เทคโนโลยีและระบบดิจิตอลได้รับการพูดถึงมากขึ้นทุกขณะ ทุกความคิดเห็นเป็นไปในแนวทางเดียวกันว่า สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่ผลักดันความสำเร็จในธุรกิจและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจสตาร์ทอัพและธุรกิจแบบ sharing economy ต่างๆ แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่เห็นภาพชัดเจนนัก ก็คือผลลัพธ์ของการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจดังกล่าวว่าปลายทางของการพัฒนาในรูปแบบนี้นั้นจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อ GDP ในระดับโลก


         Subbu Narayanswamy ผู้ถือหุ้นอาวุโสแห่งบริษัทผู้นำอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก McKinsey & Company ได้เผยผลสำรวจความคิดในด้านแนวโน้มของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ล้วนสะท้อนตรงกันใน 5 แนวโน้มด้วยกัน ได้แก่

         1. การเป็นศูนย์กลางของลูกค้าจะเห็นชัดและกลายเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น
         2. การบริการหลังการขายทั้งในด้านการดูแลและการส่งมอบคือสิ่งที่ลูกค้ามองหา
         3. การออกแบบที่เข้าใจรูปแบบการใช้ชีวิตและความยั่งยืน
         4. การที่เทคโนโลยีด้านการตลาดและการก่อสร้าง จะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการดำ เนินธุรกิจ
         5. นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มขยายขีดความสามารถของตัวเองและองค์กรอย่างชัดเจน

         แนวโน้มทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นไปในทิศทางที่ดูเหมือนว่าจะทำ ให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์นั้นจะก้าวไปได้ไกลมากกว่าเดิม แต่อย่างไรก็แล้วแต่ มิติของการพัฒนารูปแบบธุรกิจย่อมไม่ได้มีเพียงเท่านี้อย่างแน่นอน

         เลขทศนิยมที่ถูกนำมาเติมต่อหลังคำนาม เพื่อบอกใบ้ถึงแนวทางการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีอย่างเช่น ไทยแลนด์ 4.0 นั้นเริ่มเป็นที่คุ้นหูชินตากันบ้างแล้ว ในส่วนของธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์เองก็มีการใช้คำ นี้มายาวนานแล้วเช่นกัน จากงานวิจัยของ University of Oxford ในเรื่อง PropTech 3.0 : the future of real estate ชี้ว่าประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือ PropTech (Property Technology) นั้น เริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงปี 1980-2000 ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยได้รับการเรียกขานว่า PropTech 1.0 ซึ่งเป็นไปในรูปแบบของการวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ (Property Market Analysis) โดยได้มีการพัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ในชื่อ PC-driven Property Research
เพื่อจัดจำหน่ายในปี 1982

         หลังจากนั้นจึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมช่วยทำงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ซึ่งก็คือโปรแกรม AutoCAD จากบริษัท Autodesk ที่เปลี่ยนรูปแบบการทำงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและการออกแบบ ให้สามารถร่นระยะเวลา และความแม่นยำมากขึ้นจวบจนปัจจุบัน ต่อมาการพัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆเริ่มมีการขยายผลมากขึ้น ในปี 1984 ได้ถือกำเนิด CoStar โปรแกรมจัดสรรข้อมูลด้านการวิเคราะห์และการตลาดเพื่ออสังหาริมทรัพย์ขึ้นในสหรัฐอเมริกา และรุกคืบไปจนถึงแคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมัน และสเปน โดย CoStar นั้นเป็นผู้นำตลาดด้านโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลที่เทียบเท่ากับ Microsoft Excel เลยทีเดียว ยุคของ PropTech 1.0 นั้นได้เริ่มชะลอความเร็วของกระแสการพัฒนาลงในช่วง Internet Boomer และกลายเป็นพลวัตรที่เข้าสู่ยุคของ PropTech 2.0 ยุคคลื่นลูกใหม่หรือในสมัยปัจจุบันนั่นเอง

