เลือกตู้เย็น ยังไงให้ลงตัวกับชีวิต ? อย่างที่ทราบกันดีว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทตู้เย็นนั้น เป็นจำเป็นสำหรับห้องครัว เพื่อการเก็บรักษาถนอมอาหารสำหรับพ่อบ้านแม่บ้าน เป็นหนึ่งเครื่องมือทำมาหากินสำหรับพ่อค้าแม่ค้า แช่ของสดแช่เครื่องดื่มจำหน่าย แม้แต่นักศึกษา,มนุษย์เงินเดือน ก็มักมีตู้เย็นประจำห้องพัก หรือคอนโดมิเนียม เพื่อแช่น้ำดื่มนมกล่องตามแต่ใจชอบ รวมไปถึงเครื่องสำอางค์ของสำคัญของคุณสาวๆ เรียกว่า เป็นไปได้ยากเสียจริงในการหลีกเลี่ยงตู้เย็น ในการดำเนินชีวิตปัจจุบัน
ดังนั้น การเลือกตู้เย็นในลงตัวกับชีวิต จึงต้องรู้สาระครบรสครอบคลุมใจความสำคัญ ตอบคำถามคาใจเหล่านี้ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น วิธีใช้ตู้เย็นยังไงไม่ให้เปลื้องไฟ? วิธีรักษาตู้เย็นให้สะอาดแบบง่ายๆ ? เลือกตู้เย็นยังไงให้เหมาะกับการใช้สอย? รวมทั้ง ข้อมูลสำคัญอย่าง ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ด้วย
ขอเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจ ความหมายข้อมูลตู้เย็นที่ควรรู้ ดังนี้
    • คิว(Q.) คือ หน่วยเรียกขนาดตู้เย็น มาจาก "คิวบิกฟุต" หรือ "ลูกบาศก์ฟุต" ที่มีขนาดความ กว้าง x ยาว x สูง เทียบกับ 1 ฟุต โดย ตู้เย็นรายประเภท ที่วางจำหน่ายตลาดจะมี ขนาด (คิว) และ ความจุ (ลิตร ) อยู่ในช่วงข้อมูลดังนี้

  • คอมเพรสเซอร์ (COMPRESSOR) คือ ระบบควบคุมการทำความเย็นของตู้เย็น ระบบดั้งเดิม จะตัดการทำงานเมื่อความเย็นถึงจุดที่กำหนด และกลับมาทำงานใหม่เมื่ออุณหภูมิภายในสูงขึ้น จึงทำให้กินไฟและมีเสียงดังจากการจุดสตาร์ททำงานในแต่ละรอบ ปัจจุบันนิยม ระบบอินเวอร์เตอร์(Inverter) มีขบวนการปรับระดับการทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ เพื่อรักษาระดับความเย็น และช่วยประหยัดไฟได้
  • จุดเด่นนวัตกรรม สร้างประโยชน์ต่อการใช้ตู้เย็น เช่น ระบบละลายน้ำแข็งเกาะช่องแช่แข็ง พบได้กับตู้เย็นประเภท Freezerless เช่น No Frost, Defrost ระบบควบคุมความชุ่มชื้น ช่วยให้ผักผลไม้ในช่องแช่ผักสดได้นาน เช่น Moist Balance Crisper, Moist Fresh Zone ระบบฟอกอากาศในตู้เย็น ช่วยลดเชื้อโรค แบคทีเรีย และกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ เช่น Hygience Fresh, Anti-Bacterial Protector การเพิ่มประตูบานใส หลังประตูปกติ ช่วยให้การหยิบจับง่ายและสะดวกขึ้น เช่น Door-In-Door, Showcase

1. ใช้ตู้เย็นยังไง ไม่ให้เปลื้องไฟ ?

