วารสารวิชาการ Sustainable Forestry ตีพิมพ์ผลการศึกษาครั้งใหม่ ยืนยันว่าการก่อสร้างอาคารด้วยไม้ ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ดีกว่าการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างประเภทคอนกรีตและเหล็ก
วัตถุประสงค์ของการสร้างอาคารด้วยไม้แทนคอนกรีต คือการหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ โดยเริ่มต้นจากการเปรียบเทียบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อลูกบาศก์เมตรของวัสดุก่อสร้างสำหรับการใช้งานจริง พบว่าการก่อสร้างอาคารด้วยไม้จะสิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่าคอนกรีตและเหล็ก เช่น คานไม้ใช้พลังงาน 80 เมกะจูล/ตารางเมตร ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯออกมาเพียง 4 กิโลกรัม เทียบกับคานเหล็กพลังงาน 517 เมกะจูล/ตารางเมตร จะปล่อยก๊าซคาร์บอนมากถึง 40 กิโลกรัม ส่วนคอนกรีตที่ใช้พลังงาน 290 เมกะจูล/ตารางเมตร ปล่อยก๊าซคาร์บอนในปริมาณ 27 กิโลกรัม
ทั้งนี้ การตัดไม้เพิ่มขึ้น และการใช้คอนกรีตให้น้อยลง แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน โดยข้อมูลการตัดไม้บนพื้นที่ 3.4 พันล้านตารางเมตรในแต่ละปี คิดเป็นจำนวนเพียงแค่ 20% ของไม้ที่กำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโตเท่านั้น ส่วนอัตราไม้ที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ เพิ่มขึ้นมาเป็น 34% นับว่าอยู่ในระดับที่ดี สำหรับการหลีกเลี่ยงการผลิตเหล็กและคอนกรีต จะส่งผลให้ก๊าซเรือนกระจกลดลง 14-31% ช่วยประหยัดการใช้เชื้อเพลิงรายปีได้ถึง 12-19% นอกจากที่กล่าวมาเบื้องต้นแล้ว การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนยังก่อให้เกิดผลดีในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดไฟป่า และการสร้างอาชีพ เป็นต้น