ข่าวต่างประเทศนำเสนอว่า คนที่มีอายุมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีอายุถึง 107 ปี! มากโขเลยทีเดียวเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอายุขัยของประชากรในสมัยก่อน ถึงแม้ว่าคนที่มีอายุมากที่สุดจะเป็นประชากรจากทางฝั่งตะวันตก แต่ก็ใช่ว่าทางฝั่งตะวันออกอย่างบ้านเราจะไม่มีผู้สูงอายุเอาเสียเลย กลับตรงข้ามว่าจำนวนของประชากรสูงอายุไม่ว่าจะที่ใดในโลกต่างล้วนเพิ่มขึ้นทั้งนั้น (บางสื่อเพิ่งนำเสนอว่าล่าสุดค้นพบชายชราไทยอายุ 120 ปี ซึ่งหากเป็นจริง ประเทศไทยจะมีประชากรที่อายุมากที่สุดในโลก) และเป็นสิ่งที่การันตีได้ว่า ประเทศเราย่างกรายเข้าสู่ สังคมสูงวัย เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เพราะเนื่องจากปัจจัยประกอบทั้งหลายด้าน ทั้งปัจจัยทางการแพทย์ อาหารและโภชนาการ รวมไปถึงเทคโนโลยีที่รุดหน้าขึ้นมากจากสมัยก่อน ทำให้การเพิ่มขึ้นของวัยชรา นับเป็นอีกเทรนด์ที่เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะะทุกคนต่างรู้อยู่แก่ใจอย่างที่สุดแล้วว่า อายุที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่จับต้องได้และจะเกิดขึ้นจริงแน่นอน

สังคมผู้สูงอายุสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย(aging society) ตั้งแต่ปี 2547 และมีท่าที่ที่จะเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด ในปี 2574 โดยประชากรสูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป จะมีจำนวนถึงร้อยละ 20 เลยทีเดียว หนึ่งในตัวบ่งชี้ด้านสังคมผู้สูงอายุคือ ดัชนีการสูงวัย (Aging index)” ซึ่งเป็นการแสดงการเปรียบเทียบโครงสร้างประชากรระหว่างการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มประชากรวัยเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งจะเป็นกลุ่มประชากรที่มีอัตราการเติบโตทดแทนกัน หมายความว่าเมื่อประชากรวัยเด็กเติบโตจะไปทดแทนการสูญสิ้นของประชากรสูงอายุนั่นเอง ซึ่งการตีความค่าดัชนีคือ เมื่อค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 หมายความว่ามีประชากรสูงอายุน้อยกว่าวัยเด็ก และหากค่าดัชนีเกินกว่า 100 จะหมายความว่าจำนวนประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรเด็กนั่นเอ โดยสามารถแบ่งระดับของสังคมสูงวัยได้ ดังนี้

  • สังคมเยาว์วัย (young society) ค่าดัชนีการสูงวัยต่ำกว่า 50
  • สังคมสูงวัย (aged society) ค่าดัชนีการสูงวัยระหว่าง 50-119.9
  • สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (completed aged society) ค่าดัชนีการสูงวัยระหว่าง 120-199.9
  • สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (super aged society) ค่าดัชนีการสูงวัยตั้งแต่ 200 ขึ้นไป

ซึ่งแสดงผลว่าปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียนั้น มีประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน สิงคโปร์ และไทย ที่เข้าสู่สังคมสูงวัยไปจนถึงสังคมสูงวัยระดับสุดยอดเรียร้อยแล้ว ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มสังคมสูงวัย โดยจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยช่วงปี 2553-2583 หรืออีก 30 ปีข้างหน้า ของสำนักบริหารงานทะเบียน กรมการปกครอง จำแนกสถิติจำนวนการเกิด อัตราการเกิด และอัตราการเจริญพันธ์ โดยในอดีตช่วงปี พ.ศ.2506-2526 มีจำนวนการเกิดมากกว่า 1 ล้านคน แต่ในปี พ.ศ.2556 มีจำนวนการเกิดเพียงแค่ 800,000 คน และในอีก 20 ปีข้างหน้าจะลดเหลือเพียงแค่ 600,000 คน ซึ่งหมายความว่าจะมีคนวัยทำงานน้อยลงแต่จำนวนประชากรสูงอายุจะเพิ่มมากขึ้น ภาคเหนือตอนบนกับการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่ได้กลายเป็นที่อยู่อาศัยในระยะยาวของวัยเกษียณทั้งสำหรับประชากรไทยและชาวต่างชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ โดยในปี พ.ศ.2573 เป็นต้นไป ภาคเหนือและภาคกลาง จะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอดอย่างสมบูรณ์ หากลองวิเคราะห์แบบคร่าวๆ จะมองเห็นโอกาสของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือ ซึ่งเป็นภาคที่มีประชากรสูงอายุมากที่สุดในประเทศ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน หรือเกือบแทบทุกจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเลยทีเดียว ซึ่งเป็นปัจจัยภายในที่ส่งผลให้จังหวัดในภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรองรับการพำนักระยะยาวทั้งสำหรับชาวไทยและชาวต่างชาติ นอกเหนือไปจากศักยภาพทางภูมิประเทศ โอกาสของธุรกิจ Long Stay สำหรับเมืองเหนือ          การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว หรือ Long Stay ความจริงแล้วเกิดขึ้นมานานทางแถบตะวันตก โดยเป็นการท่องเที่ยวของประชากรผู้มีรายได้ดีและมั่นคง เป็นกลุ่มประชากรที่มีความสามารถในการใช้จ่ายเงินเพื่อการพักผ่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประชากรที่มีอายุหรือประชากรสูงวัย เพื่อแสวงหาความสุขให้กับตัวเอง โดยจะเป็นไปในรูปแบบของชมรม (club) และในระยะหลัง long stay ได้พัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวหลายรูปแบบที่เป็นการพักอาศัยนานวัน แต่ยังยึดแนวคิดเดิม โดยสามารถจำแนกประเภทของนักท่องเที่ยวที่พำนักอยู่ในประเทศไทยเกิน  30 วันขึ้นไป ได้ 4 ประเภท คือ

