ประเทศไทยเรามีแผนพัฒนามาตั้งแต่เมื่อไรใครรู้บ้าง? หากพูดถึงแผนพัฒนา เรามักจะนึกถึงแผนพัฒนาที่ครอบคลุมไปทุกด้านอย่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งแต่ละแผนนั้นมีระยะเวลา 5 ปี โดยฉบับที่ 1 หรือระยะที่ 1 เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ.2504-2506 และปัจจุบันดำเนินมาถึงฉบับที่ 12 แล้ว นั่นก็คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเหมือนแผนใหญ่ที่กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในแต่ละยุทธศาสตร์ หนึ่งในด้านที่ปัจจุบันเราให้ความสนใจและติดตามกันมากที่สุดก็คือ แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่ง นั่นเอง

            สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยฉบับล่าสุดนั้น ครอบคลุม พ.ศ.2558-2565 หรือระยะเวลา 8 ปี งบประมาณทั้งหมดประมาณ 1.9 พันล้านบาท ประกอบด้วยกัน 5 แผนงาน ได้แก่

  1. การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง
  2. การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเื่พื่อแก้ไขปัญหาจราจรใน กทม. และปริมณฑล
  3. การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
  4. การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ
  5. การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ

จากยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้านข้างต้น มีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่วางเป็นระยะยาวระหว่าง พ.ศ.2558-2565 เช่นเดียวกัน สำหรับแผนพัฒนา

จะแยกตามสาขาการขนส่ง แต่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน โดยแบ่งออกเป็น

  1. ทางบก วงเงินรวม 623,608.75 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6%
  2. ทางราง แบ่งออกเป็น
  • รถไฟรางคู่ วงเงิน 494,460.96 ล้านบาท หรือคิดเป็น 85% (วงเงินไม่รวมวงเงินลงทุนรถไฟรางคู่ขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร)
  • รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน วงเงิน 577,504.14 ล้านบาท หรือคิดเป็น 19%

วงเงินรวมการพัฒนาทางรางเท่ากับ 1,071,765.1 ล้านบาท หรือคิดเป็น 56.05%

  1. ทางน้ำ วงเงินรวม 101,288.83 หรือคิดเป็น 3%
  2. ทางอากาศ วงเงินรวม 50,068.10 ล้านบาท หรือคิดเป็ร 62% (วงเงินลงทุนทางอากาศไม่รวมการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แต่รวมวงเงินลงทุนของท่าอากาศยานอู่ตะเภาของกองทัพเรือ)
  3. เชื่อมต่อโครงข่ายกทม. และปริมณฑล วงเงินรวม 65,750.81 ล้านบาท หรือคิดเป็น 44%

โดยในปีนี้ (พ.ศ.2560) ที่กำลังจะผ่านพ้นไปอีกหนึ่งปี แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งนั้น มีแผนปฏิบัติการ (Action Plan) มีทั้งโครงการที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วและพร้อมให้บริการ ไปจนถึงโครงการที่กำลังเตรียมข้อเสนอโครงการ โดยรวมโครงการในแผนปฏิบัติการ พ.ศ.2560 รวมทั้งสิ้น 36 โครงการ วงเงินลงทุน 893,774.09 ล้านบาท (ไม่รวมวงเงินจากแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) โดยสามารถแบ่งประเภทโครงการได้ 9 ประเภท ดังนี้

นอกจาก 36 โครงการข้างต้น จากแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2560 แล้ว ยังมีโครงการที่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาเพื่อประโยชน์สูงสุดเพิ่มเติมอีก 6 โครงการ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2558-2565 ด้วยเช่นกัน โดย 6 โครงการเหล่านี้ ได้แก่

แผนการพัฒนารถไฟรางคู่ 2 เส้นทาง (ได้รับการอนุมัติจากครม.แล้ว)

  • ช่วงนครปฐม - หัวหิน วงเงิน 20,046 ล้านบาท
  • ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ วงเงิน 24,722 ล้านบาท

แผนการพัฒนารถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง วงเงินรวม 701,231.45 ล้านบาท

  • โครงการฯ ช่วงกรุงเทพฯ - หัวหิน วงเงิน 94,673.16 ล้านบาท
  • โครงการฯ ช่วงกรุงเทพฯ - ระยอง วงเงิน 152,538 ล้านบาท
  • โครงการฯ ไทย - จีน (ช่วงกรุงเทพฯ-โคราช) วงเงิน 229,614.29 ล้านบาท
  • โครงการฯ ไทย-ญี่ปุ่น (ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก) 224,416 ล้านบาท

