ล่าสุดกระแสนการขุด คอคอดกระ กลับมาเป็นที่ให้ความสนใจอีกครั้งหลังจากสื่อจีนอย่าง CCTV ได้นำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง “Silk Road to The Future” และได้มีการให้ข้อมูลถึง ความร่วมมือของไทยกับจีนที่จะร่วมกันศึกษา คอคอดกระ โดยรัฐบาลจีนพร้อมที่จะให้การสนับสนุนรัฐบาลไทยในโครงการนี้ จากการประเมินคร่าวๆโครงการนี้น่าจะมีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านบาท ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างยาวนานถึง 10 ปี และถ้าหากเกิดขึ้นจริงก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญครั้งหนึ่งของโลกเลยทีเดียว

จากกระแสข่าวที่สื่อหลายสำนักต่างให้ความสนใจโครงการขุด คอคอดกระ นี้ TerraBKK จึงได้รวบรวมประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคอคอดกระ ร่วมถึงตำแหน่งที่ตั้งที่คาดว่าจะเป็นจุดที่จะสามารถเกิดคอคอดกระขึ้นได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ประวิติศาสตร์ความเป็นมาในอดีต เหตุใดถึงไม่ได้สร้าง?

จากข้อมูลจาก ​วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี พบว่า คอคอดกระ ตั้งอยู่ระหว่างเขตอำเภอกระบุรี จังหวัดระนองกับอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ระยะทางของคอคอดกระอยู่ที่ประมาณ 50 กิโลเมตรเท่านั้น การขุดคอคอดกระเริ่มได้รับความสนใจในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 4 ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ระหว่างสองประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศษและอังกฤษ โดยอังกฤษต้องการให้สิงคโปร์เป็นเมืองท่าทำให้การขุดคอคอดกระของฝรั่งเศษไม่เป็นผลสำเร็จ อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้โครงการนี้ไม่สามารถสำเร็จได้เกิดจากความมั่นคงระหว่างประเทศ และกลัวว่าจะเกิดการแบ่งแยกดินแดนของดินแดนฝั่งเหนือและฝั่งใต้ขึ้นและทำให้การบริหารงานยากลำบากมากขึ้นด้วย

ถ้าให้นึกด้านดีของการขุดคอคอดกระ หลายคนอาจจะมองภาพไปถึงการเป็นเมืองท่าของสิงคโปร์ในปัจจุบันทั้งผลดีในด้านเศรษฐกิจ แหล่งรายได้เข้าประเทศอันมหาศาลจากการเก็บค่าผ่านทางเรือเดินสมุทรที่ไม่ต้องเสียอ้อมไปยังประเทศสิงค์โปร์ รวมถึงยังช่วยกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนสร้างความเจริญให้แก่คนในพื้นที่ แต่อีกด้านหนึ่งที่ต้องแลกมากับสิ่งเหล่านี้คือ การสูญเสียทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ สัตว์ป่า และที่ดินทำมาหากินของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าว รวมถึงผลกระทบต่อเนื่องทางการเมืองที่หลายฝ่ายเป็นห่วง

แต่อย่างไรก็ต้องโครงการนี้ก็ยังไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและยังได้รับการปฏิเสธโครงการดังกล่าวอยู่ โดยให้เหตุผลถึงความมั่นคงของชาติว่าจะได้รับผลกระทบถ้าหากมีการขุดคอคอดกระเกิดขึ้นจริง ทำให้ต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ

ตำแหน่งที่ตั้ง คอคอดกระ เส้นทาง 9A อยู่ตรงไหน ?

