หากลูกของคุณรู้สึกว่ากำลังเล่นกีฬามากเกินไป พวกเขาอาจต้องการความช่วยเหลือจากคุณในการป้องกันหรือช่วยพวกเขาผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ ความรู้สึกท้อถอยนี้มักจะค่อย ๆ เกิดขึ้น ในช่วงแรกอาจมาพร้อมกับความต้องการที่เกิดขึ้นจากการเล่นกีฬา เช่น ความกดดันที่ต้องการจะฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ  และการไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

          ต่อมาความต้องการเหล่านี้ก็จะเริ่มทับถมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเด็ก ๆ เล่นกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงเร็วเกินไป ฝึกซ้อมมากเกินไป หรือไม่มีเวลาสำหรับการไปทำกิจกรรมอย่างอื่น

          นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดจากการไม่ได้รับคำแนะนำในแง่บวกจากผู้ฝึกสอนหรือพ่อแม่ เด็กที่ค่อนข้างกังวล มีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ หรือเป็นคนชอบความสมบูรณ์แบบอาจจะมีแนวโน้มที่จะเกิดความรู้สึกนี้ได้ง่าย

          หลังจากนั้น คุณอาจจะเริ่มเห็นอาการของความรู้สึกท้อถอย ทักษะด้านกีฬาอาจจะถดถอยลง หรืออาจจะไม่สามารถเข้าร่วมการฝึกซ้อม หรือรู้สึกกระสับกระส่ายระหว่างการฝึกซ้อม ลูกของคุณอาจแสดงความสนใจต่อการเล่นกีฬาลดลง และอาจสังเกตอารมณ์หงุดหงิด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามร่างกายได้ที่บ้าน

วิธีที่ฉลาดในการก้าวข้ามปัญหานี้

          ยาที่ดีที่สุดสำหรับรักษาอาการนี้ก็คือการหยุดพัก ควรมองหาวิธีที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จ ตัวอย่างเช่น

  • พักหายใจ: หยุดการซ้อมรอบพิเศษหรือการแข่งขันนัดพิเศษ
  • ขอถอย: พูดคุยกับผู้ฝึกสอนเพื่อขอลดสัปดาห์การซ้อมหรือการเล่น
  • จำกัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกีฬา: ตัวอย่างเช่น นับจำนวนที่ตีลูกเบสบอลหรือลดจำนวนกิจกรรมที่ลูกของคุณต้องเข้าร่วมเวลาไปซ้อมว่ายน้ำ
  • พักยาว: หยุดพักสักฤดูกาลหนึ่งแต่ยังวางแผนที่จะกลับไปเล่นต่อ; ลองหยุดพักการแข่งหนึ่งฤดูกาลรวมถึงค่ายช่วงฤดูร้อน

          การลดจำนวนเช่นนี้อาจช่วยหยุดความรู้สึกท้อถอยที่เกิดขึ้นได้ แต่หากยังคงมีความรู้สึกเช่นนั้นอยู่ คุณอาจจะต้องการทำอะไรที่มากกว่านั้น เช่น การเปลี่ยนผู้ฝึกสอน ทีม หรือกีฬาที่เหมาะกับพวกเขามากขึ้น

          ทางที่ดีที่สุดก็คือการเน้นที่การพัฒนาทักษะและเป้าหมายของตัวเองมากกว่าเน้นที่ชัยชนะ

          นอกจากนั้น การเน้นสุขภาวะของคุณให้เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการลดความรู้สึกท้อถอยก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ควรให้ลูกของคุณพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ซึ่งจะช่วยให้พวกเขามีพลังงานมากขึ้นมากกว่าจะทำให้ช้าลง ช่วยพวกเขาเรียนรู้ที่จะรับฟังร่างกายของตัวเองเมื่อมันต้องการการพักผ่อนทั้งทางกายและทางใจ

          เพราะถ้าไม่อย่างนั้น ลูกของคุณอาจจะยังคงมีอาการเช่นนี้ต่อไป หรืออาจจะหมดความสนใจในการเล่นกีฬาไปอย่างถาวร

จะหยุดยั้งความรู้สึกนี้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

          สำหรับ Tammy O’Keefe ซึ่งมีลูกสาวสองคนเล่นฟุตบอลแล้วนั้น ช่วงเวลาหยุดพักระหว่างการแข่งขันเป็นเรื่องที่สำคัญ “ในช่วงฤดูกาลแข่งขัน ฉันจะไม่ให้ลูกสาวของฉันออกกำลังกายหรือเล่นนอกบ้านในวันหยุดของพวกเขา ฉันจะไม่ว่าเรื่องการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (หากพวกเขาทำการบ้านเสร็จแล้ว) ในวันว่างเหล่านี้ มันดูเหมือนจะช่วย เพราะพวกเขาไม่ได้มีเวลาว่างมากขนาดนั้นในวันที่ต้องฝึกซ้อม ดังนั้นมันจึงเป็นการพยายามสร้างสมดุลและพวกเขาก็มีความสุขมากขึ้น

          Gail O’Connor แม่อีกคนหนึ่งซึ่งเคยเป็นนักกีฬาว่ายน้ำมาก่อนนั้นอนุญาตให้ลูกสาวของเธอหยุดพักตลอดการแข่งขันว่ายน้ำในฤดูใบไม้ร่วง

          “เธอรู้ว่าเธอจะไม่สามารถว่ายได้เร็วขึ้นเมื่อมาถึงฤดูกาลถัดไป แต่เธอก็ไม่ได้สนใจ เธอต้องการเวลาเพิ่มเติมสำหรับการลองเรียนเต้นแท็ปและเล่น playdates เธออาจจะว่ายน้ำได้ช้าลง หรืออาจจะโกรธฉันเมื่อเวลาผ่านไปที่ไม่ผลักดันเธอให้มากกว่านี้ หรือเธออาจจะอยากว่ายน้ำต่อเพราะว่าฉันไม่ได้กดดันให้เธอว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลาก็ได้”

          Sonia Cerza มีลูก 4 คน ลูกชาย 3 คนของเธอนั้นเข้าแข่งขันงัดข้อ เธอและสามีส่งเสริมให้พวกเขาเล่นกีฬาเพียงอย่างเดียวหลังจากที่เริ่มปีที่สองของการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มันทำให้พวกเขามีเวลาว่างมากขึ้นในฤดูร้อนและช่วงนอกฤดูกาลแข่งขัน และมันดูเหมือนจะเป็นไปได้ด้วยดี

          Tim Kulka เป็นผู้ที่เชื่อในการฝึกซ้อมข้ามชนิดกีฬามาตลอด ได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อเด็กได้เล่นกีฬาเพียง 11 ชนิด เขาจะไม่มีช่วงเวลาหยุดพัก แต่หากเล่นกีฬาต่างชนิดกัน ก็จะเป็นการใช้กล้ามเนื้อในตำแหน่งที่ต่างกัน” การเข้าร่วมกีฬาหลายชนิดจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ทักษะและสร้างความแข็งแรงที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การเล่นฟุตบอลนั้นเป็นกีฬาประเภททีมซึ่งอาศัยทักษะในการเลี้ยงลูกและความแข็งแรงของขาจากการวิ่ง ในขณะที่ว่ายน้ำนั้นเป็นกีฬาเดี่ยวและใช้ทั้งร่างกายในความหนักที่น้อยกว่า

ขอบคุณข้อมูลจาก www.honestdocs.co