จากกระแสบทความ "10 กลโกงผู้รับเหมา" ที่ได้เสียงตอบรับจากผู้อ่านอย่างล้นหลาม TerraBKK จึงอยากที่จะนำเสนอปัญหาอีกด้านที่ผู้รับเหมาได้รับผลกระทบจากผู้ว่าจ้างระหว่างการทำงาน เนื่องจากบางครั้งผู้รับเหมาก็ถูกผู้ว่าจ้างโกงเช่นกัน จะมีเรื่องอะไรบ้างที่ทำให้ผู้รับเหมาต้องหนักใจ มี 10 ข้อดังนี้

  1. ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินไม่ตรงกำหนดเวลา เป็นปัญหาที่ผู้รับเหมาหลายท่านประสบพบเจอบ่อยที่สุด เมื่อผู้รับเหมาทำงานเสร็จตามกำหนดแล้ว สุดท้ายผู้ว่าจ้างไม่ยอมจ่ายเงิน ผู้รับเหมาต้องปวดหัวตามทวงหนี้จากผู้ว่าจ้าง โดยผู้ว่าจ้างมักจะหาข้ออ้างเหตุผลต่างๆเพื่อชะลอการจ่ายเงินออกไป
  2. ผู้ว่าจ้างแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่รู้จบ ไม่ทำตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยรองลงมาจากเรื่องการจ่ายเงินล่าช้า ผู้ว่าจ้างมักจะคาดหวังผลงานที่ดีจากผู้รับเหมาเสมอ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ผู้รับเหมาต้องเข้ามาแก้งาน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าผู้ว่าจ้างบางท่านแก้ไขแล้วแก้ไขอีก เปลี่ยนแปลงไม่รู้จบ ไม่ยอมให้ผ่าน ทำให้งานส่วนอื่นๆไม่คืบหน้า จึงเป็นเหตุผลที่ผู้รับเหมาต้องทิ้งงานเพราะกลัวขาดทุน และเจอปัญหาไม่รู้จบ
  3. สัญญาปากเปล่าทำเสร็จผู้ว่าจ้างไม่จ่ายเงิน เป็นปัญหาสืบเนื่องจาก 2 ปัญหาข้างต้น สัญญาปากเปล่าเป็นสัญญาที่ต่างฝ่ายต่างเชื่อใจกันและกัน บางครั้งงานเล็กๆน้อยๆไม่จำเป็นที่ผู้รับเหมาและผู้ว่างจ้างจะต้องมาทำสัญญากัน แต่สุดท้ายเมื่อผู้รับเหมาทำงานเสร็จ ผู้ว่าจ้างกลับบิดคำพูดไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเหมา อีกทั้งสัญญาปากเปล่าไม่มีหลักฐานที่จะเอาผิดแก่ผู้ว่าจ้างทำให้ต้นทุนที่ผู้รับเหมาลงไปไม่ได้รายได้กลับคืนมา
  4. ผู้ว่าจ้างเพิ่มงานไปเรื่อย แต่ไม่เพิ่มเงิน บางครั้งงานอยู่นอกเหนือจากสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ ทำให้ผู้รับเหมาต้องแบกรับต้นทุนทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรง ค่าดำเนินการ ค่าเสียเวลา ไปโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนกลับคืนมา ผู้ว่าจ้างบางรายบอกทำให้ตรงนั้นตรงนี้เพิ่ม แต่ทำเสร็จไม่มีเงินจ่ายผู้รับเหมาต้นทุนที่ลงไปก็กลายเป็นต้นทุนจมที่ผู้รับเหมาต้องรับภาระจึงเป็นเหตุผลที่ผู้รับเหมาต้องทิ้งงาน กรณีนี้ผู้ว่าจ้างก็ไม่ควรตำหนิต่อว่าผู้รับเหมาว่าทิ้งงานเพราะตนทำผิดสัญญาตั้งแต่สั่งงานนอกเหนือสัญญาแล้ว
  5. ผู้รับเหมาทำแล้วขาดทุน บางครั้งปัญหาตรงนี้เกิดจากตัวของผู้ว่าจ้างเอง ทั้งจากกรณีการสั่งงานนอกเหนือจากสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ การแก้ปัญหาจุกจิก เปลี่ยนสเปควัสดุกลางคันไม่เป็นไปตามสัญญาซึ่งจะทำให้ต้นทุนของผู้รับเหมาบานปลายออกไป
  6. ผู้ว่าจ้างเลือกผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำ จ่ายน้อยแต่อยากได้ของดี ผู้ว่าจ้างมักจะหาผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำๆแต่กลับอยากได้ผลงานดีๆ มาตรฐานดีๆ ในราคาถูก ทั้งการเปลี่ยนแปลงวัสดุที่นอกเหนือจากสัญญาและการแก้งานบ่อยให้ได้เนี๊ยบอย่างที่ตนเองต้องการ ทำให้ต้นทุนของผู้รับเหมาสูงขึ้นจากต้นทุนค่าแรงที่จะต้องจ่ายตาเวลาเพิ่มมากขึ้น ต้นทุนเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างที่จะต้องจ่ายมากขึ้น ดังนั้น ผู้ว่าจ้างเวลาเลือกผู้รับเหมาที่เสนอราคามา ถ้าเลือกผู้รับเหมาที่ราคาถูกกว่าความเป็นจริงก็ควรที่จะเข้าใจด้วยว่างานที่ได้อาจจะไม่ได้ดีอย่างที่ตัวเองคาดหวังเอาไว้ ทางแก้ไขเพื่อช่วยลดปัญหาตรงนี้ ผู้รับเหมากับผู้ว่าจ้างควรพูดคุยปรึกษาถึงเรื่องวัสดุที่จะนำมาใช้ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
  7. http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2015/03/Con1.jpg

