ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาทางหน่วยงานภาครัฐมีความพยายามผลักดันและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ภายในประเทศจำนวนมากเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการบริหารจัดการน้ำ โครงการแก้ปัญหารถติดในเมือง เป็นต้น TerraBKK Researchจึงพยายามรวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อฉายให้เห็นภาพทั้งโครงการที่แล้วเสร็จและแผนงานของหน่วยรัฐที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อเตรียมก่อสร้างในอนาคตอีกด้วย จะมีโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในอนาคตอย่างไรบ้าง มีดังนี้

โครงการพัฒนาทางด่วน

การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วส่งผลให้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลขยายตัวเร็วเป็นเงาตามตัว ทำให้ภาครัฐต้องมีแผนการพัฒนาด้านคมนาคมต่างๆมากมายเพื่อรองรับปริมาณการจราจรบนท้องถนนคับคั่ง เดินได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีต้นทุนด้านการเดินทางที่ต่ำลง ทางด่วนจึงเป็นการแก้ปัญหาด้านการเดินอีกช่องทางหนึ่งเพื่อช่วยลดปัญหาได้เช่นกัน โดยโครงการพัฒนาทางด่วนที่ค้างอยู่ในแผนของการทางพิเศษ มีอยู่ประมาณ 8 แผน แต่มี 3 แผนที่อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รายละเอียดแต่ละแผนมี ดังนี้

  • โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร

    (คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

    • โครงการทางพิเศษสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 โดยให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนก่อสร้าง บริหาร และบำรุงรักษาโครงการฯ ในรูปแบบ Build-Transfer-Operate (BTO) โดยมี บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL) เป็นผู้ชนะการประมูล โดยได้ว่าจ้างบริษัท ช.การช่าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้างโครงการ
    • จุดเริ่มต้นโครงการ จากถนนกาญจนาภิเษก บริเวณใกล้กับโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ แนวเส้นทางโครงการฯ จะวางตัวจากด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ขนานกับทางรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ – ตลิ่งชัน) และมีจุดสิ้นสุดโครงการปลายทางที่ชุมทางรถไฟบางซื่อ บริเวณใกล้สถานีขนส่งหมอชิต 2 ระยะทางรวมประมาณ 16.7 กม.
  • โครงการทางพิเศษสายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก

    (คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

    • โครงการนี้เข้ามาเพื่อเชื่อมโยงทางพิเศษสายต่างๆ ให้เกิดเป็นโครงข่ายทางพิเศษแนวรัศมีชั้นนอก ทำให้รองรับการเดินทางระหว่างพื้นที่ชั้นนอกกับพื้นที่ชั้นในได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35) ได้อีกทางหนึ่ง
    • จุดเริ่มต้นโครงการที่จุดเชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณดาวคะนอง และไปสิ้นสุดโครงการที่บริเวณถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร
  • โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี
    • ทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรของถนนพหลโยธินช่วงจังหวัดสระบุรีถึงกรุงเทพมหานครและโครงข่ายถนในปัจจุบัน รวมทั้งอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพมหานครกับภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กทพ.
    • จุดเริ่มต้นโครงการ เชื่อมต่อจากทางพิเศษฉลองรัชที่บริเวณจุดตัดถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก (ถนนกาญจนาภิเษก) จุดสิ้นสุดงโครงการ บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ประมาณ กิโลเมตรที่ 10+700 ใกล้กับจุดบรรจบของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3222 กับถนนมิตรภาพ ในเขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
  • (คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

โครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 11 โครงการ

(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

จากโครงข่ายถนนและช่องทางเดินทางรถระหว่าง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีไม่เพียงพอต่อปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้มีความจะเป็นอย่างเร่งด่วนสำหรับการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติม เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตและแก้ปัญหาคอขวดสะพานที่เป็นปัญหาเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งทางรัฐบาลมีแผนก่อสร้างสะพานแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยแผนแม่บทพัฒนาสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาได้ถูกกำหนดเป็นแผ่นแม่บทในระยะเวลา 20 ปี โดยจะเปิดใช้สะพานเพิ่มขึ้น 11 แห่ง ได้แบ่งแผน 3 ระยะ ดังนี้

  1. โครงการในระยะเร่งด่วน 5 ปี (พ.ศ.2555-2559) ใช้เงินลงทุนประมาณ 11,757 ล้านบาท ได้แก่ สะพานนนทบุรี 1(ปัจจุบันเปิดใช้แล้ว) และสะพานเกียกกาย ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ3-3.5 ปี
  2. โครงการในระยะ 10 ปี (พ.ศ.2560-2564) ใช้เงินลงทุนประมาณ 39,850 ล้านบาท ได้แก่ สะพานปทุมธานี 3, สะพานสมุทรปราการ, สะพานพระราม 2, สะพานจันทร์-เจริญนคร, สะพานลาดหญ้า-มหาพฤฒาราม, สะพานราชวงศ์-ท่าดินแดง, สะพานท่าน้ำนนท์, และสะพานสามโคก
  3. โครงการในระยะ 20 ปี (พ.ศ.2565-2574) ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,580 ล้านบาท ได้แก่ สะพานสนามบินน้ำ นอกจากนี้ยังมีสะพานที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางพิเศษอีก 3 แห่ง คือโครงข่ายทางพิเศษศรีรัช-ดาวคะนอง โครงข่ายทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก และสะพานถนนวงแหวนรอบที่ 3 ด้านใต้ ซึ่งใช้โครงสร้างร่วมกับสะพานสมุทรปราการ

รายละเอียดสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามีรายละเอียด ดังนี้

(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

โครงข่ายรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพและปริมณฑล

(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

ปัจจุบันโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครเริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นมีทั้งเปิดให้บริการแล้ว, อยู่ระหว่างการก่อสร้าง, เตรียมประกวดราคา และเตรียมออกแบบ บางสายเริ่มตอกเสาเข็ม เริ่มวางระบบราง และเตรียมเปิดในเร็วในเร็วๆนี้ สำหรับโครงการที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน ได้แก่

  • หมอชิต-แบริ่ง
  • สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า
  • บางซื่อ-หัวลำโพง
  • พญาไท-สุวรรณภูมิ
  • ตลิ่งชัน-บางซ่อน

โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้แก่

  • บางซื่อ-บางใหญ่ ใกล้แล้วเสร็จเตรียมเปิดให้ใช้เดือน สิงหาคมปี 2559
  • บางซื่อ-รังสิต อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
  • บางซื้อ-ท่าพระ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
  • แบริ่ง-สมุทรปราการ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
  • หัวลำโพง-บางแค อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
  • หมอชิต-คูคต ประมูลแล้วเสร็จ เตรียมลงงานก่อสร้างช่วงเดือน กุมภาพันธ์ และเตรียมจัดกรรมสิทธิ์และเวนคืนที่ดิน เริ่มตั้งแต่จุดเชื่อม กับบีทีเอสหมอชิต ไปตามแนวถนนพหลโยธิน ข้ามดอนเมืองโทลล์เวย์ ผ่านห้าแยกลาดพร้าว รัชโยธิน เกษตร อนุสาวรีย์วงเวียนหลักสี่ หน้าตลาดยิ่งเจริญ เมื่อถึง กม.ที่ 25 เบี่ยงเข้า ถนนลำลูกกา สิ้นสุดที่ สน.คูคต

โครงการรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่กำลังก่อสร้าง ยังคงติดอยู่ในขั้นตอน จัดกรรมสิทธิ์และเวนคืนที่ดินทำให้รถไฟฟ้าบางสายอาจจะดำเนินการล่าช้าไปบ้าง

TerraBKK มีความเห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทั้งในกรุงเทพและปริมณฑลมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ตรงนี้คงเป็นผลดีกับหลายๆคนที่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบการคมนาคมช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง การเสียเวลาไปบนท้องถนนอย่างเปล่าประโยชน์ และประหยัดต้นทุนทางด้านการเงินทั้ง ค่าน้ำมัน ค่าเสื่อมสภาพของรถยนต์ เป็นต้น สุดท้ายแล้วจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตให้อยู่ดี กินดี มีความสุข แต่การได้มาซึ่งความสะดวกก็อาจจะต้องแลกมาด้วยการเสียผลประโยชน์จากคนบางกลุ่มที่อาจจะต้องถูกเวรคืนเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการพัฒนาต่อไปด้วย

TerraBKK มองว่า “ในยุคข้อมูลข่าวสารซึ่งมีข้อมูลต่างๆมากมายให้เลือกอ่าน ใครที่สามารถหาข้อมูลที่มีคุณภาพและทันต่อเหตุการณ์ไว้ในมือได้มักจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบเสมอ”

Mega Project : ย่านรังสิต กับ 3 บิ๊กแบรนด์ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ การลงทุนตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่ามีการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมรถไฟฟ้า ระบบขนส่ง โดยการเข้ามาลงทุนโครงการขนาดใหญ่ (Mega Project) โดยเฉพาะกลุ้มค้าปลีกและศูนย์การค้า มีแผนมุ่งขยายไปยังหัวเมืองต่างในแต่ละภาคของกรุงเทพมหานคร โดยการขยาย

Mega Project : “บางใหญ่” ประตูการค้าสู่ตะวันตก “ทำเลแห่งอนาคต” เม็ดเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและการลงทุนขนาดใหญ่ของภาคเอกชนจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตของเมืองที่สำคัญ ท้ายที่สุดก็จะส่งผลต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะทวีมูลค่าสูงขึ้นตามมาในที่สุด สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล “เส้นทางรถไฟฟ้า” และ “การลงทุนขนาดใหญ่ของเอกชน” ก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน

บทความโดย : TerraBKK คลังความรู้

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก