เป็นที่รู้กันหลายปีแล้วว่ามีความเชื่อมโยงกันระหว่างความเครียดและสถานะทางเศรษฐกิจสังคม ผู้ที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมด้อยกว่ามีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความเครียดที่มากกว่าและเป็นที่รู้กันว่าความเครียดส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และผู้ที่มีความเครียดในระดับสูงมีแนวโน้มจะแสดงอาการของความเครียดและเผชิญกับปัญหาทางสุขภาพที่สัมพันธ์กับความเครียด เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) อย่างไรก็ตาม พบว่าเด็กที่มีชีวิตอยู่อย่างยากจนทนทุกข์ทรมานจากปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรงกว่าผู้ใหญ่ และยิ่งดำรงชีวิตอยู่อย่างยากจนนานเท่าไหร่ สุขภาพก็ยิ่งแย่ลงเท่านั้น

ทำไมสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น?

          การศึกษาที่ช่วยตอบคำถามนี้ได้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Psychological science พบว่า ยิ่งเด็กใช้ชีวิตอย่างยากจน ร่างกายของพวกเขาก็จะยิ่งรับมือกับความเครียดจากสภาวะแวดล้อมได้แย่ลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพระยะยาว "เราคิดว่ากลไกเหล่านี้อาจสัมพันธ์กับความจริงที่ว่าเด็กที่เติบโตขึ้นมาอย่างยากจนมีวิถีทางไปสู่ปัญหาทางสุขภาพก่อนวัยอันควรเร็วกว่าเด็กคนอื่นๆ ไม่ว่าสถานะเศรษฐกิจสังคมในวัยผู้ใหญ่จะเป็นอย่างไร" Gary Evans ศาสตราจารย์ทางมนุษยนิเวศวิทยาของมหาวิทยาลัย Cornell แห่ง Ithaca ใน New York กล่าวในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ทางสื่อ

          "การตอบสนองที่ลดลงของกลไกจัดการความเครียด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบหัวใจและหลอดเลือด ไม่เพียงแต่ลดความสามารถของร่างกายของวัยรุ่นที่จะตอบสนองต่อความเครียด เช่น เสียง บ้านที่ย่ำแย่ และความวุ่นวายในครอบครัว แต่ยังบ่งชี้ว่าพวกเขาทรมานจากความอ่อนล้าทางสรีรวิทยาของอวัยวะต่างๆ และเนื้อเยื่อในร่างกายจากความเครียดที่มากกว่าคนอายุน้อยคนอื่นๆ"

นี่หมายความว่าอะไร?

          การศึกษานี้มีความสำคัญต่อทุกคนในสังคม ไม่ใช่แค่สำหรับผู้ที่ยากจน "ประชาชนจำเป็นต้องเข้าใจว่าการยกระดับความยากจนให้เท่าเทียมกันทำให้ทุกคนต้องใช้เงิน" Evan ยังกล่าวเพิ่มอีกว่า "การที่เด็กที่ยากจนเจ็บป่วยก่อนวัยอันควรและเสียชีวิตไปเมื่ออายุน้อยกว่าคนอื่นๆ เป็นความเสียหายร้ายแรงต่อสังคม" ยิ่งไปกว่านั้น การค้นพบเหล่านี้ยังเน้นย้ำความเสียหายที่เรารับรู้ได้จากความเครียดเรื้อรังและสิ่งกระตุ้นความเครียดที่จำเพาะ เช่น ความวุ่นวายของความสัมพันธ์ มลภาวะทางเสียง และความเดือดร้อนด้านการเงิน พวกเขายังย้ำเรื่องความจำเป็นในการจัดการความเครียดสำหรับเด็ก ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พ่อแม่มักไม่ได้ตระหนัก

คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง?

          ปัญหานี้ไม่ได้มีทางออกที่เรียบง่าย แต่ยังมีสิ่งที่เราสามารถทำเพื่อช่วยเหลือได้ หากคุณกำลังประสบกับความยากจน นอกจากจะหาข้อได้เปรียบจากทรัพยากรที่น่าจะมีศักยภาพในสภาพแวดล้อมของคุณ การสร้างแผนการจัดการกับความเครียดหรือแม้แต่การทำกิจวัตรที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดอย่างรวดเร็วก็สามารถช่วยลดความเครียดและพัฒนาความสามารถในการรับมือกับความเครียดได้

          นอกจากนั้น การสอนให้เด็กจัดการกับความเครียดยังสามารถช่วยพวกเขาให้มีเครื่องมือรับมืออย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน การเริ่มต้นที่จำเพาะเพื่อรับมือกับเสียงที่รบกวนมากเกินไป (ดูได้ข้างล่าง) และความเครียดทางการเงินสามารถช่วยได้ และการรักษาความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยังช่วยต้านความเครียดได้เช่นกัน เนื่องจากประเด็นเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อเราได้ทุกคน จึงควรตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ต่อไปนี้

          ความเครียดและมลภาวะทางเสียง : คุณอาจไม่ตระหนักถึงผลกระทบจากมลภาวะทางเสียงเนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปซักพัก คุณก็จะชินกับมัน อย่างไรก็ตาม มลภาวะทางเสียงสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณและลูกของคุณเช่นกัน เรียนรู้ว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว

          เครื่องมือในความสัมพันธ์ : ด้วยความเป็นผู้ใหญ่ เราตระหนักว่าความขัดแย้งกับคู่ครองเป็นเรื่องน่ากลุ้มใจ แต่เรามักจะไม่ตระหนักว่าความขัดแย้งในความสัมพันธ์ของผู้ใหญ่ก็ส่งผลกระทบต่อเด็กๆ เช่นกัน ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับบางอย่างในการรับมือกับความขัดแย้งในทางที่ดีเพื่อลดความเครียดของทุกคน

          การจัดการความเครียดสำหรับเด็ก : เด็กจำเป็นต้องฝึกการจัดการกับความเครียดด้วยหรือ? พนันกันมั้ยล่ะ! นี่เป็นสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เพื่อเตรียมพร้อมให้ลูกของคุณมีทักษะสำคัญที่พวกเขาจะต้องใช้ไปตลอดชีวิต

          การจัดการความเครียดสำหรับพ่อ : แม้การเป็นพ่อแม่ก็มีความเครียดมากด้วยตัวมันเองอยู่แล้วและสามารถทำให้คุณเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้ พ่อแม่จำเป็นต้องดูแลตนเองด้วยเพื่อจะได้ดูแลผู้อื่นได้ ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับในการจัดการความเครียดที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ รวมถึงกลวิธีที่คุณสามารถใช้กับลูกได้ด้วย

จะช่วยได้อย่างไร?

หากคุณโชคดีพอที่จะได้ช่วยเหลือ เข้าไปดูหนึ่งในเว็บไซต์ที่ฉันชอบมากที่สุด คือ ChangingThePresent.org. พวกเขาจะหาวิธีให้คุณหลายร้อยวิธีที่จะช่วยเหลือผู้อื่น

ขอบคุณข้อมูลจาก www.honestdocs.co