การขยาย ระยะเวลาพำนัก ใน ราชอาณาจักรไทย สําหรับ กลุ่มพำนักระยะยาว (Long Stay Visa) ระยะ 10 ปี

ความเป็นมา

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการขยาย ระยะเวลาพำนัก ในราชอาณาจักรไทยสําหรับกลุ่ม พํานักระยะยาว (Long Sidy Visa) จากเดิม 1 ปี เปลี่ยนเป็น 10 ปี เฉพาะ 14 ประเทศ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขสนอ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 และกระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้ คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้ที่ประสงค์ จะเข้ามาพํานักระยะยาวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 134 ตอนพิเศษ 157 ง เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายรัฐบาล ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และเป็นการอํานวยความสะดวกด้าน การตรวจลงตราให้แก่นักท่องเที่ยว กลุ่มพํานักระยะยาว

หลักเกณฑ์การขอรับการตรวจลงตรา

คนต่างด้าว (ผู้ได้รับสิทธิหลัก คู่สมรสและบุตรอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ ที่ชอบด้วยกฎหมาย) ได้รับการตรวจลงตราประเภทพํานักระยะยาว ในลักษณะ Multiple Entry ซึ่งมีรหัสกํากับ Non – 0-X มีอายุการตรวจลงตรา 5 ปี และ สามารถขออยู่ต่อได้อีกไม่เกิน 5 ปี รวมเป็น 10 ปี

1) มีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

2) เป็นผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางของประเทศ ที่ตนมีสัญชาติ ต่อไปนี้

(1) ญี่ปุ่น

(2) เครือรัฐออสเตรเลีย

(3) ราชอาณาจักร เดนมาร์ก

(4) สาธารณรัฐฟินแลนด์

(5) สาธารณรัฐฝรั่งเศส

(6) สหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี

(7) สาธารณรัฐอิตาลี

(8)ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

(9) ราชอาณาจักรนอร์เวย์

(10) ราชอาณาจักรสวีเดน

(11) สมาพันธรัฐสวิส

(12) สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ

(13) แคนาดา และ

(14) สหรัฐอเมริกา

3) มีเงินฝากประจําในธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนี้

(1) มีเงินฝากประจําเป็นมูลค่าเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยไม่น้อยกว่า สามล้านบาท หรือ

(2) มีเงินฝากประจําเป็นมูลค่าเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านแปดแสนบาท และมีรายได้ประจําต่อปีไม่น้อยกว่าหนึ่งล้าน สองแสนบาท และจะต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่าสามล้านบาทภายในกําหนดระยะเวลา หนึ่งปี และให้คงเงินในบัญชีไว้ 1 ปี เมื่อครบกําหนดให้ถอนเงินนั้นได้เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ซื้อคอนโดมิเนียม/ยานพาหนะ และการศึกษาของบุตร ในราชอาณาจักรเท่านั้น โดยจะต้องคงเงินเหลือไว้ในบัญชี 1.5 ล้านบาท

4) มีเอกสารหรือหลักฐานรับรองความประพฤติหรือหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรม

5) มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพของไทยคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พํานัก ในราชอาณาจักร ซึ่งมีจํานวนเงินเอาประกันภัยกรณีผู้ป่วยนอก ไม่น้อยกว่า 4 หมื่นบาท และกรณีผู้ป่วยในไม่น้อยกว่า 4 แสนบาท โดยสามารถศึกษาข้อมูลการทําประกันได้ที่ เว็บไซต์ www.longstay.tgia.org

วิธีการขอรับการตรวจลงตรา

1. กรณีขอรับการตรวจลงตราในต่างระเทศ

คนต่างด้าวที่มีสัญชาติและถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง

ของ 14 ประเทศขอรับการตธวจสปตราจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยซึ่งตั้งอยู่ในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนักถาวร

2. กรณีขอรับการตรวจลงตราในประเทศไทย

คนต่างด้าวที่มีสัญชาติ100% แม่สองติงานในหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือ เดินทางของ 14 ประเทศ ซึ่งได้รับอนุปากอยู่ในราชอาณาจักรประเภทอื่นใด ต่อมา มีความประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราประเททคนอยู่ชั่วคราวประเภทพํานักระยะยาว Non-0-X ให้ยื่นคําร้องตามแบบที่กําหนดในกฎกระทรวง ณ สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง

