที่ 17 ก.ย. 64
1. ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ส.ค. 64 หดตัวร้อยละ -6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
2. ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 64 คิดเป็น 1.87 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ส.ค. 64 หดตัวร้อยละ -6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

โดยในเดือน ส.ค. 64 ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดรอบใหม่ที่ยังคงรุนแรง สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้ภาครัฐต้องดาเนินมาตรการควบคุมการแพร่ ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในพื้นที่ก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล กระทบต่อกิจกรรมการ ก่อสร้างและการใช้งานปูนซีเมนต์ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การพิจารณาผ่อนคลายมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดฯ เป็นระยะ ประกอบกับการเริ่มเตรียมการอนุมัติใช้งบประมาณปี 2565 คาดว่าจะช่วยให้การ ก่อสร้างเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 64 คิดเป็น 1.87 เท่าของสินทรัพย์ สภาพคล่องที่ต้องดารงตามกฎหมาย
โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชยท์ังระบบในเดือนก.ค.64 อยู่ที่ 5.2 ล้านล้านบาทลดลง เล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จาก เกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่ เดือน ม.ค. 59


ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐฯ
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคาสินค้าปรับตัวลดลงใน กลุ่มรถยนต์และรถบรรทุกมือสอง และบริการด้านการขนส่งเป็นสำคัญ
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็น การชะลอตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ซึ่งเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 64
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายในช่วงก่อนเปิดภาคการศึกษาในเดือน ก.ย. 64 ในสหรัฐฯ
- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (5-11 ก.ย. 64) กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้น เล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 3.32 แสนราย สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.30 แสน ราย และเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.12 แสนราย เป็นผลจากพายุเฮอร์ริเคนไอดาที่ พัดเข้าสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก จนเกิดดินถล่มและน้าท่วมใหญ่ อย่างไรก็ดี จานวน ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่เพิ่มขึ้นยังคงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐฯ

จีน 
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก ยังคงเผชิญกับผลกระทบจากการแพร่ระบาด การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ และมาตรการ ควบคุมมลพิษ
- ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ เดือน ก.ย. 63 เนื่องจากการบริโภคที่ปรับตัวชะลอลงในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในบางภูมิภาค
อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 64 ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ของกาลังแรงงาน รวมโดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ จีนมีการสร้างงานใหม่ 9.38 ล้านตาแหน่งในพื้นที่เขตเมือง ซึ่งสามารถบรรลุเป้าหมายการจ้างงานรายปีในอัตราร้อยละ 85.3 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 11 ล้านตำแหน่งในปี 64

ญี่ปุ่น
- มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงข้ึนร้อยละ 26.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นเดือนท่ีหกติดต่อกันที่มูลค่าการส่งออกเพ่ิมสงูข้ึนเน่ืองจากการค้าโลกเริ่มฟื้นตัวและปัจจัย ฐานต่าของปีที่ผ่านมา
มูลค่าการนาเข้า เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 44.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นเดือนท่ีเจ็ดติดต่อกันท่ีมูลค่าการนาเข้าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศเพิ่ม สูงขึ้น
ดุลการค้า เดือน ส.ค. 64 ขาดดุล 635.4 พันล้านเยน นับเป็นการขาดดุลครั้งแรกตั้งแต่เดือน พ.ค. 64

ยูโรโซน
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลง จากเดือน มิ.ย. 64 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.1 อย่างไรก็ดี ขยายตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.3

ฮ่องกง
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 2 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งข้ึนจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงที่สุด นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 53 เป็นผลจากการผลิตที่ขยายตัวเร่งขึ้นในกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ สินค้าเบ็ดเตล็ด และสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นสาคัญ
อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 จาก เศรษฐกิจท่ีกาลังฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ออสเตรเลีย
- อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกาลังแรงงานรวม เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

สิงคโปร์
- มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าการนาเข้า เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 22.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 22.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดุลการค้า เดือน ส.ค. 64 เกินดุลที่ 7.25 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่เกินดุล 3.74 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 2 ปี 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากไตรมาส ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ของกาลังแรงงานรวม

อินโดนีเซีย
- มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 64.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 29.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าการนาเข้า เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 55.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 44.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดุลการค้า เดือน ส.ค. 64 เกินดุลที่ 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าท่ี เกินดุล 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เกาหลีใต้
- อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกาลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และ เป็นสถิติที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บข้อมูลมาในปี 42 สะท้อนการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ตามเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่กำลังฟื้นตัว ท่ามกลางการแพร่ระบาดรอบใหม่ของไวรัสโควิด-19

สหราชอาณาจักร
- อัตราการว่างงานเดือน ส.ค.64 อยู่ที่ร้อยละ 4.36 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ของกำลังแรงงานรวม
- อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี จากร้อยละ 2.0 ต่อปี ในเดือน ก.ค. 64

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคท่ีปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น HSI (ฮ่องกง) CSI300 (เซี่ยงไฮ้) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น เมื่อวันท่ี 16 ก.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,631.70 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย ระหว่างวันที่ 13-16 ก.ย. 64 อยู่ที่ 80,779.50 ล้านบาทต่อวัน โดย นักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัท หลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ขาย สุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13–16 ก.ย. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 1,571.6 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 7 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 และ 30 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.95 และ 3.10 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13–16 ก.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -14,350.27 ล้านบาท และหากนับ จากต้นปีจนถึงวันท่ี 16 ก.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 99,012.20 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 16 ก.ย. 64 เงินบาท ปิดที่ 32.93 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.57 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลยูโร ริงกิต และวอน ที่ปรับตัว อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะท่ีเงินสกุลเยน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อ เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลัก อื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.70 จากสัปดาห์ก่อน

Economic Indicators



Global Economic Indicators




ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259