        โดยในยุคนี้นั้นเริ่มมีอิทธิพลจากการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพเข้ามาเป็นปัจจัยในการช่วยขับเคลื่อนรูปแบบของ PropTech 2.0 นั้นมีแกนสำคัญหลักๆ เช่นเดียวกับธุรกิจสตาร์ทอัพอื่นๆ นั่นคือ การประกอบตัวของแหล่งข้อมูล (Information Source) หรือก็คือกลุ่มทุนและผู้สนับสนุนต่างๆ ทั้ง Venture Capital Accelerators และนักวิจัยข้อมูล โดยมักจะเริ่มต้นจากการขายไอเดียธุรกิจเพื่อแลกกับทุนในการพัฒนา ในช่วงแรกเงินทุนมักอยู่ที่ 250,000-2,000,000 ดอลลาร์ ในช่วง Series A ไปจนถึง 2,000,000-15,000,000 ดอลลาร์ในช่วง Series B และ Series C และหากว่าธุรกิจเติบโตไปได้ไกลกว่านั้น มักจะมีเป้าหมายในการปรับขนาดธุรกิจโดยการเข้าซื้อกิจการและเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์โดยกลุ่มผู้สนับสนุนใหญ่ๆที่เป็นทั้ง Venture Capital และ Accelerators ที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกก็ได้แก่ 500 StartUps และ Y Combinator ส่วนในกลุ่มของงานวิจัยนั้นก็ได้แก่ CBRE, CBinsight หรือ มหาวิทยาลัย MIT ที่มักรับบทบาทเป็นเจ้าภาพการสัมมนาในหัวข้อธุรกิจประเภทนี้อยู่เป็นประจำ

         จากการสำ รวจของ CB Insights นั้นพบว่า ในช่วงปี 2012 ได้มีการระดมทุนเกือบ 6,400 ล้านดอลลาร์ในธุรกิจ PropTech โดยมาจากกลุ่มทุนที่แตกต่างกันทั้งกลุ่มของโบรกเกอร์นักลงทุนและเจ้าของและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จนกระทั่งในช่วงปลายปี 2016 ได้มีการประกาศจาก Venture Scanner ว่ามีการระดมทุนใน PropTech ที่มีมูลค่าถึง 28,000 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียว ซึ่งเป็นการบอกใบ้ให้เห็นชัดเจนขึ้นว่านักลงทุนและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก กำลังตื่นตัวกับการพัฒนาเทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์และกลัวที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังอย่างโดดเดี่ยว โดยการคาดการณ์จาก University of Oxford นั้นชี้ว่ามีแนวโน้มที่จะมี PropTech กว่า 2,000 แห่งในปี 2017 นี้และใน 60% จะมีการระดมทุนที่ดีขึ้น โดยบางธุรกิจสามารถระดมทุนได้ถึง 300-500 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียวโดยรูปแบบของธุรกิจที่จัดอยู่ใน PropTech ได้แก่ บริการจดทะเบียนและค้นหาทรัพย์, ซอฟท์แวร์ด้านการจัดการและการเช่าซื้อ, บริการด้านการตลาด,การลงทุนและ crowfunding, บริการข้อมูลอสังหาริมทรัพย์, การประเมินทรัพย์และการวิเคราะห์อสังหาริมทรัพย์, สินเชื่อที่อยู่อาศัย, นายหน้าซื้อขายอสังหาฯ, การจัดการอาคารและอสังหาฯและ 3D Virtual หรือชมอสังหาฯในภาพเสมือนจริง เป็นต้น

ระบบบริหารจัดการ Bring The Next Big Things

         บริษัท PiLabs ซึ่งเป็นบริษัท Accelerators เฉพาะด้าน PropTech ที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ ได้ทำการจัดแพลตฟอร์มธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับ PropTech โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ Real Estate FinTech ธุรกิจด้านการควบคุม การจัดการ และการให้บริการอสังหาริมทรัพย์, Contech ธุรกิจด้านการจัดการเทคนิคการก่อสร้าง, Smart Building ธุรกิจด้านการจัดการและการซ่อมแซม และ Sharing Economy ธุรกิจด้านการขยายพื้นที่ให้เช่า พบว่ามีสัดส่วนของ Real Estate มากที่สุด และสัดส่วนของ Smart Building และ Sharing Economy อยู่ในระดับใกล้กัน