อย่างที่ทราบว่า ตู้เย็นเป็นหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟ แม้ว่าจะ เลือกตู้เย็น ที่ถูกใจเหมาะสมต่อความต้องการแล้ว ตำแหน่งที่ตั้ง รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ตู้เย็น ย่อมมีผลต่อการกินไฟของตู้เย็นเช่นกัน เพราะตำแหน่งที่ตั้งหรือการกระทำใดก็ตาม ที่ทำให้อุณหภูมิภายในตู้เย็นเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จะส่งผลต่อการทำงานของตู้เย็น เพื่อรักษาระดับความเย็นคงเดิม เป็นเหตุผลที่ทำให้เปลื้องไฟมากกว่าปกตินั้นเอง

>> Tips ตำแหน่งที่ตั้งตู้เย็น

  • ตู้เย็นควรตั้งใน ตำแหน่งที่มีอากาศถ่ายเท เพื่อให้คอมเพรสเซอร์ระบายความร้อนได้ดี ไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป
  • ควรตั้งตู้เย็นบน พื้นที่แข็งแรงรอบรับน้ำหนักได้ เป็นพื้นที่เรียบและมั่งคง ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการล้มลงก่ออุบัติเหตุได้
  • ไม่ว่าจะตั้งตู้เย็นในห้องใด ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจาก เพดาน 30 ซม.อย่างน้อย ด้านหลังและด้านข้างห่างจากผนัง 15 ซม. และ 10 ซม. ตามลำดับเป็นอย่างน้อย
  • ไม่ควรตั้งตู้เย็นในพื้นที่แดดส่อง หรือใกล้แหล่งพลังงานความร้อน หรือใช้ผ้าคลุมรอบตู้เย็น ก่อผลเสียต่อตู้เย็น ระบบระบายความร้อนทำงานหนักได้
  • ไม่ควรตั้งตู้เย็นในพื้นที่ใกล้น้ำ มีความชื้นสูง เช่น ซิ้งค์ล้างจาน เป็นต้น ก่อผลเสียต่อตู้เย็น เป็นสาเหตุการเกิดสนิมได้
  • ตู้เย็นควรมี ปลั๊กไฟแยก ออกจากสายพ่วงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ก่อผลเสียต่อตู้เย็น เป็นสาเหตุการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
  • ควรถอดปลั๊กตู้เย็นออกทันที เมื่อเกิดเหตุไฟดับ พักระยะเวลา 5 นาทีอย่างน้อย ก่อนเสียบปลั๊กใช้งานปกติ เมื่อไฟมาเป็นปกติ

>> Tips การใช้ตู้เย็น

  • ไม่นำของร้อนเข้าตู้เย็น ควรรอให้อาหารเย็นลงเป็นปกติแล้วจึงนำเข้าตู้เย็น เพื่อระบบคอมเพรสเซอร์จะได้ไม่ต้องทำงานหนักในการปรับอุณภูมิที่สูงขึ้นให้ลดลงกลับมาเป็นปกติ
  • เว้นพื้นที่ระหว่างข้าวของ อาหารกับผนังภายในตู้เย็น เพื่อให้ไอเย็นไหลเวียนทั่วถึงภายในตู้เย็น
  • ช่องแช่แข็งที่มีน้ำแข็งเกาะหน้า ไม่ควรนำของมีคมหรือปลายแหลมมางัดแงะน้ำแข็ง เพราะอาจทำให้แผงความเย็นเสียหายได้
  • ไม่ควรเปิดตู้เย็นค้างไว้นานๆ หรือเปิดตู้เย็นบ่อยๆ เพราะความร้อนจากภานนอกจะทำให้อุณหภูมิภายในตู้เย็นเพิ่มสูงขึ้น ระบบคอมเพรสเซอร์จำต้องทำงานหนักเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิ
  • เลือกตู้เย็น รุ่นใหม่ ที่พัฒนาใช้สารเอชซี HCs (Hydrocarbons) แทนสาร CFCs เพราะจะไม่ทำลายชั้นโอโซน ลดสร้างก๊าซเรือนกระจก และควรเลือกฉลากเบอร์ 5 ด้วย เพื่อประหยัดไฟ
  • ตรวจสอบยางขอบประตู ตู้เย็นสม่ำเสมอ ทดสอบโดยหนีบแผ่นกระดาษไว้ระหว่างขอบยางประตูตู้เย็น หากดึงออกได้อย่างง่ายดาย แสดงว่า ขอบยางเสื่อมสภาพ ถึงเวลาเปลี่ยนใหม่