  • นักท่องเที่ยวพำนักระยะยาว - มีมากในฤดูหนาวของไทย เนื่องจากกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักที่มาต้องการหลีกเลี่ยงจากสภาพอากาสหนาวจัดในประเทศของตัวเอง รวมไปถึงผู้มารักษาสุขภาพในเมืองไทยเป็นครั้งคราว
  • นักท่องเที่ยวกลุ่มหลังเกษียณที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่ต้องการพักผ่อนปย่อนใจเพื่อความสุขส่วนตัว มีสุขภาพดีและช่วยเหลือตนเองได้
  • กลุ่มนักเรียนและนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในประเทศไทย
  • กลุ่มนักกีฬาทีเข้ามาเก็บตัว 

สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ หัวเมืองหลักของภาคเหนือ จัดว่าเป็นเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบพำนักยาวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ได้เข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอดอย่างสมบูรณ์ในปัจจุบัน โดยนักท่องเที่ยวสูงอายุที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี และผู้เกษียณอายุการทำงานและเดินเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้น มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.33 ต่อปี และมีการจับจ่ายโดยเฉลี่ยต่อคนต่อวันประมาณ 44 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งต่ำกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวทั่วไป แต่การพักในระยะยาวที่มากกว่า ก็สามารถสร้างมูลค่ารายได้เข้ามาได้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีประชากรญี่ปุ่นเข้ามาพำนักระยะยาวในเชียงใหม่ราว 3,000 คน มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยคนละ 3 แสนบาทต่อปี สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทคนต่อปี  ซึ่งการตอบรับของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งในด้านที่อยู่อาศัยและการท่องเที่ยวภายในเมืองเชียงใหม่สำหรับการพำนักระยะยาวและประชากรสูงัวย ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกระจายตัวอยู่บริเวณอำเภอแม่แตง อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง อำเภอสะเมิง และอำเภอดอยสะเก็ด โดยมีปัจจัยมาจากเป็นพื้นที่ที่มีระยะทางไม่ไกลจากอำเมืองมาก เดินทางสะดวก และมีอากาศบริสุทธิ์ รวมไปถึงทัศนียภาพที่เหมาะกับการพักผ่อนและการท่องเที่ยว Hospica Villa – Long Stay Complex นำร่องของเชียงใหม่

 บริษัทฮอสปิก้า ดีเวลลอปเม้นท์ กลุ่มทุนท้องถิ่นเชียงใหม่ และกลุ่มทุนจากประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมลงทุนโครงการ Hospica Villa บนเนื้อที่ 45 ไร่บริเวณตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง มูลค่าการลงทุนกว่า 1,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่พักอาศัยระดับ 5 ดาว โดยเน้นความเป็น community สำหรับชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะ โดยประกอบไปด้วยวิลล่า 46 ยูนิต, คอนโดมิเนียม low rise 60 ยูนิต, โรวงแรมระดับ 4-5 ดาว ศูนย์ดูแลสุขภาพ คลับเฮ้าส์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ สปา และส่วนบริการอื่นๆ ซึ่งถือเป็น mega project ที่ใหญ่ที่จะช่วยกรุยตลาด long stay รวมไปถึงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้สูงอายุให้กับจังหวัดเชียงใหม่ได้ในระดับโลก - เทอร์ร่า บีเคเค

ภาพจาก : http://mm-corporation.biz/

บทความโดย : TerraBKK ข่าวอสังหาฯ

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก