คำว่า "กระจกประหยัดพลังงาน" เป็นวัสดุที่นักออกแบบที่ชื่นชอบการใช้กระจก มักจะหวังพึ่งพา แทนที่จะออกแบบรูปแบบอาคารให้มีร่มเงาที่พอเหมาะ โดยลืมไปว่า ที่จริงแล้ว อาคารที่ใช้กระจกในปริมาณมากๆ ก็ไม่ได้การันตีได้ว่า จะเป็นอาคารที่ดูสวย ผิดกับอาคารที่ใช้กระจกในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ใช้มันอย่างสวยงาม มีรายละเอียดการออกแบบที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ยังอาจน่าสนใจมากกว่า
พูดถึงอาคารสาธารณะเหล่านั้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวเกินไป ลองมาดูที่พักอาศัยที่เราต้องใช้มันทุกวันดีกว่าว่า เราพอจะทำอะไรให้ไม่ต้องมาทนทุกข์อยู่กับกระจกได้บ้าง ที่จริงแล้วหลักพื้นฐานก็คือ ใช้กระจกให้เหมาะสมกับทิศ ทิศตะวันตก เป็นทิศที่ได้รับความร้อนรุนแรงจากดวงอาทิตย์ หรือถ้าเลือกไม่ได้ก็ต้องเพิ่ม ผ้าม่านหนาๆ ระแนงชนิดต่าง ชายคา ปลูกต้นไม้บังแดด เพื่อลดความร้อนกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละท่าน คนอยู่คอนโดฯ บางท่านก็อาจมีการใช้ฟิล์กรองแสงเข้าช่วย ส่วนใครที่คิดจะแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนชนิดกระจกนั้นให้ลองพิจารณา ดังนี้
1. กระจกสะท้อนแสง (reflective) ซึ่งเป็นกระจกที่สะท้อนความร้อนได้บ้าง แต่เป็นกระจกที่ดูค่อนข้างทึบ และมีคุณสมบัติด้านการมองเห็นบางอยางที่ไม่เหมาะสำหรับใช้ในที่พักอาศัย
2. กระจกฉนวน (insulated glass unit) เป็นกระจก 2 แผ่น หรือมากกว่า ประกบกันโดยมีช่องว่างระหว่างกลางแล้วใส่ ก๊าซเฉื่อยเข้าไป ในผิวกระจกด้านในมีการฉาบโลหะเพื่อลดการแผ่รังสีความร้อนความหนากระจกโดยรวมจะหนากว่า กระจกปกติ จะใช้ร่วมกับเฟรมอลมูเนียมกระจกบ้านทั่วไปไม่ได้
3. กระจกพิมพ์ลาย (ceramic frit) เป็นกระจกสกรีนลายลงบนผิว แล้วนำไปอบเพื่อให้ลายที่พิมพ์หลอมยึดติดได้ดีขนึ้กับผิวกระจก ลายที่พิมพ์สามารถกรองแสงได้ มักใช้กันตามงานหลังคากระจก ถ้าสกรีนลายจดุแบบถี่ๆ เล็กๆ และถ้ามองจาก ระยะไกล ก็จะดูกลมกลืนจนไม่รู้สึกถึงลายจุด
4. กระจกฝ้า สามารถผลิตได้จากหลายวิธี แต่การใช้กระจกฝ้าจะทำให้สูญูเสียการมองเห็นวิวข้างนอกไปเลย กระจกทั้ง4 ชนิดนี้ โดยรายละเอียดเฉพาะของแต่ละชนิด คงต้องพูดกันอีกยาว และด้วยความยุ่งยาก กับหน้าตาที่ไม่เหมือนกระจกใสธรรมดาทั่วไป จึงไมค่อยมีการนำมาใช้ในงานกระจกบ้านพักอาศัย และที่สำคัญ ช่องแสงที่ได้รับแสงแดด แบบตรงๆ (direct sun) นั้นเราจะใช้กระจกอะไรก็ช่วยไม่ได้มาก ต้องใช้องค์ประกอบอื่นๆ ของการออกแบบเข้าช่วย รวม ไปถึงความอดทนของผู้ใช้อาคารด้วยค่ะ
เลือกใช้งานกระจกอาคารในตาแหน่ง และปริมาณที่เหมาะสมกับภูมิอากาศของประเทศเรากันนะค่ะ
ที่มา Akanek.com

บทความโดย : TerraBKK.com


สามารถติดตาม Terrabkk ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ

Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.