         โดยหากเจาะตัวเลขการเติบโตของธุรกิจแต่ละประเภท จะพบว่าธุรกิจในประเภท Sharing Economy นั้นมีสัดส่วนการเติบโตที่เท่ากันกับ Real Estate FinTechเลยทีเดียว โดยจะสามารถแจกแจงรูปแบบของ PropTech และ Fintech ตามข้อมูลของ PiLabs ได้ว่า PropTech นั้นคือการคาบเกี่ยวกับ FinTech หรือก็คือขอบเขตของรูปแบบธุรกิจเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น PropTech Fintech ConTech หรืออื่นๆนั้น ล้วนมีส่วนสัมพันธ์กัน ทำ ให้เราเห็นภาพของ PropTech ได้ชัดเจนมากขึ้น มากกว่านั้นยังมีความสัมพันธ์กับธุรกิจ Tech อื่นๆ อีก ทั้งด้านการก่อสร้าง การซ่อมแซม การจัดการ และการเงิน ซึ่งภาพเหล่านี้นั้นช่วยตอกย้ำอย่างชัดเจนว่า จักรวาลของธุรกิจเทคโนโลยีนั้นขยายมากกว่าเดิมอย่างไร้ขอบเขตและเป็นเรื่องท้าทายเป็นอย่างยิ่งว่าเส้นทางต่อไปนั้นจะดำเนินไปในทางไหน?

  

MASTER BUILDER TRANSFORMED

          ในยุคที่มนุษย์เริ่มเรียนรู้การก่อสร้างและต้องการท้าทายพระเจ้าด้วยการก่อสร้างหอคอยบาเบล โดยจุดมุ่งหมายที่อยากจะใช้ความสูงไต่ไปให้ถึงสวรรค์ ความหยิ่งผยองของมนุษยชาติได้ถูกระงับไว้ด้วยการสื่อสารที่ไม่เข้าใจ จึงทำ ให้หอคอยบาเบลเป็นได้แค่ซากปรักที่ยังสร้างไม่เสร็จ ต่อมามนุษย์ได้เรียนรู้งานก่อสร้างที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานไม้งานเหล็ก งานปูน ทำงานร่วมกันแบบ One for all, All for One หรือที่เรียกว่า Master Builder จนมาถึงในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่การก่อสร้างนั้นมีความรุ่งโรจน์ถึงขีดสุด Master Builder สูญหายไปจากโลกจากการที่ US Capital Dome ได้ก่อสร้างสำ เร็จในปี 1800 โดยการแยกการทำ งานระหว่างสถาปนิกและทีมก่อสร้าง รูปแบบการทำงานของการก่อสร้างเริ่มเปลี่ยนไป แต่ทว่ากลับมีผลงานวิจัยกลับระบุว่างานก่อสร้างนั้นมีประสิทธิภาพตกต่ำลงเรื่อยๆ สาเหตุก็เนื่องมาจากการทำงานที่ไม่สัมพันธ์ของผู้คนจำนวนมาก จนทำ ให้เกิด Human Error ที่สำคัญคือการเข้าถึงอย่างไม่เท่าเทียมของข้อมูล จึงทำให้อุตสาหกรรมการก่อสร้างต้องย้อนหวนกลับไปคิดถึงรูปแบบการทำงานของ Master Builder และ BIM คือผลสัมฤทธิ์ที่ไขกุญแจการแก้ปัญหานี้ BIM หรือ Building Information modeling คือการสร้างแบบจำลอง 3D เพื่อบริหารจัดการการก่อสร้างอาคารและงานก่อสร้าง ฉายภาพระบบงานวิศวกรรมให้ชัดขึ้น ลดขั้นตอนที่ต้องใช้กระบวนการมนุษย์และสร้างรากฐานข้อมูลที่แข็งแรงเพื่อดูแลตลอดวัฏจักรชีวิตอาคาร (Building Lifecycle)


         สิ่งที่ทำให้ BIM เป็นเหมือน MasterBuilder คือความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ และผู้รับเหมาตลอดทุกช่วงเวลาการก่อสร้าง อีกทั้งยังแสดงผลแบบ 3D ในระบบคอมพิวเตอร์โดยที่นักออกแบบไม่ต้อง work on paper อีกต่อไป นอกจากนั้น BIM สามารถเก็บข้อมูลทุกชิ้นส่วนของการก่อสร้าง ทั้งประตูหน้าต่าง เสา คานบันได หรือแม้แต่ก้อนอิฐที่ซ่อนอยู่ในผนัง ทำให้สามารถลดขั้นตอนการตรวจสอบและซ่อมแซมเมื่อเกิดการชำรุด ความแข็งแกร่งของ BIM นั้นคือการเป็น Data Based ที่ยิ่งใหญ่ที่ช่วยลดความสูญเสียทั้งเวลาและงบประมาณในการทำงาน เพิ่มความแม่นยำในการส่งต่อข้อมูล และที่สำคัญคือบรรเทาปัญหา Human Error ไปได้จึงทำให้ BIM เป็นต้นแบบการประยุกต์ใช้ข้อมูลการก่อสร้างที่นิยมและแพร่หลายไปทั่วโลก 

คลังข้อมูลพัฒนาเมือง Data Shifts City

         เมื่อข้อมูลคือคลังแสงอาวุธที่สำคัญต่อการก้าวหน้าในยุคเทคโนโลยีจะเห็นได้ว่าทุกธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นต่างล้วนทำการบ้านมาเป็นอย่างดีในการเก็บข้อมูล เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ pain ของคนส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นที่มาของความสำเร็จอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจสตาร์ทอัพ ไม่เพียงแต่เท่านั้น ข้อมูลยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในระดับเมืองอีกด้วย

         หลังจากเกิดพายุแคทรีนา ที่ได้สร้างความเสียหายอย่างหนักไปทั่วพื้นที่ในสหรัฐอเมริกา ชาวเมืองนิวออลีนส์ได้จัดตั้ง The Greater New Orleans Community Data Center ที่คอยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างท่วงทัน หลังจากเหตุการณ์แคทรีนาสงบลง เมืองนิวออลีนส์ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่ติดอันดับอาชญากรรมสูงเป็นอันดับต้นๆ ก็ได้มีการแก้ปัญหาโดยการระดมทุนจากชาวเมืองใน
ชื่อว่า French Quarter Task Force แอพพลิเคชั่นที่สามารถให้ชาวเมืองแจ้งเหตุด่วนหรือรายงานสิ่งต้องสงสัยได้อย่างสะดวกและรวดเร็วกว่า 911

         ที่น่าตื่นใจคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในทวีปเอเชีย โดยในเดือนมิถุนายน ปี 2015 รัฐบาลสิงคโปร์ได้ร่วมมือกับบริษัท Dassault Systemes ประเทศฝรั่งเศส ในการจัดเก็บภาพ 3D Virtual ทั้งประเทศ! โดยภาพสามมิติรวมไปถึงข้อมูลต่างๆในประเทศสิงคโปร์ได้เผยแพร่ใน YouTube เมื่อเดือนกรกฎาคม 2016 หรือก็คือเวลาแค่ปีกว่าๆเท่านั้น ความสำคัญของการทำ 3D Virtual ในสิงคโปร์นั้นมีนัยยะอย่างมากในแง่ของการพัฒนาคลัง
ข้อมูลทั้งประเทศ ที่จะไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาหรือการพัฒนาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น แต่มันคือการเตรียมการพัฒนาไปพร้อมกันทั้งเมืองเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านปริมาณรถ การจราจร โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข ความปลอดภัย การก่อสร้างอาคาร อสังหาริมทรัพย์และอีกหลายด้านที่จินตนาการไปไม่ถึง

         ลองคิดดูสิว่าแค่เพียงกดคลิกไปที่ห้องในคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง คุณก็มองเห็นตำแหน่งเสา รวมไปถึงวัสดุตกแต่งภายในห้องอย่างครบถ้วนแล้ว และนี่คือความได้เปรียบที่น่าอิจฉาของผู้ที่กุมจักรวาลข้อมูลเอาไว้ในมือเทคโนโลยีนั้นนอกจากจะสามารถขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้แล้ว ยังสามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาในระดับประเทศได้ด้วย เหมือนจิ๊กซอว์หลากชิ้นที่มีการแต่งแต้มความสวยงาม หากมาต่อรวมกันจะเกิดเป็นภาพผืนใหญ่ที่สมบูรณ์แบบ และไม่เหลือแม้เพียงจิ๊กซอว์สักชิ้นที่ไม่มีส่วนร่วม เช่นเดียวกับการประสานกำลังและนวัตกรรมเทคโนโลยีในแต่ละภาคส่วน

เพื่อพัฒนาประเทศไทย โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ขอบคุณข้อมูลจาก: HINT MAGAZINE