คุณคงเบื่อกับคำตอบคลาสสิคที่คนส่วนใหญ่พูดว่า “ที่เหล่ามหาเศรษฐี หรือ นักธุรกิจระดับโลก อย่าง Apple ประสบความสำเร็จ ทั้งที่เริ่มต้นจากการไม่มีต้นทุนในชีวิตเลย นั้นเกิดจากการที่เขาเป็นคนที่มีความพยายาม อดทน เขาจึงประสบความสำเร็จ” คำตอบนี้ ไม่ผิดค่ะ! แต่มันอาจจะใช้เวลาสักหน่อย ถ้าเกิดว่าคุณไม่รู้ความลับความสำเร็จเหล่านั้น 

คุณทราบหรือไม่ว่า ความลับความสำเร็จของ Apple , มาร์ติน ลูเธอร์ คิง , สองพี่น้องตระกูลไรท์ คนดังระดับโลกอีกหลายๆ คน ใช้หลักการคิดแบบเดียวกันที่ไม่ใช่แค่ความพยายาม มันมาจากแนวคิดที่เรียกว่า วงกลมทองคำ (Golden Circle) ที่ถูกค้นพบโดยนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ และ ที่ปรึกษาด้านการตลาด ระดับโลกอย่างSimon Sinek

Apple ใช้หลักการ Golden Circle

Golden Circle

แนวคิด Golden Circle หรือ วงกลมทองคำ เป็นกลยุทธ์ที่อธิบายจากวงกลม 3 วงซ้อนกัน

- วงนอก คือ คำถามว่า “อะไร”

- วงกลาง คือ “อย่างไร”

- วงใน ที่สำคัญที่สุดก็คือ “ทำไม”

Simon Sinek ได้อธิบายว่า คนบนโลกส่วนใหญ่ รู้ว่าตัวเองทำอะไร และทำอย่างไร เช่น เรารู้ว่างานที่เราทำคืองานอะไร และต้องทำอย่างไรถึงจะสำเร็จ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นทำไป “ทำไม”

ซึ่งคำว่า “ทำไม” นั้นหมายถึง จุดมุ่งหมาย หรือความเชื่อของเราที่มีต่อสิ่งที่เราทำ ว่าทำไมเราจะต้องทำงานนี้? องค์กรของเราถูกตั้งมาทำไม? ทำไมคนอื่นจึงต้องสนใจในสิ่งที่คุณทำ?

การสื่อสารจากคนส่วนใหญ่มักจะคิดจากด้านนอก เข้ามาด้านในนั่นก็คือ (อะไร -อย่างไร – ทำไม) แต่ความลับของผู้นำระดับโลก และองค์กรเล็กใหญ่ในทุกธุรกิจที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ มักจะคิดเริ่มต้นจากข้างในออกมาข้างนอก (ทำไม – อย่างไร – อะไร)

ซึ่งหลักการของวงกลมทองคำอันนี้นั้นถูกถอดรหัสให้เข้ากับการทำงานของสมองของเรา ดังนี้ 

Neocortex จะทำหน้าที่เกี่ยวกับเหตุผล คิด วิเคราะห์ ภาษา

Limbic จะทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความรู้สึก เช่น ความไว้วางใจ จงรักภักดี และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์ และการตัดสินใจทั้งหมด แต่มันไม่มีศักยภาพด้านภาษา นั่นหมายความว่า เราสื่อสารจากด้านนอกเข้าด้านใน สามารถเข้าใจข้อมูลที่ซับซ้อนได้ เช่น ตัวเลข ข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้

ในกรณีที่เราสื่อสารจาก ด้านในไปด้านนอก เราจะสื่อสารกับสมองโดยตรง ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรม แล้วเราก็ให้ผู้ฟังหาเหตุผลสนับสนุนโดยใช้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรมจากสิ่งที่เราพูดและเราทำ นั่นก็คือที่มาของ การตัดสินใจที่เราเรียกกันว่า “สัญชาตญาณ”