ภาพจากบทความ : กรอบการพิจารณา แนวขุดคลองไทย (คอคอดกระ)

ปัจจุบันทางเลือกเส้นทางขุดคอคอดกระมีด้วยกันหลากหลายเส้น แต่จากความเห็นช่วงที่ผ่านมาเส้นทาง 9A ระยะทาง 120 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่ดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด (ข้อมูลจาก : รศ.ดร. สถาพร เขียววิมล จากบทความ กรอบการพิจารณา แนวขุดคลองไทย (คอคอดกระ))

ภาพจากบทความ : กรอบการพิจารณา แนวขุดคลองไทย (คอคอดกระ)

เส้นทาง 9A เส้นทางจากจังหวัดกระบี่-ตรัง-พัทลุง-นครศรีธรรมราช

ข้อดี

  1. ตำแหน่งที่ตั้งเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ อยู่ระหว่างกลางประเทศพม่าปลายแหลมมลายู และประเทศสิงค์โปร์ไม่มีปัญหาด้านความมั่นคง) ห่างจากชายแดนพม่าประมาณ 700 กิโลเมตรและห่างจากประเทศสิงคโปร์ ประมาณ 700 กิโลเมตร
  2. ทางภูมิรัฐศาสตร์บริเวณคลองเป็นชาวไทยพุทธร้อยละ 95 และรวมพื้นที่ใต้แนวคลองทั้งหมดประชากรส่วนใหญ่เป็นไทยพุทธหากมีการแทรกแซงจากภายนอกที่จะก่อให้เกิดปัญหาการแบ่งแยกดินแดนจะทำได้ยาก
  3. อยู่ในเส้นทางการเดินเรือสากลและสามารถพัฒนาท่าเรือหลบมรสุมได้ทั้ง 2 ฝั่งทะเล
  4. ระบบโครงสร้างพื้นฐานมีความพร้อม อาทิเช่น โรงงานปูนซิเมนต์ทุ่งสง กำลังผลิต 8 ล้านตัน/ปี และศูนย์กลางการคมนาคมทางบก มีทางหลัก 4 สาย รถไฟ 2 สาย และทางอากาศมีสนามบินใกล้ถึง 3 สนามบิน
  5. มีแหล่งน้ำจืดที่ใช้ในกิจการของคลองและสนับสนุนอุตสาหกรรมเพียงพอโดยกรมชลประทานเป็นผู้วางแผนสนับสนุนเรื่องนำ้อย่างเต็มที่
  6. มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่สาหรับเมืองใหม่ เขตเศรษฐกิจพิเศษและที่จะสามารถพัฒนาได้กว้างใหญ่ถึง 3 ที่ คือ ที่ปากคลองทั้งสองฝั่งทะเลและบริเวณกลางคลอง
  7. มีความหนาแน่นของประชากรน้อย ทำให้ลดค่าขนย้าย และค่ารื้อย้าย
  8. ระดับน้ำทั้ง 2 ฝั่งทะเลต่างกันประมาณ 0.5 เมตร
  9. ประชาชนในแนวคลอง ทั้ง 23 อ.บ.ต สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวคลองเองตลอดแนวคลอง 9A ได้มีการประชุมกัน 15 ครั้ง

ข้อเสีย

  1. แนว 9A ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร แนวที่ 2A ยาว 92 กิโลเมตร แนวที่ 5A ยาว 102 กิโลเมตร และแนวที่ 7A ยาว 105 กิโลเมตร
  2. มีเส้นทางพาดผ่านพื้นที่เนินเขาประมาณ 10 กิโลเมตร บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช
  3. แนวคลองพาดผ่านพื้นที่บางส่วนเลี้ยวของพรุควนเคร็ง ถ้าไม่มีการจัดการที่เหมาะสมอาจจะทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้
  4. ไม่สามารถสร้างท่าเรือริมทะเลได้ต้องพัฒนาพรุควนเคร็งบางส่วนเป็นท่าเรือเคร็ง (Port of Kreng) เพื่อหลบมรสุมด้านอ่าวไทย

นี่ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับคอคอดกระที่ TerraBKK รวบรวมมาให้อ่านเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น จะเป็นอย่างไรต่อไปก็ต้องรอลุ้นกันต่อไป

บทความโดย : TerraBKK ข่าวอสังหาฯ TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก