ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้ายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เตรียมความพร้อมบุกตลาดต่อเนื่องช่วงครึ่งปีหลัง จัด งานสัมมนา “SME OF THE FUTURE อนาคต SMEs ไทยไปต่ออย่างไรดี” เจาะลึกภาพรวมเศรษฐกิจไทย-เศรษฐกิจโลก ส่องปัจจัยเสี่ยงและความท้าทายในแง่มุมต่างๆ รวมทั้ง อัพเดทเทรนด์ของโลกเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อธุรกิจ เจาะลึกเฉพาะสำหรับกลุ่มธุรกิจนำเข้า-ส่งออก และธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) เพื่อปูแนวทางในการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับโลกธุรกิจในอนาคตที่กำลังจะมาถึง มุ่งมั่นพาเอสเอ็มอีไทยก้าวสู่อีกขั้นของความสำเร็จเพิ่มยอดขายเติบโตอย่างยั่งยืน

ระดมผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจและเศรษฐกิจร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นำโดย

  • นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Economic Intelligence Center (EIC) และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร
  • ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส EIC
  • นางสาวโชติกา ชุ่มมี ผู้จัดการคลัสเตอร์สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการผลิต EIC
  • นายแพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์
  • นายธีรวิทย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ Head of Strategy and Commercial บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด
  • นางสาว​ศิลินลักษ์ ตุลยานันต์ Chief Executive Officer​ บริษัท ฟู้ด อีควิปเม้นท์ จำกัด
  • นางสาวณัฐธนภัสสสร์ ไชยนรินทร์ ผู้จัดการแผนกธุรกิจต่างประเทศ บริษัท ทรอปิคานา ออยล์ จำกัด
  • นายมิตรดนัย สถาวรมณี ผู้ร่วมก่อตั้ง แบรนด์ Plantae และ CORO FIELD ร่วมเป็นวิทยากร เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่

นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในช่วงเวลานี้เราเริ่มเห็นสัญญานที่เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเริ่มคึกคักอีกครั้ง แม้จะการฟื้นฟูให้สมบูรณ์เท่าระดับเดิมอาจต้องใช้เวลา แต่ก็เป็นบทบาทหนึ่งของธนาคารที่จะเร่งสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างปกติให้ได้เร็วที่สุด กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีจึงร่วมมือกับศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดงานสัมมนา “SME OF THE FUTURE อนาคต SMEs ไทยไปต่ออย่างไรดี”

โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อมุ่งสนับสนุนการเสริมศักยภาพให้เอสเอ็มอีสามารถปรับกลยุทธ์รวมทั้งรูปแบบธุรกิจให้เท่าทันเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตได้ โดยเน้นไปยังกลุ่มธุรกิจการนำเข้า-ส่งออกที่กำลังฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าต่างๆ รวมทั้งธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะเทรนด์อาหารสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิเคราะห์จาก EIC ผู้บริหารทางด้านธุรกิจตลาดเงิน ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี ร่วมให้ความรู้ใน 4 หัวข้อสัมมนา ได้แก่
1) วิเคราะห์อนาคตภาพรวมเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกสำหรับเอสเอ็มอี
2) สิ่งที่ต้องรู้สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกและการบริหารความเสี่ยง
3) ปรับกลยุทธ์สำหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
4) การใช้เทคโนโลยีเป็นขุมพลังใหม่เพื่อยกระดับธุรกิจและลดต้นทุน ครอบคลุมมิติสำคัญที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจเพื่อรับมือกับอนาคต

ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Economic Intelligence Center (EIC) และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจโลกในระยะถัดไปเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวจากหลายปัจจัย ทั้งเศรษฐกิจสหรัฐที่มีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อและนโยบายการเงินตึงตัว และความเสี่ยงด้านอุปทานพลังงานในยุโรป ทางด้านอาเซียนนั้นเศรษฐกิจมีการขยายตัวแข็งแกร่งขึ้นในไตรมาส 2 ตามปัจจัยบวกจากการเปิดประเทศและการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง ในส่วนของประเทศไทย เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องหลังการเปิดประเทศ

ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือน โดยตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่2 ที่ผ่านมาขยายตัวได้ 2.5% จากการเร่งตัวของการบริโภคในประเทศและการฟื้นตัวของภาคบริการ ในระยะต่อไปภาคท่องเที่ยวและภาคบริการจะกลายเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมากขึ้น สำหรับภาคการส่งออกและลงทุนอาจมีการชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก โดยอีไอซีมองว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรรีบปรับตัวให้สอดคล้องกับปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น โดยควรคำนึงถึงการลดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสม เน้นปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและบริหารจัดการวัตถุดิบ ทั้งในแง่ของการจัดหาซัพพลายเออร์ที่เหมาะสม ประกอบกับการหาวัตถุดิบทดแทนและเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำธุรกิจให้ปรับตัวในวิกฤติได้รวดเร็ว ควรเริ่มปรับใช้ Data analytics ในการเข้าใจความต้องการของลูกค้า นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการและปรับปรุงในระยะยาว


   

นางสาว​ศิลินลักษ์ ตุลยานันต์ Chief Executive Officer​ บริษัท ฟู้ด อีควิปเม้นท์ จำกัด​ มองว่าว่า การวางระบบสั่งซื้อให้ดีขึ้น โดยเอาข้อมูลสต๊อกที่ได้มาจากการใช้โปรแกรม ERP ซึ่งเพิ่งติดตั้งมาวิเคราะห์ ปรับการซื้อเป็นล็อต ล๊อกอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า รวมถึงการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญอย่างทีม SCB ทั้ง RM และห้องค้าเยอะๆ ตลอดจนการใช้โอนเงินต่างประเทศ ผ่าน ​Platfrom Online สามารถทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนได้มากขึ้น รวมถึงสามารถช่วยในการพยุงราคา องค์กรไม่ต้องปรับราคาสินค้ากับลูกค้าได้ 

นอกจากนั้นในช่วงโควิดที่ผ่านมา จากการช่วยพนักงานทุกคนให้อยู่รอดเติบโตไปกับบริษัท จึงทำให้ได้ บริษัทฯ แรงงานฝีมือดีที่เกิดจากการบอกต่อเข้ามาเพิ่มอีกด้วย


นางสาว​ศิลินลักษ์ ตุลยานันต์ Chief Executive Officer​ บริษัท ฟู้ด อีควิปเม้นท์ จำกัด

สามารถติดตามกิจกรรมงานสัมมนาที่จะเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจจากธนาคารไทยพาณิชย์และพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการลูกค้าเอสเอ็มอี ผ่านช่องทาง website: www.scb.co.th/th/sme-banking
และ Facebook: www.facebook.com/groups/scbsme
หรือ ติดต่อสอบถามข้อมูลธุรกิจได้ทาง SCB SME Business Call Center โทร. 02-722-2222