สิทธิประโยชน์

1) คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายและมีสัญชาติของ 14 ประเทศดังกล่าวข้างต้น สามารถติดตามเข้ามาพํานักในราชอาณาจักรได้ โดยยื่นเอกสารและต้องมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกันผู้ขอรับสิทธิหลักตามข้อ 1 (1) - (5) ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ซึ่งจะได้รับการตรวจลงตราประเภทพํานักระยะยาวรหัสกํากับ Non – 0-X

2) บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถติดตามเข้ามาพํานักในราชอาณาจักร ซึ่งจะได้รับการตรวจลงตราเช่นเดียวกันผู้ขอรับสิทธิหลักรหัสกํากับการตรวจลงตรา Non – 0-X โดยยื่นเอกสารและต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ขอรับสิทธิหลัก ตามข้อ 1 (5) ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ

3) สามารถทํางานเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือภารกิจของหน่วยงานราชการ และสถานสาธารณกุศลให้สามารถทํางานดังกล่าวได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว

ข้อควรปฏิบัติขณะพํานักในราชอาณาจักรไทย

1) คนต่างด้าวพํานักในราชอาณาจักรไทยครบ 90 วัน ให้ดําเนินการแจ้งที่พัก อาศัยต่อเจ้าหน้าที่ของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ จุดที่กําหนด และให้กระทํา เช่นเดียวกันทุกระยะ 90 วัน

2) คนต่างด้าวพํานักในราชอาณาจักรครบ 1 ปีและต่อไปทุกระยะ 1 ปี คนต่างด้าว จะต้องดําเนินการรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเพื่อให้เจ้าหน้าที่พิจารณา ตรวจสอบคุณสมบัติให้ตรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 10 (1) - (4)

หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง

1) กระทรวงมหาดไทย

2) กระทรวงการต่างประเทศ

3) กระทรวงสาธารณสุy

4) สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง

ข้อมูลติดต่อผู้รับผิดชอบในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข

หน่วยงาน : กรมสนับสนุนบริการสุภาพ

ที่ตั้ง : กระทรวงสาธารณสุV จังหวัดนนทบุรี 

โทรศัพท์ : +66 (0) 2193 7000 ต่อ 18400 – 18404 (ในวันและเวลาราชการ)

Call Center +66 (0) 2193 7999 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

เว็บไซต์ : www.thailandmedicalhub.net

อีเมล : medicalhub.hss@gmail.com

ขั้นตอนการตรวจลงตราประเภาทคนอยู่ชั่วคราวประเภทพำนักยาว Non-O-X

1. คนต่างด้าวที่มีลัญชาติและถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางของ 14 ประเทศ ขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต

หรือสถานกงสุลใหญ่ของไทย ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศที่ตนมีถิ่นพํานักถาวร โดยเตรียมเอกสารและมีคุณสมบัติตามที่กําหนด ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 1 (1) - (5)

และชําระค่าธรรมเนียม 10,000 บาทต่อคน

2. สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลไทยพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้ยื่นคําร้อง ความถูกต้อง/ครบถ้วนของเอกสาร แล้วแจ้งผลการพิจารณา

3. คนต่างด้าว (ผู้ได้รับสิทธิหลัก คู่สมรสและบุตรอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ ที่ชอบด้วยกฎหมาย) ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว ประเภทพํานักระยะยาว รหัสกํากับ Non – 0-X มีอายุการตรวจ ลงตรา 5 ปี ในลักษณะ Multiple Entries

4. คนต่างด้าวเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจ คนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวสามารถพํานักในราชอาณาจักร ได้ไม่เกินระยะเวลา 5 ปี ตามอายุการตรวจลงตรา

5. เมื่อคนต่างด้าวฟ้านักในราชอาณาจักรครบ 90 วัน ให้ดําเนินการเอง ที่พักอาศัยต่อเจ้าหน้าที่ของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ จุดที่กําหนด และให้กระทําเช่นเดียวกันทุกระยะ 90 วัน

6. เมื่อคนต่างด้าวพํานักในราชอาณาจักรครบ 1 ปี และต่อไปทุกระยะ 1 ปี คนต่างด้าวจะต้องดําเนินการรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อให้เจ้าหน้าที่พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติให้ตรงตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย ข้อ 10 (1) - (4)

6.1 พนักในราชอาณาจักรต่อไปได้

6.2 กรณีดังต่อไปนี้ถือเป็นอันสิ้นผลการอนุญาตให้คนต่างด้าวพํานัก ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

(ก) ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ 1 (3)

(ข) ไม่มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพตามข้อ 1 (5)

(ค) ทํางานโดยไม่ได้รับอนุญาต

(ง) มพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือ ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนให้การอนุญาต ให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเป็นอันสิ้นผลแล้ว ให้เดินทางกลับประเทศทันที

รายการเอกสารประกอบคำร้อง

1. เอกสารทางการเงิน

(ก) หนังสือรับรองบัญชีเงินฝากของธนาคารพร้อมระบุข้อมูลสําหรับติดต่อธนาคาร สําเนาสมุดบัญชีคู่ฝาก และเอกสารใบแจ้งรายการเดินบัญชีธนาคาร (Bank Statement) ซึ่งแสดงเงินฝากประจํา จํานวนเงินไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท ในบัญชีธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือ

(ข) หนังสือรับรองบัญชีเงินฝากของธนาคารพร้อมระบุข้อมูลสําหรับติดต่อธนาคาร สําเนาสมุดบัญชีคู่ฝาก และเอกสารใบแจ้งรายการเดินบัญชีธนาคาร (Bank Statement) ซึ่งแสดงเงินฝากประจํา จํานวนเงินไม่น้อยกว่า 1.8 ล้านบาท ในบัญชีธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และมีเอกสารแสดงเงินรายได้ประจําต่อปีไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านบาท (โดยสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองต้องแจ้งผู้ยื่นคําร้องว่า เมื่อเดินทางเข้าประเทศไทยแล้ว จะต้องมีเงินฝากในบัญชีธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท ภายในกําหนดระยะเวลา 1 ปี)

2. เอกสารหรือหลักฐานรับรองความประพฤติ หรือหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรม จากประเทศที่คนต่างด้าวถือสัญชาติ และหากคนต่างด้าวมีถิ่นพํานักถาวรอยู่ในประเทศอื่น ต้องมีเอกสารดังกล่าวจากประเทศที่คนต่างด้าวมีถิ่นพํานักถาวรด้วย

3. หลักฐานแสดงการประกันภัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้ คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสําหรับผู้ที่ประสงค์ จะเข้ามาพํานักระยะยาวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทั้งนี้ กรมธรรม์ประกันสุขภาพของไทย เป็นไปตามที่สํานักงาน คปก. เห็นชอบ โดยมี จํานวนเงินเอาประกันภัยกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) ไม่น้อยกว่า 4 หมื่น และกรณีผู้ป่วยใน (IPD) ไม่น้อยกว่า 4 แสนบาท

4. ใบรับรองแพทย์ จากประเทศที่ยื่นคําร้องที่แสดงว่าไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2535 ได้แก่ โรคเรื้อน (Leprosy) วัณโรคในระยะอันตราย (Tuberculosis) โรคเท้าช้าง (Elephantiasis) โรคยาเสพติดให้โทษ (drug addiction) และ โรคซิฟิลิส ในระยะที่ 3 (third phrase of Syphilis)

5. กรณีคู่สมรส ให้แสดงเอกสารทะเบียนสมรส และยื่นเอกสารตามข้อ 1-4 แยกต่างหาก

6. กรณีบุตร ให้แสดงสูติบัตร/เอกสารการรับรองบุตรบุญธรรม (สําหรับบุตรที่ชอบด้วย กฎหมาย) และเอกสารตามข้อ 3 (กรมธรรม์) หมายเหตุ หากเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศให้ดําเนินการแปลเป็นภาษาไทย หรืออังกฤษ และรับรองนิติกรณ์มาอย่างถูกต้อง

สิทธิประโยชน์ในระหว่างการพํานักในประเทศไทยมีดังนี้ (เฉพาะผู้รับสิทธิหลัก)

(ก) สามารถทํางานเป็นอาสาสมัครภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการทํางาน ของคนต่างด้าวตามบัญชีรายชื่องานที่กรมการจัดหางานประกาศกําหนด

