สถิติไทย และ ผลการเลือกตั้ง ปี 62

 

 

            สิ้นสุดการรอคอย เมื่อคนไทยได้ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา และข้อมูลล่าสุด จาก workpointnews พบว่า ผลเลือกตั้ง ส.ส. รวมทั้งหมด 500 ที่นั่ง ณ เวลา 15.00 น. (วันที่ 25 มี.ค. 62) พรรคที่รับเลือกสูงสุด 5 พรรคแรก ได้แก่

  • พรรค เพื่อไทย จำนวน135 ที่นั่ง โดยเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขตทั้งหมด
  • พรรค พลังประชารัฐ จำนวน 117 ที่นั่ง โดยเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 98 เขต และปาร์ตี้ลิสต์ 19 ที่นั่ง
  • พรรค อนาคตใหม่ จำนวน 86 ที่นั่ง โดยเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 29 เขต และปาร์ตี้ลิสต์ 57 ที่นั่ง
  • พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 54ที่นั่ง โดยเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 34 เขต และปาร์ตี้ลิสต์ 20 ที่นั่ง
  • พรรค ภูมิใจไทย จำนวน 51 ที่นั่ง โดยเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 39 เขต และปาร์ตี้ลิสต์ 12 ที่นั่ง

ข้อมูลจาก workpointnews ณ เวลา 15.00 น. (วันที่ 25 มี.ค. 62) 

                สถิติประชากรไทยด้าน รายได้เฉลี่ยครัวเรือน ปี 2560 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ TerraBKK พบว่า ปี 2560 ภาพรวมคนไทยทั่วราชอาณาจักรมี รายได้เฉลี่ยครัวเรือน 26,946 บาทต่อเดือน ไม่ต่างจากรอบปีก่อน (ปีรอบ 2558 เฉลี่ย 26,915 บาทต่อเดือน) แต่เมื่อลองเจาะลึกลงรายจังหวัด กลับพบตัวเลขการเพิ่มขึ้นของ รายได้เฉลี่ยครัวเรือน ที่สูงเกิน 25% ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กว่า 10 จังหวัด กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของไทย อาทิ นนทบุรี, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, ตราด, หนองบัวลำภู, เลย , เพชรบุรี ,เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

               โดย รายได้เฉลี่ยครัวเรือน ปี 2560 พบว่า 10 จังหวัดที่มีรายได้สูงสุด ได้แก่ กรุงเทพ 45,707 บาทต่อเดือน, ปทุมธานี 41,04884 บาทต่อเดือน, นนทบุรี 40,861 บาทต่อเดือน, ภูเก็ต 39,594 บาทต่อเดือน, สุราษฎร์ธานี 38,026 บาทต่อเดือน, สระบุรี 35,378 บาทต่อเดือน, กระบี่ 34,053 บาทต่อเดือน, ราชบุรี 33,622 บาทต่อเดือน และจันทบุรี 32,894 บาทต่อเดือน

ข้อมูลจาก workpointnews ณ เวลา 15.00 น. (วันที่ 25 มี.ค. 62) 

            สถิติประชากรไทยด้าน ขนาดของประชากร ปี 2560 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อวัดความเป็นเมือง TerraBKK พบว่า ปี 2560 ภาพรวมคนไทยทั่วราชอาณาจักร มีจำนวนประชากรทั้งหมด 66,413,979 คน เมื่อจัดอันดับขนาดประชากรรายจังหวัด เพื่อวัดขนาดความเป็นเมือง โดยได้แก่ เมืองขนาดใหญ่, เมืองศูนย์กลางระดับภูมิภาค, เมืองขนาดกลาง และ เมืองขนาดเล็ก

             พบ นัยยะระหว่างขนาดของความเป็นเมืองและผลการเลือกตั้ง ว่า เมืองศูนย์กลางภูมิภาค มีจำนวน 20 จังหวัด มีการเทคะแนนให้ พรรค เพื่อไทย จำนวนทั้งหมด 11 จังหวัด, พรรค พลังประชารัฐ จำนวน 5 จังหวัด, พรรค ประชาธิปัตย์ จำนวน 4 จังหวัด และจังหวัดนครราชสีมา ที่มีความหลากหลายของผลเลือกตั้ง โดยมีทั้งหมด 14 เขต แบ่งเป็นพรรค พลังประชารัฐ 6 เขต, พรรคเพื่อไทย 4 เขต, พรรคภูมิใจไทย 3 เขต และ พรรคชาติพัฒนา 1 เขต

             สำหรับ เมืองขนาดกลาง และ เมืองขนาดเล็ก มีผลการเลือกตั้งที่หลากหลายและแต่ละพรรคมีที่นั่ง สส. ที่ใกล้เคียงกัน และสำหรับ เมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีเพียงจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีเขตเลือกตั้งทั้งหมด 30 เขต พรรค พลังประชารัฐ ได้ที่นั่ง 14 เขต รองลงมาคือ พรรค เพื่อไทย และ พรรค อนาคตใหม่ ที่มีที่นั่งเท่ากันคือพรรคละ 8 เขต

             ประชากรไทยภูมิภาคเดียวกัน มักมีความคิดเห็นคล้ายกัน ในการใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ เช่น ความพึงพอใจในการเลือกพรรคของภาพรวมภาคเหนือตอนบนจะเป็น “ พรรค เพื่อไทย ”   ขณะที่ภาคเหนือตอนล่างพึงพอใจเลือก “ พรรค พลังประชารัฐ ” ด้านภาพรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็น “ พรรค เพื่อไทย ” และ “ พรรค ภูมิใจไทย ” ภาคใต้พึงพอใจเลือก “ พรรค ประชาธิปัตย์ ”,“ พลังประชารัฐ ” และ “ พรรค ประชาชาติ ” เป็นต้น สำหรับชาวกรุงเทพมหานคร นอกจาก 2 พรรคใหญ่อย่าง “ พรรค เพื่อไทย ” และ “ พรรค พลังประชารัฐ ” แล้ว ยังพึงพอใจเลือก “ พรรค อนาคตใหม่ ” ที่มาแรงเหลือเกิน ซึ่งนอกจากพื้นที่กรุงเทพแล้ว ยังเห็นคะแนนเสียงพรรคอนาคตใหม่กระจายไปยังจังหวัดอื่นในภูมิภาคเหนือและตะวันออก อีกด้วย --- TerraBKK

บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้

TerraBkk ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก