ใครๆ ก็มี บ้านในฝัน เป็นของตัวเองกันทั้งนั้น ซึ่งหนทางที่จะทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้น นั้นคือ การกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย ค่ะ

สินเชื่อที่อยู่อาศัย ถึงแม้จะดูเป็นหนี้ก้อนใหญ่ แต่ก็เป็นสินเชื่อที่มีดอกเบื้ยต่ำ และมีระยะเวลาการผ่อนที่ยาวนานเมื่อเทียบกับสินเชื่ออื่นๆ หลายๆ คน อยากที่จะกู้สินเชื่อบ้านให้ได้เต็ม 100% ไปเลย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องควักเงินออกจากกระเป๋าตัวเองสักแดงเดียว

แต่การจะกู้สินเชื่อให้ได้เต็มจำนวน มันเป็นไปได้มากน้อยแต่ไหน ตาม rabbit finance มาหาคำตอบกันค่ะ

กู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย 1

บ้านแบบไหนบ้างที่ กู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย ได้ 100%

ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศ เกณฑ์การกํากับดูแล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ (Loan to Value) และกำหนด LTV ratio ที่เหมาะสม (สัดส่วนวงเงินกู้) สำหรับการให้สินเชื่อหรือให้กู้ยืมเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยไว้ 3 กรณี คือ

1.สินเชื่อที่อยู่อาศัย ราคา 10 ล้านบาท ขึ้นไป

กำหนด LTV ratio ไว้ที่ สัดส่วน 80% หรือต้องมีเงินดาวน์ไม่ต่ำกว่า 20% ของมูลค่าหลักประกัน

2.สินเชื่อที่อยู่อาศัยแนวสูง ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท (คอนโดมิเนียม)

กำหนด LTV ratio ไว้ที่ สัดส่วน 90% หรือต้องมีเงินดาวน์ไม่ต่ำกว่า 10% ของมูลค่าหลักประกัน

3.สินเชื่อที่อยู่อาศัยแนวราบ ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท (บ้านเดี่ยว บ้านแฝดทาวน์เฮ้าส์)

กำหนด LTV ratio ไว้ที่ สัดส่วน 95% หรือต้องมีเงินดาวน์ไม่ต่ำกว่า 5% ของมูลค่าหลักประกัน

เราจะเห็นว่าตามหลักเกณฑ์ของแบงก์ชาติ จะไม่มีกรณีใดๆเลย ที่เราสามารถกู้ซื้อบ้านได้ในวงเงินเต็ม  100% ค่ะ

แต่มาตราฐานเหล่านี้ ไม่ได้ห้ามหรือบังคับว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องทำตามซะทีเดียว หมายความว่า ยังมีธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ที่อนุญาตให้คุณขอ กู้ซื้อบ้าน ได้เต็ม 100% อยู่ค่ะ

กู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย 2

อยากกู้สินเชื่อบ้านได้ 100% มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

วงเงินกู้ 100% ที่ว่านี้ คือ ราคาประเมินทรัพย์ ค่ะ เช่น ถ้าเราซื้อบ้านมา 8 ล้านบาท แต่พอประเมินแล้ว บ้านมีราคา 7.5 ล้านบาท เราก็จะได้วงเงินกู้ในราคา 7.5 ล้านบาทเท่านั้นค่ะ

โดยเงื่อนไขที่จะสามารถกู้สินเชื่ออาศัยได้เต็ม 100% นั้น มีคร่าวๆ คือ

ต้องเป็นบ้านใหม่ ที่ธนาคารสนับสนุน

ในการที่จะกู้เงินซื้อบ้านให้ได้ 100% เต็มนั้น ธนาคารอาจจะกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเป็นบ้านมือหนึ่ง หรือบ้านในโครงการใหม่ ที่เป็นการซื้อขายตรงกับเจ้าของโครงการเท่านั้น จึงจะ ขอกู้ผ่าน และได้วงเงินเต็มตามที่ต้องการค่ะ

