เมื่อพูดถึงการทำประกันเรามักจะนึกถึงการทำประกันชีวิต การทำประกันอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อไว้ให้ตนเอง ซื้อให้ลูก หรือซื้อให้พ่อ แม่ แต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการทำประกันมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประกันสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รถยนต์ รวมถึงที่อยู่อาศัยประเภทบ้าน คอนโด สำหรับประกันเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยมีด้วยกันหลายส่วน ได้แก่ การประกันอัคคีภัย ประกันที่เกี่ยวกับภัยพิบัติ และ ประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย วันนี้ TerraBKK จึงเลือกที่จะเสนอประเกี่ยวกับการทำ "ประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย" ว่ามีความน่าสนใจอย่างไร และมีเหตุผลอะไรที่เราต้องทำประกันประเภทนี้ มีความน่าสนใจดังต่อไปนี้

เหตุผลขั้นแรกของการทำประกัน เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันเราต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆที่เป็นเหตุร้ายซึ่งเราไม่สามารถหลักเลี่ยงไม่สามารถ และเราไม่สามารถควบคุมเหตุร้ายเหล่าานั้นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งหลังเหตุร้ายต่างๆก็มักจะตามมาด้วยต้นทุนที่เราจะต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง เช่น ค่าเสียหาย ค่ารักษา รวมถึง ภาระที่บุคคลที่อยู่ข้างหลังต้องรับผิดชอบต่อไป การทำประกันจึงเป็นคำตอบอันหนึ่งที่ช่วยปกป้องคุณได้จากเหตุร้ายต่างๆ โดยการโอนภาระค่าใช้จ่ายไปยังบริษัทประกันให้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายแทนเรา

ประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ภาพจาก : Land and Houses

แล้วการทำ “ประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย” เป็นอย่างไร ?

ประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Mortgage Reducing Term Insurance : MRTA) เป็นประกันที่เกี่ยวข้องกับการชำระคืนเงินกู้ให้กับสถานบันการเงิน โดยจะคุ้มครองภาระหนี้คงค้างส่วนที่เหลือ ในกรณีที่เกิดเหตุเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นจากการเจ็บป่วยหรือเกิดอุบติเหตุ หรือกรณีทุพพลภาพ ซึ่งลูกหนี้เองไม่สามารถหารายได้เพื่อมาชำระเงินกู้ที่ทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินเอาไว้ ในกรณีที่เกิดเหตุเช่นนี้ทางบริษัทประกันจะช่วยปลด/ลดภาระหนี้สินที่ยังคงค้างกับสถาบันการเงินนั้นๆแทนผู้เอาประกัน โดยที่อยู่เบื่องหลังผู้เอาประกัน ไม่ว่าจะเป็น ภรรยา ลูก หลาน รวมถึงผู้ที่สืบต่อทายาท ไม่ต้องมีภาระในการชำระเงินกู้แทนเอาประกัน

ประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย ไม่เพียงแต่จะช่วยผู้เอาประกันให้ไม่มีภาระส่งต่อไปบุคคลผู้อยู่เบื่องหลัง แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อสถาบันบันด้วย (Win-Win) เป็นการสร้างความมั่นใจว่าสถาบันการเงินจะได้รับการชำระคืนกรณีผู้เอาประกันเสียชีวิตหรือทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้สินและยึดทรัพย์ นอกจากนั้นยังได้ผลทางอ้อม คือ ช่วยส่งเสริมภาพพจน์ที่ดีให้แก่สถาบันการเงินจากความเสี่ยงของธนาคารที่ลดลง และรักษาฐานลูกค้าสินเชื่อให้คงอยู่กับสถาบันการเงิน ตลอดระยะเวลาการประกันภัย

สิทธิประโยชน์ ที่นอกเหนือจากผู้เอาประกันไม่ต้องเดือดร้อนกับภาระหนี้สินที่ค้างชำระโดยกรรมสิทธิ์บ้านจะตกเป็นของทายาทและครอบครัวโดยสมบูรณ์แน่นนอน ผู้เอาประกันยังได้รับประโยชน์ คือ ความได้เปรียบของเบี้ยประกันภัยที่ต่ำแต่ได้รับความคุ้มครองสูง และสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท สำหรับระยะเวลาเอาประกันภัยตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

สำหรับการเลือกซื้อประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยปกติแล้วประกันชนิดนี้จะสามารถทำได้พร้อมกับขอสินเชื่อกับทางธนาคาร โดยทุนประกันจะแปรผันตามจำนวนสินเชื่อที่ขอคุ้มครอง ปกติแล้วทุนประกันขั้นต่ำจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 บาท และระยะเวลาคุ้มครองส่วนใหญ่ไม่เกิน 30 ปีเพราะระยะเวลาการกู้ส่วนใหญ่จะมากสุดที่ประมาณ 30 ปี

ประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ภาพจาก : Land and Houses

ตัวอย่าง ประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยของบริษัท A”

แผนประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่คุ้มครองภาระหนี้คงค้าง โดยจะจ่าย 100% จากตารางทุนลดตามสัญญาสินเชื่อตลอดอายุเงินกู้ หรือ ตลอดระยะเวลาทำประกัน

สิทธิประโยชน์และความคุ้มครอง

  • การสูญเสียชีวิตจากทุกกรณี ( เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ)
  • การทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร

ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย

  • ชำระเบี้ยครั้งเดียว แบบเงินสด และแบบเงินกู้

ระยะเวลาคุ้มครอง

  • ตั้งแต่ 3 - 30 ปี (ไม่เกินระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้ หรือตลอดระยะเวลาทำประกัน)

จำนวนเงินเอาประกันภัย

  • ทุนประกันขั้นต่ำ 30,000 บาท
  • ทุนประกันสูงสุด เท่ากับวงเงินสินเชื่อ หรือ 30 ล้านบาท

คุณสมบัติของผู้สมัครและการพิจารณารับประกัน

  • เป็นลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
  • อายุระหว่าง 21-62 ปี (คุ้มครองอายุสูงสุดถึง 65 ปี)

อัตราเบี้ยประกัน

  • ขึ้นอยู่กับทุนประกัน / ระยะเวลาเอาประกัน / เพศ / อายุผู้เอาประกัน

สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี

  • กรณีทำประกันตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดาสูงสุดถึง 100,000 บาท

นี่ก็เป็นตัวอย่างรูปแบบประกันอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจทั้งช่วยผู้เอาประกันแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงให้แก่ธนาคารอีกด้วยจากการผิดนัดชำระหนี้ - เทอร์ร่า บีเคเค

บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้ TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก