อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.86 ต่อปี อัตราเงินเฟ้อ ณ ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.86 (YoY) เพิ่มขึ้น 0.05 (MoM) ถือว่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวและทรงตัวใน ระดับต่าและกระทรวงพาณิชย์คาดว่า เงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในเดือน ส .ค. 65 ทั้งนี้ หมวดที่ขยายตัวสูง ประกอบไปด้วย
1) สินค้ากลุ่มอาหารสด ขยายตัวร้อยละ 9.35 โดยเฉพาะราคาผักสด เนื่องจากฝนตกชุก และน้าท่วมขังพื้นที่เพาะปลูกส่งผลให้ผลผลิตเสียหายและปริมาณเข้าสู่ตลาดน้อยลงราคาไข่ไก่ปรับสูงขึ้นตามราคาประกาศหน้าฟาร์ม
2) หมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิงน้าประปาและแสงสว่าง ขยายตัวร้อยละ 43.89 จากเพิ่มขึ้นของค่ากระแสไฟฟ้าก๊าซหุงต้ม ที่ยังสูงกว่าปีที่ผ่านมา
3) หมวดยานพาหนะและน้ามันเชื้อเพลิง ขยายตัวร้อยละ 12.04 จากราคาน้ามันเชื้อเพลิงที่ยังคงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน (ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า) ขณะที่สินค้าสาคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ เตารีด เครื่องปรับอากาศและเครื่องซักผ้าเป็นต้นขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 3.15 และ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 8 เดือน(ม.ค.-ส.ค. 65) เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 6.14 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 2.16 (AoA)

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 65 สูงขึ้นเมื่อเทียบปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง โดยสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ปูนซีเมนต์ และผลิตภัณฑ์คอนกรีต ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 7.8 และ 4.9 ตามลาดับในส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเมื่อเทียบกับเดือนก่อนพบว่า ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ -0.4 โดยเฉพาะสินค้าหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ปรับตัวลดลงร้อยละ -2.4 เนื่องจากประเทศจีนประสบปัญหาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาเหล็กในตลาดโลก

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ส.ค. 65 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 90.5 จากระดับ 89.0 ในเดือนก่อนหน้า ดัชนี TISI เดือน ส.ค. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ในเกือบทุกองค์ประกอบของดัชนี ยกเว้นต้นทุนประกอบการ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการผลิตที่ยังคงขยายตัวตามความต้องการสินค้าโดยเฉพาะตลาดในประเทศ หลังการเปิดประเทศและมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายและการบริโภคมากขึ้น อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวลงโดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสาคัญอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ที่เผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ ประกอบกับปัญหาเงินเฟ้อ ราคาวัตถุดิบ ราคาพลังงาน รวมถึงค่าขนส่งที่ยังทรงตัวในระดับสูง เป็นปัจจัยลบสาคัญที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สาหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ99.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันเช่นกัน จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่การปรับขึ้นอัตราจ้างขั้นต่า /การปรับขึ้นค่าไฟฟ้า และความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวเป็นปัจจัยกระทบความเชื่อมั่นในระยะถัดไป