โครงการเหล่านี้ มักจะเป็นโครงการที่มีสัญญาเฉพาะกับธนาคารนั้นๆ อยู่แล้ว ดังนั้นถ้าคุณรู้ว่า โครงการบ้านที่คุณอยากได้ ไปทำสัญญาไว้กับธนาคารไหน ก็ให้เลือกไป ขอสินเชื่อ กับธนาคารนั้นเลยค่ะ

ความสามารถของผู้กู้

การที่จะกู้สินเชื่อให้ได้วงเงินสูงๆ ปัจจัยสำคัญ คือ ผู้กู้จะต้องมีความสามารถใน การชำระหนี้ ที่สูงด้วยเช่นกันค่ะ โดยในการชำระสินเชื่อ งวดชำระที่เหมาะสมจะต้องไม่เกิน 40% ของรายได้ของผู้กู้

หมายความว่า ถึงแม้คุณจะไปเจอบ้านที่ตรงกับเงื่อนไขในข้อแรก แต่ถ้าคุณมีรายได้ไม่พอจ่ายค่างวดสินเชื่อ 100% หรือมีภาระหนี้สินอื่นๆ อยู่มากเกินไป ธนาคารก็จะไม่อนุมัติเงินกู้ 100% ให้กับคุณหรือคุณอาจจะได้วงเงินกู้ที่ต่ำลงนั่นเองค่ะ

กู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย 3

ไม่อยู่ในเงื่อนไข แต่อยากได้ สินเชื่อกู้บ้าน 100% มีวิธีอื่นหรือไม่

ถึงแม้ว่าบ้านในฝันหรือรายได้ของคุณ จะไม่ตรงกับเงื่อนไขที่จะสามารถกู้บ้านได้ในวงเงินเต็ม 100% แต่มันก็ยังมีวิธีอื่นๆ ที่จะช่วยให้คุณ กู้เงินได้ในวงเงินที่สูง ขึ้นอยู่ค่ะ

กู้ร่วม

การกู้ร่วม หมายความว่า คุณจะมีคนมาช่วยจ่ายค่าผ่อนบ้านเพิ่มขึ้นอีกแรงหนึ่งค่ะ ซึ่งทำให้คุณดูมีความสามารถในการชำระหนี้เพิ่มขึ้นในสายตาของธนาคาร และอาจจะทำให้คุณได้วงเงินกู้บ้านที่สูงขึ้นได้นั่นเอง

กู้สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่ม

ในกรณีที่บ้านที่คุณอยากได้ ไม่ตรงกับเงื่อนไขข้างต้น คุณสามารถขอกู้ สินเชื่อส่วนบุคคล มาแปะวงเงินที่เหลือได้ค่ะ

แต่คุณต้องไม่ลืมว่า ดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น สูงกว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัย และมันจะทำให้คุณต้องผ่อนหนี้เพิ่มเป็น 2 ก้อนด้วย ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยแนะนำวิธีนี้ถ้าไม่จำเป็นค่ะ

แยกสินเชื่อเป็น 2 ก้อน คือ สินเชื่อกู้บ้าน กับ สินเชื่อกู้ตกแต่งบ้าน

คือ การแยกวงเงินกู้เป้น 2 บัญชีค่ะ เช่น ก้อนแรก เป็นวงเงินกู้ซื้อบ้าน 80-90% และอีกก้อนหนึ่งเป็น สินเชื่อตกแต่งบ้าน 10-20% เพียงเท่านี้ คุณก็จะสามรถได้วงเงินกู้เต็ม 100% แล้วล่ะค่ะ

แต่ก็เช่นเดียวกัน มันหมายความว่าคุณจะต้องมีหนี้ผ่อนบ้านและภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะฉะนั้นอย่าลืมดูตัวเองด้วยนะคะว่าไหวหรือเปล่า

ไม่ว่าคุณจะยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ในวงเงินเท่าไหร่ สิ่งที่สำคัญกว่า คือ อย่าลืมผ่อนค่าบ้าน กันด้วยนะคะ ไม่อย่างนั้น บ้านในฝันของคุณอาจจะหายวับไปในพริบตาได้เลยทีเดียว อย่าหาว่า rabbit finance ไม่เตือนน้า

ขอบคุณข้อมูลจาก rabbitfinance.com