แรงบันดาลใจ คิดจากด้านในสู่ด้านนอก

คนไม่ได้ซื้อสิ่งที่คุณทำ เขาซื้อเพราะเหตุผลที่คุณทำมัน : คำคมสร้างแรงบันดาลใจ โดย  Simon Sinek

ไซมอน ได้ยกตัวอย่าง ความสำเร็จของ Apple จากแนวคิดที่คิดจากด้านในสู่ด้านนอกว่า ถ้าหากแอปเปิลเป็นเหมือนบริษัทอื่นๆ ก็คงจะมีการสื่อสารทางการตลาดว่า 

“เราทำคอมพิวเตอร์ที่สุดยอด มีการออกแบบที่สวยงาม ใช้ง่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้ อยากซื้อสักเครื่องไหม ”

ซึ่งวิธีนี้เขามองว่าเป็นวิธีที่ไม่ดึงดูดเลยสักนิด และไม่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ซื้อ แต่สิ่งที่แอปเปิลนำเสนอและสื่อสารจริงๆก็คือ

“ทุกอย่างที่เราทำ เราทำเพราะเราเชื่อในการท้าทายสิ่งเก่าๆ เราเชื่อในการคิดต่าง และเพื่อท้าทายระบบเก่าๆ เราจึงสร้างผลิตภัณฑ์ของเราให้มีดีไซน์สวยงาม ใช้งานง่าย และเป็นมิตรกับผู้ใช้ เราก็เลยสร้างคอมพิวเตอร์ที่ยอดเยี่ยมขึ้นมา อยากซื้อสักเครื่องไหม”

ความน่าแปลกใจก็คือ หลังจากที่เราสลับการสื่อสารเป็น ทำไม อย่างไร และอะไร ก็ทำให้ข้อความเหล่านั้นดูหนักแน่นและทำให้น่าซื้อขึ้นอีกด้วย และสิ่งเหล่านี้เองทำให้เขาค้นพบว่า 

บริษัทดังๆ ส่วนใหญ่มักจะไม่มี ทฤษฎีสัมภาษณ์งานแบบตายตัว แต่เขามักจะเลือกคนเก่ง มี  Passion อยากเรียนรู้อยู่เสมอ ทัศนคติดี ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ และสามารถตอบคำถาม “ทำไม” ได้ด้วยเช่นกัน

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร แค่เชื่อก็ประสบความสำเร็จ

คำคมแรงบันดาลใจ Apple

ไม่ว่าคุณจะเป็น เด็กจบใหม่ที่กำลังหางาน หรือ เป็นคนที่กำลังตกงานอยู่ แค่คุณมีเป้าหมาย และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง แค่คุณเชื่อว่าคุณทำได้ คุณก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอนค่ะ

คนส่วนใหญ่มักจะมีความคิดแบบคนทั่วๆ ไป คิดจากด้านนอกสู่ด้านใน แต่ถ้าหากคุณอยากเป็นคนพิเศษ เป็นคนแตกต่างที่มีคุณค่ามากกว่านั้น การเริ่มต้นฝึกคิดจากด้านในสู่ด้านนอก

ถามคำถามว่า “ทำไม” มากขึ้นในชีวิต ก็จะทำให้เรารู้จักตัวตนของเรามากยิ่งขึ้น รู้จักความต้องการของตัวเองได้มากขึ้นว่าเราต้องการอะไร ถึงตอนนั้น สิ่งที่คุณคาดหวังไว้ก็อยู่ใกล้แค่เอื้อมเท่านั้นค่ะ

rabbit finance ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่สนับสนุนให้คนไทยทำตามความฝัน และทำให้มันเป็นจริง ถ้าหากคุณต้องการความช่วยเหลือทางด้านการเงิน สามารถติดต่อสอบถามได้ ฟรี! ที่หน้าเว็บไซต์ของเรา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใดเพิ่มเติมค่ะ ให้เราเป็นเพื่อนอีกคนหนึ่งที่ทำให้ อิสรภาพทางการเงิน ของคุณเป็นเรื่องง่ายๆ นะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก rabbitfinance.com