สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 “เศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เริ่มต้นในช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2564 อย่างไรก็ดีการส่งออกสินค้า มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 – 5.0 ต่อปี จากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว และการส่งออกที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าว ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี (โดยมีช่วง คาดการณ์ที่ร้อยละ 0.8 ถึง 1.8) เมื่อเทียบกับประมาณการครั้งก่อน ณ เดือนเมษายน 2564 ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ที่เริ่มต้นในช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2564 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทย การเดินทางระหว่างประเทศ และจํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรก ของปี 2564 มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวสูงที่ร้อยละ 14.5 ต่อปี ส่งผลให้คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าของไทย ในปี2564 จะขยายตัวที่ร้อยละ16.6ต่อปี(โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ16.1ถึง17.1)ปรับเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ ครั้งก่อนที่ร้อยละ 11.0 ต่อปี

ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564


นอกจากนี้ ภาครัฐมีบทบาทสําคัญในการประคับประคองเศรษฐกิจไทย ผ่านการดําเนินมาตรการทางการคลัง ของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตร สวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ และมาตรการด้านการเงิน ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ประกอบกับการใช้จ่ายเงินกู้จากพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ในส่วนที่เหลือ และพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและ สังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท (พ.ร.ก. กู้เงินฯ เพิ่มเติม) ซึ่งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภค บรรเทาผลกระทบของภาคธุรกิจ และรักษาระดับการจ้างงานให้สูงขึ้น โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐและการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.7 ถึง 4.7) และ 9.5 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 9.0 ถึง 10.0) ตามลําดับ ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุน

ภาคเอกชนจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5 ถึง 1.5) และ 4.1 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 3.6 ถึง 4.6) ตามลําดับ ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2564 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.7 ถึง 1.7) ปรับตัวลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี เนื่องจาก ภาครัฐมีการดําเนินมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ ทั่วประเทศ ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดลุ -2.9พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็น ร้อยละ -0.5 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.0 ถึง 0.0 ของ GDP) จากการขาดดุลในดุลบริการเป็นสําคัญ สําหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2565 กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 ถึง 5.0 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง และมีการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น โดยคาดว่านักท่องเที่ยวต่างประเทศจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย จํานวน 12 ล้านคน ในขณะที่การส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสําคัญต่อการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ การจ้างงาน และสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ ส่งผลให้การใช้จ่ายภายในประเทศจะกลับมาฟื้นตัวได้ดี

ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ในการประมาณการเศรษฐกิจไทยจําเป็นต้องคํานึงถึง ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่
1) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือ ไวรัสโคโรนา 2019
2) ข้อจํากัดในการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
3) ความไม่แน่นอนของตลาดน้ํามันโลก หากปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ในหลายประเทศรุนแรงขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงาน
4) ทิศทางนโยบายการเงินโลกที่มีแนวโน้มเข้มงวดขึ้นจะส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีฐานะการคลังที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ ทําให้กระทรวงการคลังมีความพร้อม ในการดําเนินมาตรการทางการคลังเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ประกอบกับนโยบายการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ท่ีเน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป”

ข้อมูลโดย : สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3223 3273 

เอกสารประกอบการบรรยาย ประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2564 ณ เดือนกรกฎาคม 2564