จุดเริ่มต้นการค้นหานวัตกรรมใหม่ From Zero to Hero คุณวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เอพี” เป็นบริษัทอสังหาฯ มียอดขายกว่า 5 หมื่นล้าน แต่เราคิดว่าในระยะถัดไปต้องทำอย่างไร ซึ่งคนของเอพีมีความชำนาญมากตั้งแต่การซื้อที่ดินไปจนถึงการพัฒนาโครงการรวมถึงการส่งมอบบ้านทั้งหมด แต่ยังขาดคนที่คิดนอกกรอบ ทำให้เราก็จะโตอยู่ใน Business Model เดิม ๆ ที่เป็นอยู่ เราจึงเริ่มมีนโยบายที่อยากจะให้พนักงานภายในของเราเอง มาร่วมคิดนวัตกรรม ถ้าเป็นไอเดียที่น่าสนใจเราจะส่งเสริมทำให้ เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่เปิดบริษัทให้เป็นหน่วยงานเล็ก ๆ เรียกว่า Claymore Innovation Lab ขึ้นมาเพื่อมองหาคนในองค์กรที่มีไอเดีย มีความสร้างสรรค์ มีความคิดอยากจะทำธุรกิจของตัวเองหรือว่าอยากจะพัฒนาไอเดียของตัวเองให้เป็นรูปแบบธุรกิจจริง ๆ

Claymore จึงเป็นแหล่งรวม startup ภายในองค์กร เป็นเหมือนลูกผสมของ startup กับพนักงานภายในองค์กร

เป็นจุดเริ่มต้นของ From Zero to Hero ที่ต้องการคนมีไอเดียและมี passion มาร่วมค้นหาความสำเร็จไปด้วยกัน"

ไอเดียดี ต้องตอบโจทย์ Business Model ให้เป็น Innovation ที่สมบูรณ์

“นวัตกรรม – เทคโนโลยี” จะเข้ามาเป็นตัวช่วยของการยกระดับให้การอยู่อาศัยสะดวกสบายมากขึ้น โดยไม่ยึดติดกับรูปแบบธุรกิจเดิม ๆ ซึ่งเหล่านักสร้างสรรค์ที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาจะต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง

ซึ่งจุดเริ่มต้นของ Innovation จะต้องมาจาก Creativity ที่รู้ว่าอยากจะทำอะไร โดยต้องใช้ข้อมูลเชิงลึก (Deep Insight) ของลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีไอเดียมาจาก 2 เรื่อง คือ จากความต้องการของลูกค้า กับความคิดสร้างสรรค์ที่อยากจะพัฒนา แต่สิ่งที่เอพี ต้องการคือ Innovation ที่สามารถนำมาประกอบกับ Business Model ได้ เอพีมีจุดแข็งที่พร้อมจะช่วยสนับสนุนการค้นหา Business Model ที่เหมาะสม และจำเป็นต้องตอบโจทย์แก้ปัญหา Pain Point ของการอยู่อาศัยในบ้าน โดยเฉพาะ Service ต่าง ๆ ที่สามารถเข้าไปทำได้ในการอยู่อาศัยในโครงการของเอพี

"การร่วมพัฒนานวัตกรรมกับเอพีในครั้งนี้ นอกจากจะเปิดให้บริการกับลูกบ้านของเอพีได้แล้ว นักสร้างสรรค์ยังสามารถนำสินค้าหรือบริการ เป็นธุรกิจของตัวเองได้ ซึ่งก็จะสามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้ทุกคน"

passion แนวคิดหลักให้ปั้นไอเดียจาก Zero ให้เป็น Hero

สำหรับกระบวนการทำงานจะแบ่งเป็น 4 ก้อนใหญ่ ๆ โดยเริ่มจากการ Set Up พูดคุย Passion ของคนอยากทำ กับมุมมองของ Investor ว่ามีทิศทางตรงกัน รวมถึงเรื่องของการตั้งทีมเวิร์ค การตั้งทีมเล็กๆ จะทำให้การทำงานเคลื่อนตัวเร็ว โดยต้องมีคนที่เชี่ยวชาญหลาย ๆ ด้านมาประกอบกัน ซึ่งการทำ startup ในองค์กร ข้อดีคือ จะมี Ecosystem ที่พร้อม Support ให้ไอเดียเกิดขึ้นจริงได้เร็วขึ้น  

