การซื้อขายอะไรก็ตาม ต้องมีภาษีบวกมากับการขายด้วยเสมอ ไม่เว้นแม้แต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือขายที่ดิน ซึ่งคนเสียค่าใช้จ่ายไม่ได้มีเพียงผู้ซื้อเท่านั้น มีค่าใช้จ่ายทางกฎหมายซึ่งเป็นภาระของผู้ขาย ทั้งที่เป็นบุคคลและนิติบุคคล ต้องจ่ายพ่วงเข้ามาด้วยหลายประการ พอจะจำแนกได้ดังนี้

1.ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่ต้องเสีย ณ ที่ทำการที่ดินในวันที่จดทะเบียนการโอนเงินได้ที่นำมาคำนวณเป็นราคาที่ประเมินโดยกรมที่ดินเท่านั้น ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต่างต้องเสียภาษีนี้เหมือนกัน แตกต่างกันที่วิธีคำนวณ โดยในบุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ที่ดิน คำนวณจากวิธีการได้มาของที่ดินนั้น

  1.1 ) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีได้มาโดยมรดกหรือมีคนให้โดยเสน่หา คือไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้มาฟรี มีวิธีการคำนวณดังนี้

เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์

หัก       (ถ้ามี อสังหาริมทรัพย์นั้น ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือ เมืองพัทยา จะได้รับยกเว้นเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาทตลอดปีภาษี )

เงินได้คงเหลือ

หัก        ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา (ร้อยละ 50 )

เงินได้สุทธิ

หาร       จำนวนปีที่ถื่อครอง (นับตามปี พ.ศ. แต่ไม่เกิน 10 ปี)

เงินได้สุทธิถัวเฉลี่ยต่อปีที่ถื่อครอง

คูณ       อัตราภาษีก้าวหน้า

จำนวนเงินภาษีต่อปีที่ถือครอง

คูณ       จำนวนปีที่ถือครอง

1.2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีได้มาโดยทางอื่น ที่มิใช่มรดก เช่น ซื้อมาปลูกบ้าน หรือซื้อมาเพื่อเก็งกำไร เป็นการได้มาโดยเสียค่าใช้จ่าย จะมีวิธีคำนวณดังนี้

เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์

หัก        ค่าใช้จ่าย

            จำนวนปีที่ถือครอง

1

2

3

4

5

6

7

8 ปีขึ้นไป

อัตราค่าใช้จ่าย

92%

84%

77%

71%

65%

60%

55%

50%

หาร       จำนวนปีที่ถือครอง (นับตามปี พ.ศ. แต่ไม่เกิน 10 ปี)

เงินได้สุทธิถัวเฉลี่ยต่อปีที่ถือครอง

คูณ       อัตราภาษีก้าวหน้า

จำนวนเงินภาษีต่อปีที่ถือครอง

คูณ       จำนวนปีที่ถือครอง

จำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย

1.3)การเสียภาษีเงินได้ของนิติบุคคล เสียภาษีร้อยละ 1 ของราคาขายหรือราคาที่ประเมินโดยกรมที่ดิน โดยยึดเอาราคาที่สูงกว่าเป็นหลัก

2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ จะจ่ายเฉพาะกรณีขายที่ดินเพื่อการค้าหรือหาผลกำไรเท่านั้น เช่นการขายที่ดินเพื่อทำจัดสรร อาจเป็นนิติบุคคลที่ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำไปประกอบธุรกิจต่อ หรือเป็นบุคคลธรรมดาที่ได้อสังหาริมทรัพย์นั้นมาไม่เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปี ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีท้องถิ่นในอัตราร้อยละ 3.3 ของรายได้จากการขาย ผู้ทำการจัดสรรต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะภายใน 30 วัน 3. อากรแสตมป์ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเสียค่าอากรสแตมป์ในอัตราเดียวกัน คือ 1 บาท ต่อทุก 200 บาทและเศษของ 200 จากราคาขายหรือราคาประเมินแล้วแต่ว่าราคาใดจะสูงกว่า แต่มีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสแตมป์สำหรับผู้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ >>สามารถเข้าไปคำนวณภาษีได้จากเว็บไซต์ของกรมสรรพากร click...