  8. ผู้ว่าจ้างติดต่อนายหน้า ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างติดต่อนายหน้า นายหน้าจะมีค่าหัวคิวที่จะต้องแบ่งเอาไว้กับตัวเองส่วนหนึ่งแล้วอีกส่วนหนึ่งเอาไว้แบ่งค่าจ้างให้ผู้รับเหมา ราคาที่นายหน้าเสนอแก่ผู้ว่าจ้างจึงสูงเกินจริง นายหน้าบางรายเก็บค่าหัวคิวแพงและเงินตกถึงมือผู้รับเหมาเพียงนิดเดียวผู้รับเหมาจึงต้องลดสเปคงานให้ต่ำลง ผู้ว่าจ้างที่จ่ายเงินให้กับนายหน้าราคาแพงๆกลับได้งานสเปคต่ำไม่เป็นตามที่นายหน้าคุยเอาไว้ ผู้รับเหมากลับถูกโดนตำหนิจากผู้ว่าจ้างแทน ทั้งๆที่นายหน้าเก็บส่วนแบ่งไว้กับตัวเองมากเกินไป
  9. วัสดุราคาขึ้น ราคาวัสดุเป็นต้นทุนที่ผู้รับเหมาต้องแบกรับจากความผันของราคาวัสดุก่อสร้างที่ขึ้นๆ ลงๆอยู่ตลอดเวลา ในบางช่วงเวลาบางสถานการณ์ราคาวัสดุก็ปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าที่ผู้รับเหมาได้คาดการณ์เอาไว้ทำให้ผู้รับเหมาต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น รายได้ที่คาดว่าจะได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยกลับลดลงบางรายถึงขั้นขาดทุน ในกรณีนี้ผู้ว่าจ้างอาจจะไม่เข้าใจถึงปัญหาที่ผู้รับเหมาต้องแบกรับต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น ทำให้ผู้รับเหมาเห็นว่างานชิ้นนี้ไม่คุ้มที่จะทำต่อ ทำไปก็ขาดทุนแน่ๆจึงต้องทิ้งงานไป
  10. http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2015/03/Con4.jpg