ส่วนของการ Ideation จากที่เอพี มีโครงการดูแลอยู่จำนวนมาก จึงทำให้นักสร้างสรรค์สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าลึกซึ้งมากขึ้น ก็จะมาพูดคุยกับ Investor ว่าไอเดียคืออะไร Pain Point ของลูกค้าคืออะไร และมี Business Model อย่างไรบ้าง

และส่งต่อมาถึง Validation ส่วนที่สำคัญที่ startup ส่วนใหญ่มักจะตกม้าตาย เพราะเป็นกระบวนการตรวจสอบที่เข้มข้น เอพีจะลงทุนให้งบประมาณลงไปตามลำดับ และอีกปัญหาของ startup และธุรกิจ SMEs คือ พอสร้างสินค้าหรือบริการเรียบร้อยแล้ว ไม่มีตลาดรองรับ ซึ่งก็จะทำให้การทำงานได้ยากขึ้น แต่ในส่วนของเอพี มีตลาดรองรับแล้ว แต่ก็ต้องดูว่าจะนำบริการเข้าไปทดลองได้อย่างไรบ้าง

“ย้อนไปเมื่อ 30 กว่าปีก่อน เอพี ก็มีจุดเริ่มต้นจาก Startup จากผู้บริหาร 2 ท่าน และทั้ง 2 ท่านก็จะเข้ามาช่วยให้ความรู้กับนักสร้างสรรค์ในด้านการทำธุรกิจด้วย”

หลังจากนั้นทีมผู้บริหารจะเป็นคนบริหาร Business Management Incubation ส่วนใหญ่ตั้งแต่การ Set Up ไปจนถึง Scale ก็จะมีการปรับ Test วิธีอยู่แล้ว โดยเอพีก็จะมีทีมไอที รวมถึงการเงิน คอย Support ให้กับนักสร้างสรรค์

ต้องยอมรับว่าตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็มีนักสร้างสรรค์เข้ามาและก็ยอมแพ้ถอยออกไป หมุนเวียนคนใหม่เข้ามาตลอด ซึ่งกว่า 90% เป็นไอเดียที่ไม่ประสบความสำเร็จ ผมมองว่านักสร้างสรรค์จะต้องมี Passion ที่แรงกล้า ไม่ยอมแพ้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายของการทำ startup

ต้องบอกว่า เอพี มี Landing ให้กับนวัตกรรมใหม่ 2 ทาง ก็คือ ถ้านวัตกรรมนั้นมีศักยภาพมาก แต่สเกลยาก ก็จะเอาเข้าไปเป็นบริการอยู่ในธุรกิจหลัก (Internal Startup) แต่ถ้าเป็นธุรกิจมีศักยภาพมาก ๆ ก็จะจัดตั้งเป็นบริษัทแยก (Big Corporate)

"KATSAN และ FiTFriend" 2 แอปพลิเคชั่นเลือดนักสู้ จาก ZERO สู่ HERO ในวันนี้

โดย KATSAN เกิดขึ้นเมื่อช่วง 2-3 ปีที่แล้ว เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Security Control และได้รับรางวัล Innovation Award ช่วยตอบโจทย์ของการอยู่อาศัยในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี เพราะตอนนี้คนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านมีปัญหาเรื่องคนนอกเข้าบ้าน มี delivery, รถขนส่ง เข้ามาปะปน รวมถึงมีแขกมาเยี่ยมบ้าน รวมถึงการจอดรถหน้าบ้านเป็นปัญหาทะเลาะกัน

ซึ่ง KATSAN จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยให้รู้ตั้งแต่เข้าโครงการ สามารถจัดการได้ทันทีว่ารถจอดอยู่จุดไหน นานเท่าไหร่ ถ้าน่าสงสัยเจ้าหน้าที่รปภ.จะสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ทันที  KATSAN จะใช้ระบบอีสแตมป์ในแอปฯ เพื่อป้องกันอย่างรัดกุม เช่น ถ้ามีคนเข้ามาแต่เจ้าบ้านไม่ได้ประทับอีสแตมป์ให้ รถคันนั้นก็จะไม่สามารถออกจากโครงการได้ นอกจากนี้ยังสามารถจัดการรถของเพื่อน ๆ ที่มาบ้าน โดยเจ้าของบ้านสามารถลงทะเบียนโดยเอาเลขทะเบียนรถใส่เข้าไปในแอปฯ รปภ.ก็จะรู้และจัดการเปิดประตูให้ทันทีโดยไม่ต้องแลกบัตร ซึ่งปัจจุบันเอพีก็ได้นำระบบนี้ไปใช้ในโครงการ และมีผู้ที่สนใจซื้อระบบนี้ไปติดตั้งที่โรงงาน, รวมถึงโครงการอสังหาฯรายอื่น ๆ  

และ FiTFriend ไอเดียนี้เกิดจากช่วงโควิดที่ฟิตเนสปิด แต่คนอยากออกกำลังกาย เทรนเนอร์อยากสอน FiTFriend จึงเป็นบริการจับคู่ให้เทรนเนอร์สามารถไปสอนกับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายได้ตามสถานที่ที่ต้องการ และสามารถเลือกจองเทรนเนอร์ในกิจกรรมที่ต้องการเทรนได้

FiTFriend จึงเป็นเทรนเนอร์เดลิเวอรี่ ที่มีทั้งการจองเทรนเนอร์และมีการสอนท่าออกกำลังกายในแอปฯ ที่ผู้เรียนสามารถเลือกได้เองโดยไม่ต้องยึดติดกับเทรนเนอร์ ซึ่งตอนนี้เริ่มทำและกำลังเปิดให้บริการจริงแล้ว

KATSAN และ FiTFriend เป็นตัวอย่างความสำเร็จ เป็นสิ่งที่เอพีกำลังมองหาและพยายามที่กำลังจะสร้างทีมงานใหม่ ที่พร้อมจะออกไอเดีย เพื่อสร้างนวัตกกรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เติมเต็มการอยู่อาศัยโดยใช้ข้อมูลเชิงลึกของลูกบ้านมาเป็นไอเดีย ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกบ้านและสามารถต่อยอดธุรกิจออกไปได้ด้วย”

ชวน “นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่” ร่วมเป็น AP Innovation Dream Team ปล่อยไอเดียให้เต็มที่ มุ่งสู่ธุรกิจใหม่กับ เอพี ไทยแลนด์

เป็นตัวที่ช่วยหาโอกาสในการเติมเต็มสิ่งดี ๆ ให้กับลูกค้า และสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจ Property Management ในอนาคต ตอนนี้ในทุกองค์กรใหญ่ๆ ก็ยังมองหาแนวทางนี้เช่นกัน

แต่การสร้าง Innovation ให้เกิดขึ้นจริงผ่านทีม startup ในองค์กร ไม่ใช่เรื่องง่ายจากความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะเรื่อง “เงินเดือน-สวัสดิการ” เป็นสิ่งที่อินโนเวเตอร์จะได้รับจากบริษัท เป็น Startup ที่มีเงินเดือนทุกเดือน ได้รับสวัสดิการ และยังได้เงินอีกก้อนเพื่อไปบริหารพัฒนานวัตกรรมไอเดีย ซึ่งบางครั้งทำให้คนที่เข้ามาติดกับดักภาพพนักงานบริษัทและไม่สู้เหมือนกับ startup ทั่วไป ขณะที่บางคนเข้ามาแล้วเป้าหมายทิศทางการพัฒนาไม่ตรงกันกับบริษัท จึงทำให้ต้องถอยออกไปในที่สุด

ทำให้ “เอพี” จะต้องมองหา “คนที่ใช่” ที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นต้องการพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้การอยู่อาศัย ที่ผ่านมาเอพีได้มีการสนับสนุน “นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่” ที่ได้ร่วมงาน ที่เอพีเห็นว่าเป็นคนที่มีศักยภาพ ก็จะมีการสนับสนุนเพิ่มเติม อาทิ โปรแกรมฝึกอบรมเทรนนิ่ง รวมถึงการสนับสนุนส่งไปเรียนต่อปริญญาโทในต่างประเทศด้วย

ถ้าคุณคือนักคิด นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ “คนที่ใช่”  มีไอเดียอยากพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี แก้ปัญหาการอยู่อาศัยในบ้านใกล้ตัวให้ง่ายขึ้น สอดรับเมกะเทรนด์ของโลก ค้นหาไอเดียนวัตกรรมสู่ธุรกิจใหม่ “ชีวิตดี ๆ ที่เลือกเองได้”  มาร่วมเป็น AP Innovation Dream Team ปล่อยแสง ปล่อยไอเดียให้เต็มที่ มุ่งสู่ธุรกิจใหม่กับ เอพี ไทยแลนด์

ส่ง proposal แนะนำตัวมาได้เลย ที่ INBOX Facebook : AP THAI