วิกฤติการณ์โรคระบาดจาก โคโรนาไวรัส (Corona virus) ที่ในปัจจุบันนี้ มีชื่อเรียกใหม่ว่า COVID-19 โดยย่อมาจาก Corona Virus Disease 2019 กำลังสร้างความตื่นตระหนกและความกังวลใจให้กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสร้างผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสาธารณสุข และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มวลมนุษยชาติต้องเผชิญหน้ากับไวรัสสายพันธุ์นี้ TerraBKK จะพาไปย้อนรอยดูว่าโคโรนาไวรัส ที่เคยเกิดขึ้นสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากแค่ไหนที่ผ่านมา

 

ย้อนรอยอดีตของโคโรนาไวรัส

  • ปี 2545 -โรคซาร์ส (SARS) - โคโรนาไวรัส เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบทางเดินหายใจ โดยหากย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นที่ทำให้โลกได้รู้จักไวรัสชนิดนี้ จะพบว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2545 โดยมีจุดเริ่มต้นในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน และเกิดการระบาดอย่างรุนแรงไปทั่วโลกในปี 2546 ครอบคลุมทั้งหมด 29 ประเทศ โดยมีผู้ติดเชื้อ 8,098 คน เสียชีวิต 774 ราย โดยคิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 8% โดยโคโรนาไวรัสชนิดนี้มีชื่อเรียกในตอนนั้นว่า โรคซาร์ส (SARS) และสำหรับประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อ 1 ราย แต่ถึงแม้จะพบผู้ติดเชื้อเพียงแค่หนึ่งคน ทว่าผลกระทบจากโรคซาร์สสร้างความเสียหายกับเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดย สำนักงานสถาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่าโรคซาร์ส ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ลดลงมาอยู่ที่ 1.45 ล้านคน หรือคิดเป็น 40.2% ทำให้ไทยสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวถึง 31,000 ล้านบาท
  • ปี 2552 – ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 - หลังจากโลกได้รู้จักกับโคโรนาไวรัสครั้งแรก การมาเยือนครั้งที่สองก็เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อ 10 ปีก่อน โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศเม็กซิโก ซึ่งมีชื่อเรียกในตอนนั้นว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ทวีความรุนแรงของการระบาดเพิ่มขึ้นเป็น 116 ประเทศ โดย องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าในปี 2552 พบว่ามีผู้ติดเชื้อ 622,482 คน และมีผู้เสียชีวิตถึง 18,000 คน หรือคิดเป็น 28% ถึงแม้อัตราการเสียชีวิตจะต่ำกว่าโรคซาร์ส แต่ในด้านการระบาดแล้วนับว่ารุนแรงกว่ามาก สำหรับในประเทศไทยพบว่ามีผู้ติดเชื้อถึง 30,956 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตถึง 196 ราย โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานการประเมินว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจถึง 60,000 ล้านบาท
  • ปี 2558 - โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) - โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง พบการติดเชื้อครั้งแรกในประเทศซาอุดิอาระเบีย (ปี 2555) ก่อนจะระบาดใน 27 ประเทศ โดยมีผู้ติดเชื้อทั่วโลก 2,494 ราย เสียชีวิต 858 ราย คิดเป็น 4% รคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) อาจดูไม่คุ้นหูคนไทยเท่ากับ โรคซาร์ส หรือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 เท่าไรนัก เนื่องจากประเทศไทยไม่ค่อยได้รับผลกระทบอะไรจากโรคนี้ โดยพบว่าในไทยมีผู้ติดเชื้อเพียง 2 ราย เป็นชาวโอมานและชาวคูเวต โดยในปีนี้นอกจากประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบแล้ว ยังมีการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติถึง 29,92 ล้านคน เพิ่มขึ้น 20.6% จากปี 2557 ซึ่งในปีเดียวกันนี้เอง ทำให้ไทยได้อันดับ 6 ด้านความพร้อมในการรับมือวิกฤตโรคระบาด (Global Health Security Index)
  •  

 

  • ปี 2562 – โคโรนาไวรัส หรือ COVID-19 (Corona Virus Disease 2019) - ผ่านระยะเวลามาเพียง 4 ปี โคโรนาไวรัส ก็กลับมาเยือนมนุษยชาติอีกครั้ง โดยพบการติดเชื้อครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โดยครั้งนี้นับเป็นการทวีความรุนแรงของเชื้อไวรัสโคโรนาอย่างถึงที่สุดในรอบ 17 ปีที่ผ่านมา เพราะมีผู้ติดเชื้อครอบคลุมถึง 176 ประเทศทั่วโลก โดยในปัจจุบัน (20 มีนาคม 2563) พบผู้ติดเชื้อถึง 246,004 ราย ผู้เสียชีวิต 10,049 คน คิดเป็น 4.08%% ความรุนแรงของ COVID-19 คือสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว​ เนื่องจากเชื้อไวรัสจะไม่แสดงอาการใน 7-14 วันแรก ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ และระบบสาธารณสุขไม่เพียงพอต่อการรักษา โดยปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อสะสม 322 คน เสียชีวิต 1 คน คาดว่าในตอนนี้ประเทศไทยมีความสูญเสียด้านเศรษฐกิจไปแล้วถึงประมาณ 100,000 ล้านบาท
  •