(ข) สามารถซื้อยานพาหนะได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

(ค) กรณีจะซื้อคอนโดมิเนียม ให้ดําเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

กรณีขอรับการตรวจลงตราในประเทศ

1.  คนต่างด้าวที่มีสัญชาติและถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางของ 14 ประเทศ (พร้อมคู่สมรสและบุตรอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ (ถ้ามี)

ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรประเภทอื่นใด

ต่อมามีความประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราประเภท คนอยู่ชั่วคราวประเภทพํานักระยะยาว Non-0-X ให้ยื่นคําร้อง ตามแบบที่กําหนดในกฎกระทรวง ณ สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยเตรียมเอกสารและมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 1 (1) - (5) และเสียค่าธรรมเนียม 10,000 บาทต่อคน

2. สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติผู้ยื่นคําร้อง ความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร แล้วแจ้งผลการพิจารณา

3. คนต่างด้าว (ผู้ได้รับสิทธิหลัก คู่สมรสและบุตรอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ ที่ชอบด้วยกฎหมาย) ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว ประเภทพํานักระยะยาว รหัสกํากับ Non - 0 -X มีอายุการตรวจ ลงตรา 5 ปี ในลักษณะ Multiple Entries

4. เมื่อคนต่างด้าวพํานักในราชอาณาจักรครบ 90 วัน ให้ดําเนินการแจ้ง ที่พักอาศัยต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ณ จุดที่กําหนดและให้กระทํา เช่นเดียวกันทุกระยะ 90 วัน

5. เมื่อคนต่างด้าวพํานักในราชอาณาจักรครบ 1 ปี และต่อไปทุกระยะ 10 คนต่างด้าวจะต้องดําเนินการรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง พอให้เจ้าหน้าที่พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติให้ตรงตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย ข้อ 10 (1) – (4)

5.1พํานักในราชอาณาจักรต่อไปได้

5.2 กรณีดังต่อไปนี้ถือเป็นอันสิ้นผลการอนุญาตให้คนต่างด้าวพํานักราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

(ก) ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไvตามข้อ 1 (3)

(ข) ไม่มีกรมธรรม์ประกันสุบภาพตามข้อ 1 (5)

(ค) ทํางานโดยไม่ได้รับอนุญาต

(ง) มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิด อันตรายต่อความสงบสุน หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือ ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนให้การอนุญาต ให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เป็นอันสิ้นผลแล้ว ให้เดินทางกลับประเทศทันที

รายการเอกสารประกอบคําร้อง

1. เอกสารทางการเงิน

(ก) หนังสือรับรองบัญชีเงินฝากของธนาคารพร้อมระบุข้อมูลสำหรับติดต่อธนาคาร สำเนาสมุดบัญชีคู่ฝาก และเอกสารใบแจ้งรายการเดินบัญชีธนาคาร ซึ่งแสดงเงินฝากประจํา จํานวนเงินไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท ในบัญชีธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือ

(ข) หนังสือรับรองบัญชีเงินฝากของธนาคารพร้อมระบุข้อมูลสําหรับติดต่อธนาคาร สําเนาสมุดบัญชีคู่ฝาก และเอกสารใบแจ้งรายการเดินบัญชีธนาคาร (Bank Statement) ซึ่งแสดงเงินฝากประจํา จํานวนเงินไม่น้อยกว่า 1.8 ล้านบาท ในบัญชีธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และมีเอกสารแสดงเงินรายได้ประจําต่อปีไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านบาท (โดยสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลไทยต้องแจ้งผู้ยื่นคําร้องว่า เมื่อเดินทางเข้าประเทศ ไทยแล้ว จะต้องมีเงินฝากในบัญชีธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3. ล้านบาทภายในกําหนดระยะเวลา 1 ปี)

2. เอกสารหรือหลักฐานรับรองความประพฤติ หรือหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรม จากประเทศที่คนต่างด้าวถือสัญชาติ และหากคนต่างด้าวมีถิ่นพํานักถาวรอยู่ในประเทศอื่น ต้องมีเอกสารดังกล่าวจากประเทศที่คนต่างด้าวมีถิ่นพํานักถาวรด้วย

3. หลักฐานแสดงการประกันภัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้ คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสําหรับผู้ที่ประสงค์ จะเข้ามาพํานักระยะยาวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทั้งนี้ กรมธรรม์ประกันสุขภาพของไทย เป็นไปตามที่สํานักงาน คปก. เห็นชอบ โดยมี จํานวนเงินเอาประกันภัยกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) ไม่น้อยกว่า 4 หมื่น และกรณีผู้ป่วยใน (IPD) ไม่น้อยกว่า 4 แสนบาท

4. ใบรับรองแพทย์ จากประเทศที่ยื่นคําร้องที่แสดงว่าไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2535 ได้แก่ โรคเรื้อน (Leprosy) วัณโรคในระยะอันตราย (Tuberculosis) โรคเท้าช้าง (Elephantiasis) โรคยาเสพติดให้โทษ (drug addiction) และ โรคซิฟิลิส : ในระยะที่ 3 (third phrase of Syphilis)

5. กรณีคู่สมรส ให้แสดงเอกสารทะเบียนสมรส และยื่นเอกสารตามข้อ 1-4 แยกต่างหาก

6. กรณีบุตร ให้แสดงสูติบัตร/เอกสารการรับรองบุตรบุญธรรม(สําหรับบุตรที่ชอบด้วย กฎหมาย) และเอกสารตามข้อ 3 (กรมธรรม์)

สิทธิประโยชน์ในระหว่างการพํานักในประเทศไทยมีดังนี้ (เฉพาะผู้รับสิทธิหลัก)

(ก) สามารถทํางานเป็นอาสาสมัครกายใต้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวตามบัญชีรายชื่องานที่กรมการจัดหางานประกาศกําหนด

(ข) สามารถซื้อยานพาหนะได้กายใต้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

(ค) กรณีจะซื้อคอนโดมิเนียม ให้ดําเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

ขั้นตอนการขออยู่ต่อในราชอาณาจักร

เมื่อคนต่างด้าวพํานักในราชอาณาจักรครบ 5 ปีใหเนินการดังนี้

1.1) ประสงค์จะขออยู่ต่อไปอีก 5 ปี

1.1.1) ยื่นคําขออยู่ต่อตามแบบที่กําหนดในกฎกระทรวง ล่วงหน้าก่อน Visa หมดอายุไม่น้อยกว่า 15 วัน ณ สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยเตรียมเอกสาร ตามที่กําหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 1(1)-(5)

1.1.2) สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองพิจารณาตรวจสอบ

คุณสมบัติ ความถูกต้อง/ครบถ้วนของเอกสาร และดําเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องแล้วแจ้ง ผลการพิจารณา

1.1.3) คนต่างด้าวเสียค่าธรรมเนียม 10,000 บาทต่อคน

1.1.4) เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาต

ให้อยู่ต่อประเภทคนอยู่ชั่วคราวประเภทพํานัก ระยะยาวไม่เกิน 5 ปี และตราอนญาตให้กลับเข้ามา ในราชอาณาจักรอีกประเภn Multiple entries แก่คนต่างด้าว(ผู้ได้รับสิทธิหลัก คู่สมรสและบุตร อายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย)

1.1.5) คนด้าวดําเนินการแจ้งที่พักอาศัยทุกระยะ 90 วัน

ตามข้อ 7 และรายงานตัวเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ ทุกระยะ 1 ปี ตามข้อ 10 ของประกาศกระทรวง มหาดไทย

1.1.6) เมื่อนํานักในราชอาณาจักรครบระยะเวลา 5 ปี คนต่างด้าวเดินทางกลับประเทศ

(1.2) ไม่ประสงค์จะขออยู่ต่อ

1.2.1) เดินทางกลับประเทศ

1.3) ไม่ประสงค์จะขออยู่ต่อประเภทพํานัก  ระยะยาว 5 ปี แต่ประสงค์จะขออยู่ต่อ ประเภทอื่นใด

1.3.1) ติดต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตามเขตพื้นที่ ที่คนต่างด้าวมีภูมิลําเนาเพื่อดําเนินการตาม กระบวนการที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด ล่วงหน้าก่อน Visa หมดอายุไม่น้อยกว่า 15 วัน