นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีแผนที่จะช่วยบรรเทาปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงิน เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจ โดยเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลกว่าหนึ่งแสนล้านบาทในช่วงวันที่ 13 -20 มีนาคม 2563 ลดและยกเลิกการออกพันธบัตร และพร้อมที่จะเข้าดูแลตลาดพันธบัตรรัฐบาลให้ทำงานได้ตามปกติ ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลผันผวน

“จากภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคตลาดเงินและตลาดทุนลงทุน ทั้งนี้ ธปท. มีแผนที่จะนำเรื่องผลกระทบดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมและหารือกันในวันพรุ่งนี้ (23 มี.ค.) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีการช่วยเหลือ ทั้งนี้คาดว่าจะเห็นความชัดเจนในได้ภายหนึ่งสัปดาห์ ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือประชาชน ธปท.มีแผนประชุมหารือในวันที่ 24 มี.ค.นี้”นายวิรไท กล่าว

อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และเห็นควรออกมาตรการสนับสนุนเสถียรภาพตลาดการเงินไทยด้วยการดำเนินงานใน 3 ด้าน ได้แก่
1. กองทุนรวมตราสารหนี้ ธปท.จัดตั้งกลไ กพิเศษเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่กองทุนรวมผ่านธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจากการประมาณการเบื้องต้นพบว่ามีกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์คุณภาพดีที่สามารถนำมาวางเป็นหลักประกัน เพื่อขอสภาพคล่องจาก ธปท.ได้ มูลค่ารวมกว่าหนึ่งล้านล้านบาท

2. ตราสารหนี้ภาคเอกชน สมาคมธนาคารไทย ธนาคารออมสิน ธุรกิจประกันภัย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ร่วมกันจัดตั้ง กองทุนเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ วงเงินเริ่มต้น 70,000 – 100,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนออกใหม่ของบริษัทที่มีคุณภาพดี แต่ประสบปัญหาตลาดขาดสภาพคล่องจนส่งผลให้ไม่สามารถต่ออายุ (rollover) ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดได้ครบทั้งจำนวน

3. ตราสารหนี้ภาครัฐ ธปท. พร้อมที่จะดูแลให้กลไกตลาดตราสารหนี้ภาครัฐทำงานได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ และมีสภาพคล่องเพียงพอ ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง มาตรการเหล่านี้จะเสริมสภาพคล่องของตลาดการเงินและช่วยให้กลไกตลาดตราสารหนี้กลับมาทำงานได้อย่างปกติท่ามกลางภาวะตลาดการเงินโลกที่ผันผวน และจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตราสารหนี้

สำหรับวัตถุประสงค์การจัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนเพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องชั่วคราว เพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยเฉพาะการระดมทุนในตลาดแรกให้ทํางานได้ เป็นปกติ และลดทอนความเสี่ยงเชิงระบบ ต่อภาคเศรษฐกิจและ ระบบการเงิน

โดยประเภทกองทุน จะเป็นกองทุนเปิดสําหรับนักลงทุนสถาบัน ขนาดเบื้องต้นไมต่ำกว่ากว่า 70,000-100,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องสําหรับหุ้นกู้ที่ครบกําหนดในปี 2563 - 2564 และอาจพิจารณาขยายขนาดกองทุนในภายหลัง ซึ่งจะเป็นระดมทุนจากนักลงทุนสถาบัน อาทิ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสนิ บริษัทประกัน กองทุน บําเหน็จบํานาญข้าราชการ เป็นต้นมีอายุ ประมาณ 2-3 ปี

ในส่วนของเงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือนั้น บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือเป็น investment grade ตั้งแต่BBB- ขึ้นไป ณ วันจัดตั้งกองและต้องเป็นบริษัทที่มีฐานะการดําเนินงานดีอยู่เพียงขาดสภาพคล่องชั่วคราว บริษัทต้องดําเนินการจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายใน 

หรือหาแหล่งเงินทุนภายนอก ในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 50% ของยอดที่จะครบกําหนด และเมื่อผ่านเงื่อนไขตามที่กําหนดบริษัทผู้ออกตราสารสามารถให้ผู้จดัการออกตราสารหรือผู้ จัดจําหน่ายตราสาร ติดต่อมายังกองทุนฯ เพื่อเสนอขายตราสารหนรี้ะยะสั้น ไม่เกิน 270 วัน