>> Tips การทำความสะอาดตู้เย็นแบบง่ายๆ

  • ทำความสะอาด ชั้นวางของ ด้วยการถอดชิ้นส่วนออกมาล้างด้วยน้ำเปล่า
  • ทำความสะอาดฝุ่นละออง แผงคอลย์เย็น ด้านหลังตู้เย็นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาประสิทธิภาพการทำงานของตู้เย็น
  • ทำความสะอาด ขอบยางตู้เย็น เช่น คราบเชื้อรา เป็นต้น โดนนำผ้าชุบน้ำผสมเบกกิ้งโซดาเช็ดขอบยางประตูตู้เย็น
  • สังเกตน้ำแข็งเกาะ ช่องแช่งแข็ง ละลายน้ำแข็งเกาะเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ
  • รักษากลิ่นภายในตู้เย็น ด้วยถ่านหุงต้ม 2-3 ก้อน หรือ กาแฟบด หรือ มะนาว ฝานครึ่งลูก เอาเนื้อข้างในออก ใส่เกลือแทนที่ วางไว้ในตู้เย็น

2. เลือกตู้เย็นยังไง ให้เหมาะกับการใช้สอย ?

ด้วยรูปลักษณ์ที่แตกต่างของประเภทตู้เย็น จะตอบสนองความสะดวกในการใช้สอยต่างกัน ดังนั้น ผู้สนใจซื้อตู้เย็น ควรรู้เสียก่อนว่า ตู้เย็นมีกี่ลักษณะ แล้วเหมาะกับการใช้งานแบบใด จะได้ เลือกตู้เย็น ได้อย่างถูกใจและถูกต้อง ซึ่งโดยปกติ สามารถพบเห็นได้ทั่วไป มักเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ตู้เย็น 1 ประตู , ตู้เย็น 2 ประตู (Double Door) และตู้เย็น Side-By-Side ดังนี้

1. ตู้เย็น 1 ประตู

  • Compact / Mini bar ตู้เย็นขนาดเล็ก ออกแบบ รูปทรงกะทัดรัด เหมาะแก่การแช่ของกินของใช้ขนาดไม่มาก เช่น เครื่องดื่ม ,เครื่องสำอางค์ เป็นต้น บางประเภทออกแบบเป็นตู้เย็นที่ไม่มีช่องแช่แข็ง (Fridge) บางประเภทก็ออกแบบแยกพื้นที่ช่องแช่แข็งเล็กๆด้วย ตู้เย็นชนิดนี้ เหมาะสำหรับตั้งในตำแหน่งเฉพาะเจาะจง เพื่อประหยัดพื้นที่ภายในห้อง มักพบเห็นได้ทั่วไปใน ห้องนอนในบ้าน ,ห้องพักโรงแรม , หอพักนักศึกษา , คอมโดมิเนียม เป็นต้น
  • Freezerless ตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับการใช้สอยขนาดครอบครัว ภายในแบ่งสัดส่วนชัดเจน เช่น ช่องแช่แข็ง ,ชั้นวางของ , ลิ้นชักเก็บผักสด หรือชั้นวางเครื่องดื่มที่ประตู เป็นต้น เหมาะสำหรับตั้งในห้องครัวในบ้าน ข้อควรระวังที่มักพบเห็นได้ทั่วไป ของตู้เย็นชนิดนี้ คือปัญหาน้ำแข็งเกาะหนาในช่องแช่แข็ง ทำให้กินไฟมาก ปัจจุบันหลากหลายแบรนด์ก็มีนวัตกรรมแก้ไขปัญหานี้เรียบร้อยแล้ว

2. ตู้เย็น 2 ประตู (Double Door)

  • Top-Freezer ตู้เย็น 2ประตูชนิดที่ เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในบ้านเรา โดยแบ่งพื้นที่จัดเก็บได้อย่างชัดเจน พื้นที่ด้านบนสุดสัดส่วน 1/3 จะเป็นช่องแช่เข็ง ข้างล่างเป็นช่องแช่เย็นและช่องแช่ผักเก็บถนอมอาหารทั่วไป เหมาะสำหรับการใช้สอยขนาดครอบครัว ตั้งในห้องครัวที่มีพื้นที่เหมาะสม สามารถเปิดปิดประตูได้พอดี ข้อควรระวังของตู้เย็นชนิดนี้ คือ ความไม่สะดวกในการใช้ช่องแช่แข็งสำหรับเด็กที่เอื้อมไม่ถึง รวมทั้งความลำบากในการก้มค้นหาข้าวของช่องแช่ผักสดล่างสุดสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ตู้เย็นรุ่นนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในบ้านเรา
  • Bottom-Freezer เป็นตู้เย็น2 ประตูหน้าตาแปลกใหม่ นำเอาช่องแช่แข็งย้ายมาอยู่ข้างล่างสุด เพราะการใช้งานช่องแช่แข็งมักน้อยกว่าช่องแช่เย็นและ ช่องแช่ผัก ทำให้การหยิบจับข้าวของอาหารสดใน ช่องแช่เย็นปกติอยู่ในระดับสายตาพอดี เหมาะแก่การใช้สอยประโยชน์ เหมาะสำหรับการใช้สอยขนาดครอบครัว ข้อควรระวังสำหรับตู้เย็นชนิดนี้ คือ พื้นที่ตั้งตู้เย็นต้องมีพื้นที่ว่างมากพอ สำหรับการเลื่อนเปิด ช่องแช่แข็งที่อยู่ด้านล่าง ทั้งนี้ เมื่อหาตำแหน่งที่ตั้งตู้เย็นได้อย่างเหมาะสมแล้ว ก็สามารถใช้งานอย่างได้อย่างสะดวกสบาย

3. ตู้เย็น Side-By-Side

  • ตู้เย็น Side-By-Side จะเป็นตู้เย็นประตูเปิดซ้ายขวา ช่วยลดพื้นที่สำหรับการตีวงเปิดประตู สะดวกในการหยิบจับค้นหาข้างของภายในตู้เย็น ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนชั้นวางบริเวณประตู บางรุ่นเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สามารถกดน้ำดื่มผ่านประตูได้ เป็นเหมาะสำหรับการใช้สอยขนาดครอบครัว ขอควรระวังของตู้เย็นประเภทนี้ คือ ขนาดพื้นที่จัดเก็บฝั่งหนึ่งจะไม่มีความกว้างมากนัก แช่เย็นข้าวของบนถาดจานขนาดใหญ่ได้ยาก ทั้งนี้ สามารถจัดสรรพื้นที่ใช้งานอย่างเหมาะสมได้ตามโอกาส

3. ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ?

เมื่อปี 2537 หน่วยงาน กฟผ. เริ่มใช้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 กับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทตู้เย็น เพื่อแสดงระดับประสิทธิภาพตู้เย็น และช่วยให้ผู้บริโภคเลือกตัดสินใจซื้อตู้เย็นแบบประหยัดไฟได้ง่ายขึ้น ตู้เย็นที่ได้รับการติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 จะต้องผ่านการทดสอบจาก สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) ด้านพลังงานและด้านปริมาตรเรียบร้อยแล้ว เลือกตู้เย็น ติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ช่วยประหยัดไฟมากที่สุด วิธีการอ่านฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แบบง่ายๆ มีดังนี้ --เทอร์ร่า บีเคเค

>> Tips ตรวจสอบ ยี่ห้อและรุ่นตู้เย็น ที่ติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ได้ที่ labelno5.egat.co.th ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพประกอบจาก cdiscount.co.th