ความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-Esteem) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตและนำไปสู่ความสำเร็จได้ ที่สำคัญยังทำให้แก้ปัญหาเป็น เอาชนะอุปสรรคได้ดี มีทัศนคติที่ดี นับถือตนเอง และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งจำเป็นที่พ่อแม่จะต้องค่อยๆสร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้ลูกตั้งแต่ขวบปีแรกเพื่อให้เด็กนับถือและเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

1. กระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากความคิดผู้ใหญ่เวลาเด็กเสนอความคิดเห็น หากรู้ว่าผู้ใหญ่ยอมรับความคิดของตน เด็กจะกล้าแสดงออก ดีใจที่ได้รับการยอมรับ ช่วยให้แก้ปัญหาต่างๆ โดยไม่ต้องพึ่งความเห็นผู้อื่น

2. แสดงการยอมรับเด็กพ่อแม่ต้องใช้คําพูดที่แสดงการยอมรับในทัศนคติหรือความเห็นของเด็ก เพื่อเป็นการแสดงการยอมรับในตัวเด็ก วิธีนี้จะทําาให้เด็กเห็นความสําคัญของตัวเอง มั่นใจ และกล้าแสดงออก แต่ไม่ได้หมายความว่าอนุญาตให้เด็กทําได้ทุกอย่างตามใจชอบ

3. ชี้ให้เด็กเห็นว่ามีความพิเศษแตกต่างจากผู้อื่นเช่น ลูกระบายสีรูปนี้สวยจริงๆ เป็นต้น ทําให้เด็กรู้สึกถึงความดีงามในตนเอง รู้ว่าอะไรทําได้ดี เสริมให้ดียิ่งขึ้น และเด็กจะได้รู้ความก้าวหน้าของตนเองจากคําาพูดพ่อแม่ เช่น วันก่อนทําไม่ได้ วันนี้ลูกทําได้ดี คราวหน้าดีกว่านี้แน่ เป็นต้น และต้องทําให้เด็กรู้ว่าแม้ทําต่างจากผู้อื่นก็ได้รับการยอมรับเช่นกัน

4. ให้เด็กทําตามวิธีของตัวเองมากที่สุดทั้งการแก้ปัญหา การตัดสินใจ หรือทําสิ่งใดๆ โดยที่พ่อแม่เข้าไปยุ่งให้น้อยที่สุด แต่ให้เวลาที่เหมาะสม เมื่อเด็กทําสําเร็จและได้รับการยอมรับจากพ่อแม่ก็จะเกิดความรู้สึกพิเศษ พอใจ และมีคุณค่า

5. มอบโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างสร้างสรรค์พ่อแม่ควรหาวัสดุสิ่งของให้เพียงพอต่อการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ของลูก เช่น กระดาษ สีพู่กัน ดินน้ำมัน เป็นต้น รวมทั้งข้าวของไม่ใช้แล้วที่ดัดแปลงได้ เช่น เด็กอาจนําลังกระดาษมาต่อเป็นบ้าน เพื่อช่วยพัฒนาความสร้างสรรค์ให้ก้าวหน้าหรือให้เล่าเรื่องที่โรงเรียน ทั้งหมดนี้ช่วยให้เด็กแสดงออกอย่างสร้างสรรค์มากขึ้น

6. ให้เวลาเด็กแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในสิ่งที่สนใจโดยที่พ่อแม่ต้องไม่บังคับให้ทําตามรูปแบบหรือเวลาที่กําหนด อย่าขัดจังหวะและคํานึงถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องมากไป เพราะเด็กจะเห็นทุกอย่างสร้างสรรค์ เช่น ท่อนไม้ ฝากระป๋อง แกนกระดาษ ฯลฯ นํามาใช้เป็นสื่อเพื่อการแสดงออกได้ นอกจากนี้หนังสือในห้องสมุดและรายการทีวีที่เหมาะสมสําหรับเด็กก็เป็นเครื่องกระตุ้นให้เด็กแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ได้

7. ติเพื่อก่อ อย่าให้เสียน้ำใจ และเลี่ยงการเยาะเย้ยถากถางเพราะอาจทําให้เด็กไม่กล้าแสดงออกและรู้สึกว่าความสามารถของตนไม่ได้รับการยอมรับ พ่อแม่ควรคิดเสมอว่า ควรตัดสินเด็กจากการกระทํา ไม่ใช่ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพส่วนรวมของเด็ก เพราะหากเด็กฝังใจ ความรู้สึกนั้นจะอยู่ไปตลอดชีวิต และถ้าเด็กสนใจอะไรเป็นพิเศษ ควรให้การสนับสนุนและอย่าดูถูกความสามารถของเด็กหรือเย้ยหยันความคิดเด็ดขาด

8. สอนให้เด็กมีวินัย เคารพกฎกติกา ให้คําแนะนํา และหาวิธีให้เด็กแสดงออกเหมาะสมอย่าลงโทษเพราะเด็กทําอะไรผิด แต่ให้ดูว่าผิดอย่างไร เช่น ส่งเสียงดังในห้องของเด็กไม่ผิด แต่ถ้ามีแขกมาแล้วส่งเสียงดังที่ห้องรับแขกถือว่าผิด เป็นต้น และพ่อแม่ควรแนะนําให้เด็กทําางานหรือเล่นโดยไม่รบกวนผู้อื่น คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม ท่ามกลางคนหมู่มากต้องอดทน และหากพ่อแม่แสดงทางเลือกที่เหมาะสมแล้วเด็กเลือกมาปฏิบัติตาม ก็ควรแสดงการยอมรับและชมเชยความสําเร็จที่เกิดขึ้นของลูกด้วย

9. ชมเชยทุกครั้งที่เด็กทําดีเพราะเด็กที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ดีพิเศษอะไรจะไม่กล้ารับคําชมเชยเมื่อทําสําเร็จหรือทําาความดี และจะอายและกลัวคํานินทาจากคนอื่น พ่อแม่ควรหาคําชมเชยหรือยกย่องเป็นการส่วนตัว เพื่อแสดงให้เห็นว่าความสําเร็จของลูกเป็นเรื่องใหญ่และน่าประทับใจ

10. สอนเด็กให้เป็นคนดีมีคุณธรรมเด็กที่มีคุณธรรมสูงจะรู้สึกพิเศษต่างจากผู้อื่นแม้ไม่ได้วิเศษในด้านอื่น เช่น การเรียน กีฬา ฐานะ ฯลฯ พ่อแม่จึงควรฝึกอบรมคุณธรรม อย่างความซื่อสัตย์ เมตตากรุณา ไม่อิจฉาริษยา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น รวมทั้งฝึกให้เด็กเมตตาต่อสัตว์ด้วย

11. สอนลูกให้มองโลกแง่ดี คิดบวกฝึกให้สังเกตจุดดีของผู้อื่น พูดชมเชยแบบจริงใจ ยิ้มอยู่เสมอ หาจุดเด่นตัวเองเพื่อให้เกิดความรักในศักดิ์ศรี  ช่วยเหลือคนอื่น และเสียสละเพื่อส่วนรวม โดยไม่ต้องกลัวว่าคนอื่นจะไม่รักหรือทอดทิ้ง

12. มีเวลาให้กับลูกพ่อแม่ควรมอบหน้าที่ให้ลูกฝึกฝน มีเวลาและสนใจลูก รวมถึงกิจกรรมที่ลูกทําให้คําแนะนําเมื่อจําเป็นหรือลูกต้องการ ลูกจะได้อุ่นใจว่าพ่อแม่อยู่ข้างเขา รักและปรารถนาดีเสมอ ซึ่งจะทําให้เด็กรู้สึกมีคุณค่า

ที่มา : หนังสือรู้ทันปัญหาวัยรุ่นยุคใหม่ โดยชมรมสุขภาพวัยรุ่นราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยบทความการสร้าง Self-Esteem ในเด็กและวัยรุ่นบนฐานความเข้าใจด้านพัฒนาการ โดย เกียรติยงประวีณวรกุล นักจิตวิทยาคลีนิคเอกสารเคล็ดลับสร้าง Self-Esteem ตามวัย จากเว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลบทความ 5 วิธีเสริมสร้างความภูมิใจให้ลูก จากเว็บไซต์สําานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

SOURCE : www.thaihealth.or.th