  11. ผู้ว่าจ้างไม่เข้ามาดูงาน การที่ผู้ว่าจ้างไม่เข้าหน้างาน ไม่เข้าไปตรวจสอบ อาจจะทำให้งานบานปลายไม่ตรงตามสเปคที่ต้องการได้ เช่น ผู้ว่าจ้างอาจจะเขียนแบบมาไม่ชัดเจน ทำให้ผู้รับเหมาเข้าใจผิดแล้วทำไปเรื่อยๆโดยไม่มีใครมาทักท้วง สุดท้ายผู้ว่าจ้างต้องให้แก้ไขใหม่ทำให้เสียเวลาต้องมาทำงานซ้ำสองอีกรอบ ถ้าผู้ว่าจ้างเข้าหน้างานเป็นประจำก็สามารถช่วยทักท้วงข้อผิดพลาดในสิ่งที่ผู้รับเหมาทำได้ กรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่สะดวกอาจจะจ้างวิศวกรคุมงาน หรือที่ปรึกษาที่ไว้วางใจไว้ซักคนดูและงานแทนก็ได้เช่นกัน
  12. ผู้ว่าจ้างไม่ตรวจสัญญาให้ดี สัญญาที่กระทำระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับเหมา ผู้ว่าจ้างไม่อ่านเนื้อหาให้ละเอียดก่อนลงมือเซ็นสัญญา ซึ่งภายในสัญญาอาจจะทำให้ผู้ว่าจ้างเสียเปรียบในกรณีมีปัญหา เมื่อเซ็นสัญญาแล้วทำให้การฟ้องร้องเป็นไปด้วยความยากลำบาก จะไปกล่าวหาว่าผู้รับเหมาไม่มีจริยธรรมไม่ได้เพราะผู้รับเหมาไม่ได้ผิดอะไร ผิดตรงผู้ว่าจ้างไม่อ่านเนื้อหาให้ดีก่อนเซ็นสัญญา

http://terrabkk.com/wp-content/uploads/2015/03/Problem.png

จากผลโหวตของ TerraBKK เรื่อง “เหตุผลสำคัญที่สุดที่ท่านผู้รับเหมาจำใจต้องทิ้งงาน”ผลโหวตออกมาว่า ปัญหาผู้ว่าจ้างจ่ายเงินล่าช้าและปัญหาแก้ไขเปลี่ยนแบบ เปลี่ยนแปลงไม่รู้จบ และปัญหาที่ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป พบเจอมากที่สุด โดยพบปัญหาผู้ว่าจ้างจ่ายเงินล่าช้าถึง 40% ท้ายสุดปัญหาที่พบค่อนข้างน้อย คือ ทำแล้วขาดทุนมีไม่ถึง 20% เท่านั้น ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าในช่วงระหว่างการปฏิบัติงานนั้นทั้งผู้ว่าจ้าง และผู้รับเหมาควรมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้าใจปัญหาระหว่างทางที่เกิดขึ้นในการก่อสร้าง เพื่อหาจุดกึ่งกลางที่จะตกลงร่วมกัน และป้องกันไม่ให้ไปสู่ทางตันของการ "ทิ้งงานของผู้รับเหมา" และ "การหักเงินหรือไม่จ่ายเงินของผู้ว่าจ้าง

บทความทั้ง 10 กลโกงของผู้รับเหมา และ10 ปัญหาของตัวผู้ว่าจ้าง น่าจะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจการทำงานซึ่งกันและกันมากขึ้น TerraBKK หวังว่าจะนำไปสู่การลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานระหว่างกันได้

10 กลโกงของผู้รับเหมา ปัญหาระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ต่อเติม และออกแบบ เป็นปัญหาที่เกิดมายาวนานและเป็นปัญหาหลักของใครหลายๆคน ว่าจะเลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้ผู้รับเหมาที่ดี และจะป้องกันอย่างไรไม่ให้ถูกผู้รับเหมาโกงได้

สัญญาจ้างก่อสร้าง สัญญาจ้างแบบที่กำหนดค่าจ้างตามปริมาณของงานก่อสร้างที่ทำ เรียกว่า สัญญาจ้างแบบราคาต่อหน่วย (Unit Cost Contract) ซึ่งคิดราคากันตามปริมาณของวัสดุที่ใช้ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ค่าดำเนินการ กำไร และภาษี เป็นต้น การว่าจ้างลักษณะนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเพราะผู้ว่าจ้างไม่รู้ว่าเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะต้องชำระราคาทั้งหมดเป็นเงินจำนวนเท่าใด ต้องรอจนกว่างานก่อสร้างทั้งหมดแล้วเสร็จถึงจะรู้

บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก