สะพานประวิติศาสตร์ เปรียบเสมือนประตูสู่อำเภอปาย หากขับรถมาจากถนนทางหลวง 1095 (แม่มาลัย-ปาย) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 88 คุณจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนสะพานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทหารประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ข้ามแม่น้ำปาย และลำเลียงเสบียงและอาวุธเข้าไปยังประเทศพม่า หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง อำเภอปาย จึงกลับคืนสู่ความสงบสุขอีกครั้งหนึ่ง โดยหลงเหลือไว้เพียงแต่สะพานแห่งนี้ว่า “สะพานประวัติศาสตร์” แม้ในปัจจุบัน จะมีสะพานปูนแบบไม่สร้างอยู่เคียงข้าง แต่สะพานประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งนี้ ก็ยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่มาเยือนอำเภอปายอยู่เป็นประจำ เพราะว่าใครไปใครมา ก็ต้องแวะไม่ขากลับก็เป็นขาไปอยู่เสมอ

สำหรับสะพานประวัติศาสตร์ ท่าปาย สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่ญี่ปุ่นมีเรืองอำนาจอยู่ในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงกำลังพลและอาวุธสู่พม่า ในอดีตสะพานนี้เคยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินทางของประชาชนที่สัญจรไปมา แม้กระทั่งเราและชาวเขา จนกระทั่งได้มีการสร้างสะพานคอนกรีต ที่มีมาตรฐานขึ้นมาแทนที่ เพราะเมืองปายแห่งนี้ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองไทยไปแล้ว จึงทำให้มีทักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามามาก และด้วยตัวสะพานประวัติศาสตร์ปายแห่งนี้ก็เก่าแก่มาก มิอาจรับน้ำหนักของรถที่วิ่งผ่านได้ไหว จึงทำให้สะพานคอนกรีตเกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปายเข้าสู่เมืองปาย แทนสะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย แต่สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย จากสงครามโลก ก็ยังอยู่เคียงข้างกันกับสะพานคอนกรีตที่สร้างขึ้นมาใหม่อย่างลงตัว ส่วนวิวก่อนเข้าเมืองปาย ก็สวยสดงดงามไปด้วยทุ่งนาข้าวที่ชาวบ้านได้ปลูกกัน บวกกับสายน้ำปายและสะพานประวัติศาศตร์แห่งนี้ได้อย่างลงตัว แต่ที่ น่าเสียดาย คือ สะพานประวัติศาสตร์ท่าปายแห่งนี้ ไม่อาจสามารถเดินข้ามไปได้เหมือนเมื่อก่อนๆ แล้ว ทำได้ก็อยู่ตรงหัวสะพานชักภาพเท่านั้นเอง
ความเป็นมาของสะพานนี้ ยาวนานมาก ตอนนี้ก็หลงเหลือแค่สะพานข้ามแม่น้ำปายให้เราได้เห็น หากใครที่ได้มีโอกาสเยือนสะพานประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้ง 2 ท่าปายแห่งนี้ เราขอ แนะนำว่าเวลาเดินเล่นบนสะพาน ทุกๆท่านควรจะระมัดระวังพอสมควร เนื่องจากสะพานนี้ มีอายุอานามนามนมมาก อายุก็อยู่ราวๆ ประมาณร้อยกว่าปีทีเดียว เพราะฉะนั้นแล้ว วัตถุย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา สะพานไม้แห่งนี้เป็นก็ย่อมผุพังไปบ้าง เวลาเดินก็ระวังความปลอดภัยของลูกหลานและตัวท่านๆเอง อย่างไรก็ตาม สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย จากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นได้สร้างเพื่อข้ามแม่น้ำปายแห่งนี้ หากเรียกๆง่ายๆ ก็คือประตูสู่เมืองปายที่ทุกๆ ท่านเดือนทางมาจากเชียงใหม่ก็จะได้พบได้เจอ

ขอบคุณภาพ และ ข้อมูลจาก : moohin / google.com

สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มเติมได้ที่ : www.TerraBKK.com

Facebook : TerraBKK Facebook

Google+ : TerraBKK Google+

Twitter : TerraBKK Twitter