ในปัจจุบันนี้ จากผลของโควิด 19 ที่ทำให้ธุรกิจการส่งอาหารเติบโตขึ้นอย่างมากในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้มีอีกหนึ่งธุรกิจที่ขยายตัวขึ้นด้วย คือ Cloud kitchen ซึ่งอาจถูกเรียกในชื่ออื่นเช่น Dark kitchen หรือ Ghost kitchen ก็เป็นรูปแบบร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้าน โดยที่ผู้ให้บริการ Cloud kitchen มีครัวกลาง ให้ร้านอาหารหลายๆ ร้าน มาเช่าพื้นที่ครัว เพื่อทำการปรุงอาหาร เพื่อการ delivery อย่างเดียว ซึ่งอำนวยให้ร้านอาหารที่ต้องการขยายสาขา สามารถมาชิมลางในพื้นที่ใหม่ได้ โดยที่ไม่ต้องเช่าหน้าร้านหรืออาคาร ส่วนทางผู้บริโภค ก็สามารถสั่งอาหารจากหลายๆร้านได้ใน ออเดอร์เดียว ธุรกิจนี้นั้นมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมาก ในยุโรป อเมริกา และ เอเชียแปซิฟิค

                 

            ที่มา asianhotelandcateringtimes.com

                  ในประเทศไทย เมืองอย่างกรุงเทพที่มีหลากหลายร้านอาหารที่มีชื่อเสียงและตำนานมากมายและกระจายอยู่หลากหลายย่านทำเล การมี cloud kitchen ให้ครอบคลุมในหลายพื้นที่ก็เป็นความท้าทายที่หลายบริษัทมุ่งเน้นให้ความสนใจในการลงทุน ศูนย์วิจัยของธนาคารกสิกรไทยมองว่าในสิ้นปี 2563 จะมี Cloud kitchen ราวๆ 10 แห่งใน กทมและ ปริมณทล และจะขยายเป็น 50 แห่งในปี 2565

บริษัทที่มีการทำ cloud kitchen ในประเทศไทย ก็มีกลุ่มที่ทำแอพพลิเคชั่น delivery อยู่แล้ว โดยทาง Grab ก็ได้เปิด Grabkitchen ขึ้นที่ตลาดสามย่าน ซึ่งรวมร้านอาหารชื่อดังมากกว่า 10 ร้าน เพื่อรองรับรัศมีการส่ง 8 กิโลเมตร ส่วนทาง LINEMAN ก็ร่วมกับเวบรีวิวร้านอาหารชื่อดังอย่าง wongnai ตั้ง LINEMAN Kitchen ขึ้นที่ย่าน ปุณณวิถี ซึ่งรวมร้านชื่อดังของกรุงเทพกว่า 13 ร้าน และมุ่งกลุ่มผู้คนในละแวกปุณณวิถีภายในรัศมี 6 กิโลเมตร ทั้งสองค่ายก็มีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มอีกตามเขตต่างๆ ของกรุงเทพ


                  ในส่วนของบริษัทที่ทำธุรกิจด้านอาหารอยู่แล้วก็มีการรุกเข้าในตลาดของ cloud kitchen เช่นกัน ทาง กลุ่มเซนทรัล เรสเทอรองต์ หรือ CRG ก็มีการขยายส่วนของร้าน อร่อยดี ให้เป็น cloud kitchen โดยทาง CRG มองว่า ในกรุงเทพมหานครนั้นยังมีพื้นที่ให้ขยาย cloud kitchen อยู่อีกมาก ส่วนทางฝั่ง ไมเนอร์ กรุ้ป ก็ได้มีการขยาย sizzler cloud kitchen ขึ้นที่ ย่าน ม เกษตรศาสตร์ ดอนเมือง และ ประชาอุทิศ 90

            ทางฝั่งของธุรกิจอสังหา ก็มีการเตรียมลงทุนเพื่อรองรับการเติบโตของ cloud kitchen ด้วยเช่นกัน บริษัท Frasers Property Thailand ก็มีการประกาศ roadmap การลงทุนในส่วนของอาคารพาณิชย์ตามจุดต่างๆ ในเขตเมืองเพื่อรองรับธุรกิจ cloud kitchen และธุรกิจ express delivery  ทางฝั่งของ Siamese Asset ก็มีการเปิด Bizzie dish ขึ้นในโครงการ Blossom at Sathorn เพื่อรองรับผู้คนในละแวก สาทร-เจริญราษฎร์ และเปิดอีกสาขาที่ รามอินทรา 64

                  การขยายตัวของยังอยู่มาจากการที่การขยายสาขาเพื่อสร้างยอดขายใหม่ในย่านต่างๆ ที่ยังไม่มี cloud kitchen แต่ความท้าทายของการขยายสาขาสำหรับร้านอาหารขนาดเล็กและกลาง คือ ความผูกพันของผู้คนในย่านต่างๆ ต่อร้านอาหารที่เข้าร่วมใน cloud kitchen ซึ่งจะส่งผลต่อการสั่งอาหารซ้ำในย่านนั้นๆ และยังมีประเด็นในเรื่องของการควบคุมคุณภาพในกรณีที่ทางผู้ประกอบการร้านอาหารไม่ได้ใช้คนของตัวเองในการปรุงอาหาร อย่างไรก็ตาม ด้วยวิกฤตโควิด 19 ที่ยังมีอยู่และพฤติกรรมการสั่งอาหาร delivery ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว และอีกหลายพื้นที่ของกรุงเทพ ที่ยังไม่มี cloud kitchen ครอบคลุม เราก็จะได้เห็นการเติบโตของธุรกิจ cloud kitchen ต่อไป