ซึ่งรวมวงเงินลงทุนจากแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม พ.ศ.2558-2560 ที่มีวงเงินลงทุนทั้งหมด 1.9 พันล้านบาท แผนพัฒนาโครงการใน พ.ศ.2560 มีวงเงินรวม 1.6 พันล้านบาท หรือประมาณ 84% ของวงเงินทั้งหมด

สำหรับแผนปฏิบัติการฯ พ.ศ.2560 ที่ดำเนินการในปีงบระมาณ 2560 มีความคืบหน้าและผังการดำเนินงานที่ประกาศโดยกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 462/2560 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ซึ่งก็รวมถึงแผนรถไฟฟ้าสายต่างๆ รวมไปถึงระบบการคมนาคมอื่นๆ ที่หลายท่านเฝ้าติดตามด้วยเช่นกัน

กลุ่มที่ 1 โครงการที่พร้อมให้บริการ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

1. โครงการพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมโยงอ่าวไทยตอนบน ฝั่งตะวันออกและตะวันตก เส้นทางพัทยา – หัวหิน ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560

2. โครงการระบบตั๋วร่วม เพื่อเชื่อมระบบบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าที่ให้บริการในปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นในระยะต่อไป รวมทั้งเชื่อมกับระบบบัตรโดยสารของรถโดยสารประจำทาง เรือโดยสาร และระบบทางพิเศษ ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ตั๋วร่วมได้เร็วที่สุด

กลุ่มที่ 2 โครงการที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ จำนวน 5 โครงการ ได้แก่

  1. ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ กรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง และเสนอให้เอกชนร่วมลงทุน
  2. การพัฒนาท่าอากาศยานในภูมิภาค เริ่มดำเนินการปรับปรุงแล้ว 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานแม่สอด จ.ตาก และท่าอากาศยานสกลนคร
  3. โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก อยู่ระหว่างเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติโครงการ
  4. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ อยู่ระหว่างปรับปรุงเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) และราคากลาง
  5. การปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2560

กลุ่มที่ 3 โครงการที่เริ่มประกวดราคาได้ จำนวน 15 โครงการ ได้แก่

  1. โครงการจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้า จำนวน 200 คัน พร้อมก่อสร้างสถานีประจุไฟฟ้า ได้ประกาศร่าง TOR ในเว็บไซต์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพแล้ว
  2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค - พุทธมณฑลสาย 4 จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนเมษายน - กันยายน 2560
  3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงสมุทรปราการ - บางปู จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2560
  4. 4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงคูคต - ลำลูกกา จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2560
  5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างทบทวนกรอบวงเงินค่าก่อสร้างโยธา จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนกรกฎาคม 2560 - พฤษภาคม 2561
  6. โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายระยะที่ 1 ช่วงพญาไท - บางซื่อ จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนมิถุนายน - ธันวาคม 2560 และระยะที่ 2 ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2560 - มกราคม 2561
  7. โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนกันยายน 2560 - มีนาคม 2561
  8. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงปากน้ำโพ - เด่นชัย ชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี ขอนแก่น - หนองคาย และชุมพร - สุราษฎร์ธานี จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2560 ส่วนช่วงสุราษฎร์ธานี - หาดใหญ่ - สงขลา หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ และเด่นชัย - เชียงใหม่ จะดำเนินการประกวดราคาในเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2560
  9. โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul : MRO) ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา คาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการได้ภายในเดือนสิงหาคม 2560

กลุ่มที่ 4 โครงการที่เสนอคณะรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการ PPP จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงบ้านไผ่ - มุกดาหาร - นครพนม โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช และช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา (เพิ่มเติมสถานีบางกรวย - กฟผ. และสะพานพระราม 6) โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor ด้านตะวันออก โครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จ.ภูเก็ต โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายนครปฐม - ชะอำ และโครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม

กลุ่มที่ 5 โครงการที่หน่วยงานเตรียมข้อเสนอโครงการแล้วเสร็จ จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมโยงอ่าวไทยตอนบน ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกในระยะยาว โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายหาดใหญ่ - ชายแดนไทย/มาเลเซีย โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าเมืองชายแดน 9 แห่ง และโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าเมืองหลักในภูมิภาค 8 แห่ง

กลุ่มที่ 6 โครงการสำคัญที่ต้องการผลักดัน จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาจุดพักรถบรรทุกตามเส้นทางการขนส่งสินค้าหลักของประเทศ (จ.บุรีรัมย์ อุดรธานี และกำแพงเพชร) และโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต

            สำหรับช่วงปลายปี 2560 หลายท่านอาจจะอยากทราบความคืบหน้าจากโครงการพัฒนาต่างๆที่ผ่านมาตลอดปี TerraBKK จะนำความคืบหน้าด้านโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆมาให้ทราบต่อไป - เทอร์ร่า บีเคเค

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก