ที่ผ่านมา "ภูเก็ต" คือเดสติเนชั่นการท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของเมืองไทย แต่ภาพของภูเก็ตวันนี้ ไม่ได้เป็นเพียงเมืองท่องเที่ยวเท่านั้น หากแต่เป็นทำเลที่นักลงทุนทั้งหลายต้องจับตามอง ในฐานะเมืองเศรษฐกิจเทียบชั้นสีลม-สาทร

ประเด็น คือ “ภูเก็ต” มีความพร้อมแค่ไหน? ที่จะก้าวไปสู่เมืองเศรษฐกิจเต็มรูปแบบ หรือ “เมืองสีเขียว” โดยเฉพาะการเป็น Mice City (Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions) ตามนโยบายภาครัฐ

คำตอบของคำถามนี้ คงไม่ได้ใครวิเคราะห์ได้ขาดเท่ากับคนภูเก็ตเอง อย่าง คุณบุญ ยงสกุล บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (PKCD) และประธานกรรมการ บริษัท โบ๊ทพัฒนา จำกัด ที่มาแชร์ไอเดียการพัฒนาเมืองภูเก็ตในอนาคต บนเวทีสัมมนา “TREA TALKS Real Estate 2017- Future Thailand : ประเทศไทย 4.0 ก้าวไปข้างหน้าอย่างไร ไม่ต้องทิ้ง ใครไว้ข้างหลัง” ซึ่งจัดโดยสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ร่วมกับ TERRA BKK และพันธมิตรทางธุรกิจมากมาย

5 ปัญหาสไตล์ภูเก็ต ที่ไม่ควรมองข้าม

ถ้าให้พูดกันตามจริง ภูเก็ตมีประชากรแค่ 4 แสนคน รวมประชากรแฝงมีไม่ถึง 1 ล้านคน แต่ภูเก็ตมีนักท่องเที่ยว 13 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้เข้าภูเก็ตมากกว่า 3 แสนล้านบาท/ปี มีโรงแรมตั้งแต่ 2 ดาว – 6 ดาว ที่มีบางห้องราคาถีบไปถึง 2 แสนบาท/คืน ในช่วงไฮซีซั่น

การเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดนี้ ภูเก็ตย่อมต้องเผชิญปัญหาการพัฒนาเมือง เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในมหานครใหญ่ๆ โดยคุณบุญ วิเคราะห์ปัญหาของภูเก็ตอย่างกว้างๆ ออกเป็น 5 ประการได้แก่

1.รถติด : ปัญหาใหญ่สุดคลาสสิคของเมืองที่กำลังเติบโต

2.แท็กซี่แพง : จากสนามบินภูเก็ตเข้าสู่ตัวเมืองระยะทางราว 20 กิโลเมตร แต่ราคาค่าโดยสารกลับกระโดดไปที่ 1,000 บาท และไม่สามารถต่อราคาได้ นั่นเพราะภูเก็ตมีระบบขนส่งไม่เพียงพอ

3.ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม

4..สนามบินรองรับนักท่องเที่ยวไม่พอ : แม้จะมีการเปิดสนามบินแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี เพราะภูเก็ตไม่เพียงต้องรองรับนักท่องเที่ยวจีนที่หลั่งไหลมาเป็นจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังต้องรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวรัสเซีย อินเดีย และตะวันออกกลาง เช่น คาซัคสถาน

5.ไม่มีท่าจอดเรือสำราญ : น่าแปลกที่ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลอันดับต้นๆ ของเมืองไทย แต่กลับไม่มีท่าจอดเรือสำราญ ทุกวันนี้เรือเดินทางมาถึง จะต้องไปที่หาดป่าตองและนั่งเรือเล็กมาเพื่อส่งผู้โดยสารขึ้นหาด ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทาง

พลังภาคเอกชน สู่การเป็นตัวเชื่อมความร่วมมือ

            การมองปัญหาภูเก็ตอย่างสายตาของคนพื้นที่ ก่อให้เกิดการก่อตั้ง “ภูเก็ตพัฒนาเมือง” จากการร่วมมือกันของนักธุรกิจในภูเก็ตจำนวน 25 คน จดทะเบียนเป็นธุรกิจส่วนกลางเพื่อสังคม มุ่งพัฒนาคุณภาพเมืองภูเก็ตให้ดีขึ้น โดยอาสาเป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐบาลกับภาคเอกชน ซึ่งมีภารกิจเร่งด่วนแบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้

            1.ด้านเทคโนโลยี : นำระบบ GIS เข้ามาใช้ เพื่อวางโครงสร้างระบบหาแหล่งน้ำดิบ หรือความหนาแน่นของประชากร เป็นการกำหนดทิศทางการขยายตัวของเมืองได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

            2.อาสาเป็นตัวกลางระหว่างเอกชน รัฐบาล ประชาชน

            3.ทำงานอย่างมืออาชีพ : เบื้องต้นคณะทำงานได้มีการแบ่งแนวทางในการพัฒนาภูเก็ตออกเป็น 12 ด้าน โดยมีเจ้าภาพที่มีความถนัดในด้านนั้นๆ มาช่วยคุมบังเหียน ได้แก่

12 กลยุทธ์ สู่การบุกเบิกมิติใหม่ของภูเก็ต

   

             Bu1 การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และระบบขนส่งทางทะเล : ถือเป็นไฮไลต์สำคัญของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นแผนการการสร้างท่าเรือเฟอร์รี่และสปีดโบ๊ท เพื่อเชื่อมการเดินทางระหว่างภูเก็ต พังงา กระบี่ ย่นระยะเวลาการเดินทางจาก 3 ชั่วโมง เหลือเพียง 45 นาที นอกจากจะสร้างมิติใหม่ให้กับการท่องเที่ยวที่สามารถเที่ยว 3 จังหวัดภาคใต้ได้ภายในทริปเดียวแล้ว ในแง่เมืองยังเป็นการสร้างความเป็นปึกแผ่นของ 3 จังหวัดอีกด้วย

            “สิ่งสำคัญที่สุดคือระบบขนส่งมวลชน ถ้าไม่ทำวันนี้ก็จะหนักขึ้นทุกวัน เรากำลังผลักดันภาครัฐเพื่อให้เกิดรถไฟฟ้า Transit แบบวิ่งไป-กลับ ระบบ PPP Model นอกจากนี้ยังมีโครงการนำร่องในการพัฒนา สมาร์ท บัส ที่ตรงเวลา ปลอดภัย และมีคุณภาพ โดยในอนาคตจะมีการใช้คู่กับแอพฯ เช็คเรียลไทม์ได้ว่ารถอยู่ที่ไหน ชำระค่าโดยสารผ่านแอพฯ และสามารถใช้ Wifi ซึ่งจะช่วยลดปัญหารถติด โดยสมาร์ทบัสนี้ จะเริ่มวิ่งในปี 2561” คุณบุญเสริม

            Bu2 การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง : เป็นงานที่ต่อเนื่องจาก Bu1

            Bu3 การพัฒนาท่าเรือ :

            Bu4 การพัฒนาระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก : กำลังอยู่ในช่วงศึกษาข้อมูล

            Bu5 การพัฒนาระบบบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค : ภูเก็ตเมื่อ 60 ปีที่แล้ว มีจุดเริ่มต้นจากการทำเหมืองแร่-ดีบุก ถึงตอนนี้เริมมีการรวมกลุ่มเหมืองแร่ เพื่อนำพื้นที่มาทำประโยชน์ให้กับการประปา หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ภูเก็ตมีน้ำที่มีคุณภาพ ใช้ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

            Bu6 การพัฒนาแอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยว : แอพฯ ที่ให้ข้อมูลการท่องเที่ยวทุกอย่างของภูเก็ต โดยคนภูเก็ต ไม่ว่าจะเป็น แนะนำโรงแรม อาหารการกิน ไปจนถึงสถานที่ช้อปปิ้งพื้นเมือง ที่สามารถบันทึกและให้ข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ มีจุดเด่นอยู่ที่การเป็น Two Way Win-Win Strategy ชาวบ้านได้ประโยชน์ นักท่องเที่ยวได้ข้อมูล โดยมีแผนจะเปิดตัวภายในปีนี้ (2560)

            Bu7 การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการส่งเสริมการลงทุน :

            Bu8 การจัดกิจกรรมประชุมและนิทรรศการในระดับเอเชีย : ผลักดันให้ภูเก็ตมีศูนย์ประชุมระดับนานาชาติ เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูล และส่งเสริมศักยภาพธุรกิจภาคใต้

            Bu9 การพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสัญลักษณ์ของเมือง : สร้างแลนด์มาร์คการท่องเที่ยวใหม่ๆ เพื่อให้ภูเก็ตมีสีสันมากยิ่งขึ้น และอยู่ในกระแสตลอดเวลา

            Bu10 การพัฒนาระบบไฟส่องสว่างสาธารณะอัจฉริยะ :

            Bu11 การพัฒนาระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ : ถือเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับการท่องเที่ยว เบื้องต้นมีการริเริ่มแผนสร้าง Smart Security Location-Track และ Smart Emergency Alert ระบบแจ้งเหตุผ่านแอพฯ

            Bu12  การพัฒนาระบบคลังความรู้ในการพัฒนาเมือง :

นี่เป็นเพียงก้าวแรกของกระบวนการออกแบบแผนการพัฒนาเมืองอย่างมีส่วนร่วม หากแต่สิ่งที่คุณบุญมองไปไกลยิ่งกว่า คือ การพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ไปสู่เมืองต้นแบบ “ภูเก็ตเมืองสีเขียว” เพื่อส่งต่อไปยังคนรุ่นหลัง ตามปรัชญาของภูเก็ตพัฒนาเมือง คือ “No One Left Behind - เราจะก้าวไปด้วยกัน ไม่ใครทิ้งไว้เบื้องหลัง”

ข้อมูลจากงาน TREA TALKS REAL ESTATE 2017 วันที่ 29 มิถุนายน 2560

บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก